You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การควบคุมโรค (Disease Control)

การจัดการฝูงไก่สาวหรือไก่แม่พันธุ์ และการแสดงออกทางพันธุกรรมที่สมบูรณ์จะสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อไก่มีอิทธิพลจากโรคเข้ามารบกวนน้อยที่สุด การเกิดของโรคในไก่ไข่มีหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งเราสามารถป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เพื่อลดอัตราการสูญเสีย การเกิดโรคส่งผลต่อต้นทุนในการผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวางหลายพื้นที่ แต่ได้มีการศึกษา มีการแยกแยะ มีการควบคุม การเกิดโรคเหล่านี้

การป้องการทางชีวภาพ (Bio security) การป้องกันทางชีววิทยาเป็นการป้องกัน และหลีกเลี่ยงโรคได้ดีที่สุด การจัดการโปรแกรมการป้องกัน ด้านชีววิทยา มีการแยกแยะ และควบคุมโรค สามารถควบคุมโรคไม่ให้เข้าฟาร์มได้ได้ดี คนที่เข้าออกภายในฟาร์ม ควรมีการป้องกันและควบคุมอย่างเข้มงวด ผู้มาเยี่ยมชมฟาร์มควรมีการจำกัดผู้มาเยี่ยมชมที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการติดต่อของทางฟาร์ม ผู้มาเยือนและคนงานของฟาร์มต้องมีการเข้าออกตรงส่วนกลางของพื้นที่ ที่มีการป้องกันมีการทำความสะอาดร่างกาย ผู้มาเยือนควรใส่รองเท้าหุ้มส้นที่ทางฟาร์มจัดเตรียมไว้ให้โดยเฉพาะ เมื่อมีการเข้าฟาร์มสัตว์มา ควรมีการงดเข้าฟาร์มอย่างน้อย 48 ชั่วโมง ก่อนเดินทางเข้าฟาร์มอื่นต่อไป มีการทำความสะอาดรองเท้าบู๊ต เสื้อผ้า และในส่วนของศีรษะควรมีที่ครอบผมป้องกัน โดยมีการจัดหาไว้ให้เพียงพอสำหรับแขกผู้มาเยือนและแรงงานที่มีภายในฟาร์ม และควรมีที่จุ่มเท้าก่อนเข้าภายในโรงเรือนไก่ไข่ทุกโรงเรือน และถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการใช้แรงงาน และอุปกรณ์จากภายนอกฟาร์มมาปฏิบัติหน้าที่ โปรแกรมการให้วัคซีน เคลื่อนย้าย และตัดปาก และที่ควรเป็น คือ ควรมีแรงงานสำหรับปฏิบัติงานในโรงเรือนนั้น ๆ โดยเฉพาะ และควรเข้าฟาร์มในทิศทางเดียวของฝูงสัตว์ จากไก่รุ่นไปหาแม่ไก่แก่จากฟาร์มปกติ ไปฟาร์มป่วย และไม่ควรไปเข้าฟาร์ม หรือ สัตว์ฝูงอื่น ๆ อีก

การนำไก่ปดระวางออกนอกฟาร์ม เป็นช่วงที่มีโอกาสเกิดโรคขึ้นได้ ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจาก รถบรรทุกที่ใช้ขนส่งแม่ไก่ปดระวาง ซึ่งรถบรรทุกจะมีการเข้าออกฟาร์มอื่นอยู่บ่อย ๆ ควรมีการวางแผนพัฒนาระบบการป้องกัน ภัยอันตรายระหว่างการเข้าออกของคนงาน และอุปกรณ์ในการทำวัคซีน การย้ายฝูงไก่ และการตัดปาก

การเลี้ยงไก่แบบระบบเข้าหมดออกหมด เป็นการปฏิบัติและการจัดการที่มีประสิทธิภาพ วิธีนี้จะสามารถขัดขวางการแพร่กระจายของเชื้อโรค จากไก่ฝูงหนึ่งไปสู่อีกฝูงหนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความอ่อนไหว โรงเรือนทั้งหมดควรออกแบบเพื่อขัดขวางเชื่อโรคที่อาจมาจากฝูงนก หรือลมที่พัดเข้ามา และควรจัดการฝังอย่างรวดเร็วเมื่อมีไก่ตาย

สัตว์จำพวกหนู เป็นพาหะของโรคเกี่ยวกับสัตว์ปีก และเป็นพาหะที่สำคัญในการนำพาเชื้อโรค เข้าสู่โรงเรือน และปนเปื้อน ซึ่งพวกมันจะวิ่งเข้าออกแต่ละโรงเรือนภายในฟาร์ม พื้นที่ในฟาร์มควรปราศจากซากปรักหักพัง และหญ้าขึ้นรกบริเวณฟาร์ม เนื่องจากอาจจะเป็นที่อยู่อาศัยของหนูได้ ขอบของโรงเรือนควรกว้างออกไปอย่างน้อย 1 เมตร และควรเป็นพื้นคอนกรีต เพื่อป้องกันหนูมาทำรังเป็นที่อยู่อาศัย อาหาร และถาดไข่ควรเก็บให้เป็นที่ และมีการตรวจหาพื้นที่พักพิงของหนู เพื่อวางกับดักทำลายได้ง่าย เพื่อตัดวงจรชีวิต อยู่เรื่อย ๆ

การทำความสะอาดโรงเรือน และฆ่าเชื้อเพื่อเตรียมโรงเรือนให้พร้อม ก่อนลูกไก่ชุดใหม่จะเข้า โรงเรือนควรมีการทำความสะอาดด้วยเครื่องแรงดันสูง และน้ำที่อุ่น บางเวลาอาจจะอนุโลมให้ได้ หลังจากโรงเรือนแห้งควรรมควันก่อนที่จะนำฝูงไก่เข้าโรงเรือน และควรล้างโรงเรือนในด้านที่สูงกว่า และล้างมาในด้านที่ต่ำกว่า และควรทำความสะอาดอย่างละเอียดไม่ว่าจะเป็นช่องอากาศ พัดลม ใบพัด บานเกล็ด และระบบการให้น้ำต้องปราศจากเชื้อโรค อาหารและมูลควรเอาออกจากโรงเรือน ก่อนทำความสะอาด และทำการพักโรงเรือนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนนำไก่ฝูงใหม่เข้าโรงเรือน และควรมีการเอาใจใส่ตรวจสอบเชื้อ ซัลโมเนลล่า (Salmonella) อยู่เรื่อย ๆ โดยมีการตรวจสอบเป็นประจำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sponser

News in Thailand

.