You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การพัฒนาอุสาหกรรมไก่ไข่พัฒนาเร็วมาก

เมื่อไม่นานมานี้ผมได้มีโอกาศรับฟังการจักการฟาร์มไก่ไข่แบบมาตรฐาน จาก Dr. Pornsak Hirunpatawong จากบริษัท Hendrix genetics company ซึ่งผลิตสายพันธุ์ไก่ไข่ส่งฟาร์มไก่ไข่ เกือบทั้วโลกครับผม ผมได้ฟังบรรยายการจัดการในฟาร์ม แล้วเป็นประโยชน์มากๆครับ อยากให้พี่ๆ เพื่อน ๆที่อยู่ในวงการไก่ไข่ได้มาฟังมากๆ ครับ ซึ่งข้อมูลการจัดการที่ดอกเตอร์ พรศักดิ์ นำเสนอออกมา มันเป็นเทคนิกเรล็กๆ น้อย ๆ ที่เรา สัตวบาลประจำฟาร์ม มองข้ามไปครับ ไม่ว่าจะเป็นช่วงการให้อาหาร การให้ความสำคัญกับน้ำหนักไก่ ในช่วง 34 วัน ควรให้ได้น้ำหนักชั้นต่ำ 360 กรัม ซึ่งจะมีผลสัมพันธ์กันกับปริมารการให้ไข่ หรือ HD production สูงมาก สัมพันธุกับขนาดฟองไข่ ที่สมำเสมอ อัตราการตายที่ลดลง และเพิ่ม เปอร์เซ็นต์ HH production ซึ่งถ้าโครงสร้างของแม่ไก่ที่ระยะ 34 วันไม่ได้น้ำหนัก 360 กรัมต่อตัว จะมีผลต่อผลผลิตที่ได้สูงมาก ซึ่งแต่ก่อนเราให้ความสำคัญกับแม่ไก้ที่ช่วงอายุ 10 สัปดาห์ ซึ่งเรามาพบว่า ที่ระยะ 10 สัปดาห์มันช้าไปแล้วที่เราจะแก้ไข และพัฒนาการเพิ่มผลผลิตไข่ให้แม่ไก่ไข่ได้เต็มประสิทธิภาพตามพันธุกรรมที่ควรเป็น ซึ่งทาง ISA brown สามารถผลิตแม่ไก่ที่สมารถให้ไข่ได้ถึง 315.5 ฟองต่อปีครับผม นอกจากนี้การให้แสงก็สำคัญมากๆๆครับ ช่วงแสงที่ให้มีผลกระทบกับการให้ไข่มากๆครับ ซึ่งมันจะไปสัมพันธ์กับฤดูการที่แม่ไก่ผลัดขนตามธรรมชาติ ทำให้แม่ไก่หยุดไข่ ซึ่งการให้ช่วงแสงต้องเข้มงวดอย่างมาก ครับ ถ้า 100% ได้จะมีผลต่อผลิตสูงมากๆๆครับ พี่ๆ เพื่อน ท่านใดมีความเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันได้ครับผม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sponser

News in Thailand

.