You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552

โรคบิด (Coccidia)

เป็นปรสิตที่พบในทางเดินอาหาร สามารถทำให้เกิดความเสียหายให้กับทางเดินอาหาร และรบกวนทางเดินอาหาร ทำให้สัตว์ตายได้ในที่สุด และที่มากกว่านั้นคือ ประสิทธิภาพการใช้อาหารลดลง และเป็นเรื่องยากที่จะควบคุม ทำให้ไก่มีขนาดแตกต่างกันมาก ทำให้ไก่มีน้ำหนักที่ไม่สม่ำเสมอในฝูง และมีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่สามารถให้ผลผลิตไข่ได้ เต็มประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีการเสริมยากันบิดลงในสูตรอาหารเพื่อป้องกันโรคบิด ซึ่งการเสริมในสูตรอาหารจึงทำให้แน่ใจว่าจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันในตัวไก่ได้ นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันโรคบิดได้อีกทาง โดยการให้วัคซีนเชื้อเป็น ซึ่งวัคซีนเชื้อเป็นเราสามารถจัดการได้โดยการพ่นในโรงพักอาหาร หรือน้ำดื่ม ก่อนกกไข่หรือไก่เข้าโรงเรือน และมีการจัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมจะช่วยลดการแพร่เชื้อได้

พยาธิภายนอก (External Parasite)

เห็บแดง ไรแดง หรือเห็บทางเหนือ เห็บเป็นสาเหตุของการเพิ่มปัญหาในกรงไก่ โดยเฉพาะมีปัญหามากในฤดูร้อน เมื่อมีอุณหภูมิร้อนขึ้นจะทำให้เห็บมีการขยายพันธุ์เร็วมาก มันจะทำให้เกิดการระคายเคือง รบกวนไก่ ทำให้ไก่มีสมรรถนะการผลิตไม่เต็มประสิทธิภาพ ต่ำกว่ามาตรฐาน มีปริมาณอาหารที่กินได้ลดต่ำลง ซึ่งเห็บสามารถทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ในสัตว์ปีกดังต่อไปนี้

- เห็บจะเกาะตามตัวแม่ไก่ทำให้แม่ไก่รำคาญ และกระวนกระวาย

- เห็บไปมีผลต่ออัตราการเกิด และทำให้เยื่อบุผนังลำไส้อักเสบ ซึ่งอาจจะทำให้มีการจิกกันบริเวณก้นกันมากขึ้น

- ปริมาณอาหารที่กินลดลง

- เห็บจำนวนมากจะไปรบกวน และลดผลผลิตไข่ลงได้ถึง 5 เปอร์เซ็นต์

- เห็บจำนวนมากจะไปมีผลทำให้เกิดโรคในระบบเลือด มีการเสียเลือด มองเห็นหงอนสีซีดชัดเจน และถ้ามีผลกระทบมาก ๆ อาจจะมีอัตราการตายเพิ่มสูงขึ้น

- ทำให้ไข่มีสีซีด และถ้ามีการรบกวนมาก ๆ ของเห็บ อาจจะพบได้ในมูล ไข่ และสายพานลำเลียงไข่ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดตำหนิขึ้นบริเวณเปลือกไข่ ได้ ทำให้เกรดไข่เสียคุณภาพไป

- การเพิ่มจำนวนของเห็บในปริมาณมาก ๆ อาจจะไปเกาะบริเวณรังไข่ ซึ่งจะไปรบกวนไก่ได้

- ที่มีเห็บรบกวนมาก ๆ พนักงานที่เก็บผลผลิตไข่อาจจะเกิดความรำคาญขึ้นได้

พยาธิภายใน (Internal Parasite)

การเกิดโรคพยาธิภายในจะทำให้เกิดความเสียหายกับทางเดินอาหารของสัตว์ปีก ซึ่งอาจจะมีผลทำให้เกิด ปัญหาตามมาดังนี้
- ไข่สูญเสียความแข็งแรงของเปลือก สีของไข่แดง และขนาดของไข่
- มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นต่ำกว่ามาตรฐาน, มีน้ำหนักของฝูงไก่ไม่สม่ำเสมอ และทำให้ไก่แคระแกรน ทำให้ไก่มีอาการซึม และหงอนมีสีซีด
- ทำให้ไก่แสดงอาการก้าวร้าว มีการจีกกันเอง เนื่องจากมีอาการเครียด
- ตาย เมื่อมีน้ำหนักมาก ๆ ทั้งนี้ทางบริษัทไฮ-ไลน์ได้ทำการศึกษาพบว่า มีพยาธิ 3 ชนิด ที่พบและเป็นปัญหาในไก่ไข่
1. พยาธิตัวกลม (Ascaridia gali) พยาธิตัวกลมเป้นพยาธิขนาดใหญ่และพบมากโดยทั่วไป มีลักษณะสีขาว ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร และสามารถมองเห็นด้วยตาป่าว และสามารถตรวจได้ง่าย
2. พยาธิเส้นด้าย (Capillaria) เป็นพยาธิที่มีขนาดเล็ก (มีขนาดประมาณเท่าเส้นผม) สามารถมองเห็นด้วยตาป่าวเล็กน้อย และสามารถทำให้เกิดความเสียหายอย่างเห็นได้ชัดในระดับปานกลาง
3. พยาธิตัวตืด (Cecal worm, Herteralris gallinarum) เป็นพยาธิที่พบบริเวณลำไส้ใหญ่ ไม่ทำให้เกิดความเสียหายมากนัก แต่พวกมันเป็นตัวสนับสนุน ให้พยาธิชนิดอื่น ๆส่งผลกระทบมากขึ้น รุนแรงมากขึ้น และส่งผลให้สมองของไก่ทำการผิดปกติไป ดังนั้นการควบคุม 1 ปรสิต สามารถทำให้เราควบคุมพยาธิชนิดอื่น ๆ ได้ด้วย ไก่สามารถติดพยาธิได้จากการจิกทั่วไป สามารถติดได้จากดิน มูล และไข่ พยาธิที่ติดจากฟองไข่ เนื่องจากมีความชื้นเหมาะสมจึงทำให้มีการพัฒนาภายนอกตัวไก่ได้ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาขึ้น ได้ในฤดูใบไม้พลิ และฤดูร้อน โดยเฉพาะในฤดูใบไม้ผลิ พยาธิเป็นปัญหาที่สามารถแยกตัวอย่างได้จากอุจจาระ และควรมีการจัดการแยกไก่ ไข่ ออกจากมูลไม่ให้สัมผัสกัน

การตรวจสอบโรคอย่างเที่ยงตรง (Vertically transpitted Disease)

โรคบางโรคสามารถรู้การส่งสัญญาณจากการติดเชื้อจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลานได้ และการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ถ่ายทอดผลผลิต และการดำรงชีพควบคุมไม่ให้ถ่ายทอดไปสู่ลูก ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกในการควบคุมโรคในทางการค้า เจ้าหน้าที่ปรับปรุงพันธุ์ของทาง ไฮ-ไลน์ ควบคุมไม่ให้มีเชื้อ ไมโครพลาสม่า Salmonella และ lymphoid leucosis
โปรแกรมวัคซีน (Vaccination) การกำจัดเชื้อโรคให้หมดไปจากฝูงสัตว์คงเป็นเรื่องยาก จึงจำเป็นต้องมีการทำวัคซีนให้กับสัตว์ โดยทั่วไปแล้วไก่ไข่ควรมีการให้วัคซีน Newcastle หลอดลมอักเสบ (Infectious Bursal Disease : IBD) และไข้สมองและสันหลังอักเสบ (Avian Encephalomyelitis : AE) การให้วัคซีนต้องตรงตามตารางเวลา ในปริมาณโด๊สที่เหมาะสม และตรงตามชนิดของวัคซีนนั้น ๆ เนื่องจากโรคมีสาเหตุมาจากหลากหลายชนิด ทั้งแบคทีเรีย ไวรัส รา เพราะฉะนั้น ควรมีการป้องกันด้วยวัคซีน สำหรับไก่พ่อแม่พันธุ์ ควรได้รับวัคซีน IBD จากการวิจัยของไฮ-ไลน์ ได้แสดงเวลาที่เหมาะสมในการให้วัคซีนในไก่ไข่ ไว้ดังตารางต่อไปนี้

การควบคุมโรค (Disease Control)

การจัดการฝูงไก่สาวหรือไก่แม่พันธุ์ และการแสดงออกทางพันธุกรรมที่สมบูรณ์จะสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อไก่มีอิทธิพลจากโรคเข้ามารบกวนน้อยที่สุด การเกิดของโรคในไก่ไข่มีหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งเราสามารถป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เพื่อลดอัตราการสูญเสีย การเกิดโรคส่งผลต่อต้นทุนในการผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวางหลายพื้นที่ แต่ได้มีการศึกษา มีการแยกแยะ มีการควบคุม การเกิดโรคเหล่านี้

การป้องการทางชีวภาพ (Bio security) การป้องกันทางชีววิทยาเป็นการป้องกัน และหลีกเลี่ยงโรคได้ดีที่สุด การจัดการโปรแกรมการป้องกัน ด้านชีววิทยา มีการแยกแยะ และควบคุมโรค สามารถควบคุมโรคไม่ให้เข้าฟาร์มได้ได้ดี คนที่เข้าออกภายในฟาร์ม ควรมีการป้องกันและควบคุมอย่างเข้มงวด ผู้มาเยี่ยมชมฟาร์มควรมีการจำกัดผู้มาเยี่ยมชมที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการติดต่อของทางฟาร์ม ผู้มาเยือนและคนงานของฟาร์มต้องมีการเข้าออกตรงส่วนกลางของพื้นที่ ที่มีการป้องกันมีการทำความสะอาดร่างกาย ผู้มาเยือนควรใส่รองเท้าหุ้มส้นที่ทางฟาร์มจัดเตรียมไว้ให้โดยเฉพาะ เมื่อมีการเข้าฟาร์มสัตว์มา ควรมีการงดเข้าฟาร์มอย่างน้อย 48 ชั่วโมง ก่อนเดินทางเข้าฟาร์มอื่นต่อไป มีการทำความสะอาดรองเท้าบู๊ต เสื้อผ้า และในส่วนของศีรษะควรมีที่ครอบผมป้องกัน โดยมีการจัดหาไว้ให้เพียงพอสำหรับแขกผู้มาเยือนและแรงงานที่มีภายในฟาร์ม และควรมีที่จุ่มเท้าก่อนเข้าภายในโรงเรือนไก่ไข่ทุกโรงเรือน และถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการใช้แรงงาน และอุปกรณ์จากภายนอกฟาร์มมาปฏิบัติหน้าที่ โปรแกรมการให้วัคซีน เคลื่อนย้าย และตัดปาก และที่ควรเป็น คือ ควรมีแรงงานสำหรับปฏิบัติงานในโรงเรือนนั้น ๆ โดยเฉพาะ และควรเข้าฟาร์มในทิศทางเดียวของฝูงสัตว์ จากไก่รุ่นไปหาแม่ไก่แก่จากฟาร์มปกติ ไปฟาร์มป่วย และไม่ควรไปเข้าฟาร์ม หรือ สัตว์ฝูงอื่น ๆ อีก

การนำไก่ปดระวางออกนอกฟาร์ม เป็นช่วงที่มีโอกาสเกิดโรคขึ้นได้ ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจาก รถบรรทุกที่ใช้ขนส่งแม่ไก่ปดระวาง ซึ่งรถบรรทุกจะมีการเข้าออกฟาร์มอื่นอยู่บ่อย ๆ ควรมีการวางแผนพัฒนาระบบการป้องกัน ภัยอันตรายระหว่างการเข้าออกของคนงาน และอุปกรณ์ในการทำวัคซีน การย้ายฝูงไก่ และการตัดปาก

การเลี้ยงไก่แบบระบบเข้าหมดออกหมด เป็นการปฏิบัติและการจัดการที่มีประสิทธิภาพ วิธีนี้จะสามารถขัดขวางการแพร่กระจายของเชื้อโรค จากไก่ฝูงหนึ่งไปสู่อีกฝูงหนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความอ่อนไหว โรงเรือนทั้งหมดควรออกแบบเพื่อขัดขวางเชื่อโรคที่อาจมาจากฝูงนก หรือลมที่พัดเข้ามา และควรจัดการฝังอย่างรวดเร็วเมื่อมีไก่ตาย

สัตว์จำพวกหนู เป็นพาหะของโรคเกี่ยวกับสัตว์ปีก และเป็นพาหะที่สำคัญในการนำพาเชื้อโรค เข้าสู่โรงเรือน และปนเปื้อน ซึ่งพวกมันจะวิ่งเข้าออกแต่ละโรงเรือนภายในฟาร์ม พื้นที่ในฟาร์มควรปราศจากซากปรักหักพัง และหญ้าขึ้นรกบริเวณฟาร์ม เนื่องจากอาจจะเป็นที่อยู่อาศัยของหนูได้ ขอบของโรงเรือนควรกว้างออกไปอย่างน้อย 1 เมตร และควรเป็นพื้นคอนกรีต เพื่อป้องกันหนูมาทำรังเป็นที่อยู่อาศัย อาหาร และถาดไข่ควรเก็บให้เป็นที่ และมีการตรวจหาพื้นที่พักพิงของหนู เพื่อวางกับดักทำลายได้ง่าย เพื่อตัดวงจรชีวิต อยู่เรื่อย ๆ

การทำความสะอาดโรงเรือน และฆ่าเชื้อเพื่อเตรียมโรงเรือนให้พร้อม ก่อนลูกไก่ชุดใหม่จะเข้า โรงเรือนควรมีการทำความสะอาดด้วยเครื่องแรงดันสูง และน้ำที่อุ่น บางเวลาอาจจะอนุโลมให้ได้ หลังจากโรงเรือนแห้งควรรมควันก่อนที่จะนำฝูงไก่เข้าโรงเรือน และควรล้างโรงเรือนในด้านที่สูงกว่า และล้างมาในด้านที่ต่ำกว่า และควรทำความสะอาดอย่างละเอียดไม่ว่าจะเป็นช่องอากาศ พัดลม ใบพัด บานเกล็ด และระบบการให้น้ำต้องปราศจากเชื้อโรค อาหารและมูลควรเอาออกจากโรงเรือน ก่อนทำความสะอาด และทำการพักโรงเรือนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนนำไก่ฝูงใหม่เข้าโรงเรือน และควรมีการเอาใจใส่ตรวจสอบเชื้อ ซัลโมเนลล่า (Salmonella) อยู่เรื่อย ๆ โดยมีการตรวจสอบเป็นประจำ

วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552

Light and feed program

โปรแกรมการให้แสงที่กระตุ้นการกินอาหารและการเจริญเติบโต
ในช่วงการเลี้ยง 2-3 วันแรก ควรจัดโปรแกรมการให้แสงให้อยู่ในระดับสูงสุด คือ 22-23 ชั่วโมง ที่ระดับความเข้มแสง 30-40 ลักซ์ เพื่อกระตุ้นการการกินน้ำและอาหารของไก่ หลังจากนั้นจึงค่อยๆลดระดับความเข้มแสง และระยะเวลาในการให้แสงลงเรื่อยๆ จนอยู่ที่ 10 ลักซ์ เมื่อไก่อายุ 15 วัน การปรับเปลี่ยนอื่นๆให้คำนึงถึงพฤติกรรมของตัวไก่
โปรแกรมการให้อาหารเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต
ไก่ในช่วงอายุ 1 วัน ถึง 5 อาทิตย์แรกจะไม่สามารถเปลี่ยนอาหารที่กินไปเป็นพลังงานในระดับที่ร่างกายต้องการได้ จึงควรให้อาหารในรูปเม็ดแตกขนาดเล็ก ที่มีความเข้มข้นของระดับโปรตีนและพลังงานที่เพียงพอ เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของไก่ (จนกระทั่งไก่จะมีน้ำหนักถึง 290 กรัม)
ข้อสังเกตในการจัดการไก่อายุ 1 วัน
- ล้างทำความสะอาดท่อให้น้ำ โดยไม่ให้เหลือผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อตกค้างในท่อน้ำ ในวันที่ลูกไก่มาถึง
- ปรับระดับความสูงของนิปเปิลให้เหมาะสมและอยู่ในระดับสายตาของลูกไก่ วางที่ให้น้ำบนพื้นโรงเรือน
- ปูกระดาษรองใต้หัวนิปเปิลและโรยอาหารเล็กน้อยบนกระดาษเพื่อดึงดูดความสนใจของลูกไก่
- ตรวจสอบความเรียบร้อยของนิปเปิลและที่ให้น้ำ เมื่อจะใช้งานให้ลูกไก่เห็นหยดน้ำออกจากหัวนิปเปิลด้วย
- ให้อาหารหลังจากที่ลูกไก่ได้รับน้ำเพียงพอแล้ว หรือประมาณ 4 ชั่วโมงหลังจากการกก

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552

Beak Trimming

การตัดปากลูกไก่
การตัดปากไม่ใช่สิ่งจำเป็นในการจัดการเท่าใดนัก แต่อย่างไรก็ตามถ้าลูกไก่ได้รับการตัดปาก จะต้องมีการปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด และสมบูรณ์ ลูกไก่ต้องมีการตักปากที่สมบูรณ์ทั้งหมดในกลุ่ม โดยใช้แสงอินฟาเรตในการตัด ซึ่งต้องทำการตัด เมื่อลูกไก่มีอายุประมาณ 7-10 วัน สำหรับเพลตที่ใช้ในการตัดปากมี 3 ขนาด คือ 4.00, 4.37 และ 4.75 มิลลิเมตร
การเลือกขนาดของรูให้เหมาะสม ควรมีความกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร ระหว่างรูจมูก และวงแหวนของเหล็กจี้ ขนาดของการตัดปากที่สมบูรณ์จะต้องขึ้นอยู่กับขนาด และอายุของลูกไก่ด้วย และจงอยปากของไก่ต้องเป็นปกติเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 12-14
ข้อควรปฏิบัติในขั้นตอนของการตัดปากไก่
1. ไม่ทำการตัดปากไก่ขณะที่ไก่กำลังป่วย
2. พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ไม่ควรกระทำด้วยความรีบร้อน
3. ควรให้ลูกไก่ได้รับอีเล็กโทไลต์ (ควรมีส่วนผสมของวิตามิน เค) ก่อนทำการตัดปาก อย่างน้อย 2 วัน และหลังจากตัดปาก 2 วัน
4. มีการเอาใจใส่ดูแล ควบคุมการให้อาหารหลังจากตัดปาก ถ้าจะมีการใส่ยากันบิด ในอาหารสัตว์ ควรทำการเสริมในน้ำก่อนระยะแรก และควรเปลี่ยนมาทำการเสริมในอาหารแทนเมื่อไก่หายเป็นปกติแล้ว
5. ควรมีการอบรมให้ความรู้พนักงานให้เข้าใจก่อนปฏิบัติหน้าที่

Parents Breed Management

การจัดการไก่พ่อแม่พันธุ์
การจัดการกลุ่มไก่พ่อแม่พันธุ์ เป็นงานอีกด้านหนึ่งของการเพิ่มสมรรถนะการผลิตในไก่ไข่ เมื่อไก่มีอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 20 สัปดาห์ ต้องมีการกระตุ้นให้ไก่ดื่มน้ำ วิตามิน แร่ธาตุ ตั้งแต่ 2-3 วัน ก่อนการย้ายไก่เข้าโรงเรือน ความชื้นสัมพัทธ์ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญ ต้องมีการเอาใจใส่ และสามารถควบคุมได้ ซึ่งจะส่งผลต่อสมรรถนะการผลิตของแม่ไก่ด้วย ซึ่งค่าความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 40-60 % ในช่วงแรกของการนำไก่เข้าโรงเรือน และเมื่อถึงระยะสุดท้ายของการเลี้ยงความชื้นสัมพัทธ์ควรอยู่ระหว่าง 30-40 %
พนักงานประจำฟาร์มควรมีการควบคุม และลดอุณหภูมิลงประมาณ 2-3 องศาเซลเซียสต่อสัปดาห์ จนมีระดับที่ 21 องศาเซลเซียส สำหรับไก่พ่อแม่พันธุ์ที่จะต้องนำมารวมกันในโรงเรือนเดียวกัน จะต้องนำมาไว้ในโรงเรือนเดียวกันก่อนจะถึงระยะเวลาในการผสมพันธุ์ ประมาณ 4 สัปดาห์ เพื่อให้แน่ใจว่าไก่พ่อพันธุ์มีพฤติกรรมที่พร้อมจะผสมพันธุ์กับไก่แม่พันธุ์ได้

Sponser

News in Thailand

.