You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

The Using Broken Job’s tears in Animals Rations

สุนทร เกไกรสร และ ชัยพฤกษ์ หงษ์ลัดดาพร

สาขาวิชาสัตวศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 42000 Email: suntornka@hotmail.com
ในสถานการณ์ปัจจุบันวัตถุดิบอาหารสัตว์มีราคาที่ผันผวนและปรับสูงขึ้นมากจนส่งผลกระทบต่อต้นทุนในการเลี้ยงสัตว์ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ หรือแม้แต่เป็ดไข่ และเป็ดเนื้อ ทั้งนี้ในการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาชีพ หรือรายได้เสริมนั้น ค่าใช้จ่ายในการซื้อวัตถุดิบอาหารสัตว์ หรืออาหารค่าอาหารสัตว์สามารถคำนวณต้นทุนออกมามากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนในการเลี้ยงทั้งหมด เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายสำหรับสายพันธุ์สัตว์ และการจัดการฟาร์ม ซึ่งการลดต้นทุนค่าวัตถุดิบอาหารสัตว์บางตัวลงได้ จะทำให้อาชีพการเลี้ยงสัตว์สามารถลดความเสี่ยงในด้านการขาดทุนลงได้ สร้างรายได้และช่วยให้เกษตรกรสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ได้ยั่งยืนต่อไปได้ วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ใช้ในการประกอบสูตรอาหาร ปัจจุบันที่ใช้กันทั่วไปมีอาทิ ปลาป่น ไก่ป่น หมูป่น กากถั่วเหลือง ปลายข้าว รำ และข้าวโพด เป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในสูตรอาหารมีราคาสูงขึ้นมาก ทำให้ต้นทุนค่าอาหารสัตว์สูงขึ้นตามไปด้วย หากเกษตรกรมีวัตถุดิบชนิดอื่น ๆ ที่มีราคาถูกและสามารถทดแทนวัตถุดิบดังกล่าวมานั้น โดยนำวัตถุดิบที่เป็นผลพลอยได้ทางการเกษตร และอุตสาหกรรมในท้องถิ่น มาทดแทนวัตถุดิบที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปดังกล่าว จะช่วยให้ต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ในส่วนที่เป็นค่าอาหารสัตว์ลดต่ำลง และมีสมรรถภาพทางการผลิตใกล้เคียงหรือดีขึ้นกว่าเดิม แต่อย่างไรก็ตามการเลือกใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ทดแทนในท้องถิ่นนั้น ๆ เกษตรกรจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบนั้น ๆ (กรมปศุสัตว์, 2545)

เดือย (Job’s tears) เป็นธัญพืชตระกูล Gramineae เช่นเดียวกับข้าวโพด และข้าวฟ่าง เดือยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coix lacryma-jobi L. ประเทศไทยเรียกว่า Pearl Barley เดือยในประเทศไทยมี 3 ประเภท คือ เดือยหิน ใช้ประโยชน์ในการทำเครื่องประดับ เดือยขบ ใช้ประโยชน์เป็นอาหารขบเคี้ยว และเดือยการค้า มีเมล็ดกลมฐานแหลม (สมเกียรติ, 2547) เนื่องจากเดือยมีคุณค่าทางโภชนาการสูง จึงนำมาใช้ประโยชน์เป็นอาหารมนุษย์ อาหารสัตว์ และนอกจากใช้บริโภคโดยตรงแล้ว เดือยยังมีสรรพคุณทางยา และมีการนำมาทำเป็นสมุนไพรได้ด้วย เดือยไทยมีขนาดเมล็ดเล็ก ๆ เปลือกแข็ง สีดำเป็นมัน เมื่อกะเทาะเปลือกออกจะเป็นเมล็ดแป้งสีขาวนวลที่หุ้มด้วยเยื่อหุ้มเมล็ดสีเหลือง ส่วนของเยื่อหุ้มเมล็ดมีส่วนประกอบของไขมันสูง ส่วนเมล็ดจะประกอบด้วยแป้งและเส้นใยสูง และจากส่วนประกอบทางเคมีของเมล็ดเดือย จะมีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเมล็ดเดือย 1 กรัมจะมีปริมาณแป้ง คาร์โบไฮเดรท ไขมัน โปรตีน เส้นใย สูงกว่าข้าวในปริมาณเท่ากัน (จารุวรรณ, 2550) ดังแสดงในตารางที่ 1

เดือยที่ปลูกเพื่อการค้าในประเทศไทย เริ่มจากอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา และขยายไปปลูกที่จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดเลย ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 เดือยมีราคาสูง จึงมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกที่จังหวัดพะเยา เชียงราย เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และขอนแก่น อย่างไรก็ดี เมื่อราคาเดือยตกต่ำ พื้นที่เพาะปลูกจึงลดลง โดยจังหวัดที่มีพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุด ได้แก่ จังหวัดเลย มีพื้นที่ปลูกประมาณ 20,190 ถึง 52,117 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 95 ของพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ พื้นที่ปลูกเดือยส่วนใหญ่อยู่บนเนินเขา และที่ลาดเชิงเขา ซึ่งมีความลาดเอียงตั้งแต่ 3 ถึง 45 องศา ผลผลิตที่ได้ประมาณร้อยละ 85 ถึง 90 จะส่งไปขายยังต่างประเทศ ผลผลิตที่เหลือจะบริโภคภายในประเทศ โดยในแต่ละปี เดือยสามารถทำรายได้เข้าจังหวัดเลย ประมาณ 120 ถึง 250 ล้านบาท (สมเกียรติ, 2547)

ดังนั้น หากเกษตรกรสามารถใช้ปลายเดือย และรำเดือยเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ และสัตว์มีสมรรถนะการเจริญเติบโตที่เหมาะสม จะช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนค่าอาหารลงได้ การลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์โดยหลักการ ก็คือ การลดราคาของสูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ให้ต่ำลง ในขณะที่คุณค่าทางโภชนะของสูตรอาหารยังคงเดิม ปัจจุบัน ( 16 มกราคม 2555) รำข้าว ปลายข้าว เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีราคาค่อนข้างสูง (ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ในจังหวัดเลย ณ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555 พบว่าราคารำข้าว ปลายข้าว รำเดือย และปลายเดือย มีราคาดังนี้ คือ 10.00, 15.50, 5.00 และ 8.75 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ) ทั้งนี้การนำปลายเดือย และรำเดือยมาใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ทดแทนปลายข้าง และรำข้าวจะช่วยให้ราคาอาหารสัตว์ต่ำลง ในขณะที่คุณภาพหรือปริมาณสารอาหารที่มีในสูตรอาหารยังคงเดิม การใช้ปลายเดือย และรำเดือยเป็นส่วนประกอบของอาหารสุกร ไก่เนื้อ ไก่พื้นเมือง เป็ดเทศ จะเป็นการเพิ่มทางเลือกให้เกษตรกร ในการเลือกใช้วัตถุดิบอีกทางหนึ่ง Suntorn et al., (2011) ได้ทำการศึกษาวิจัยผลของการใช้ปลายเดือยทดแทนปลายข้าวในสูตรอาหารเป็ดเทศพันธุ์กบินทร์บุรีอายุ 28-56 วัน พบว่าเป็ดเทศเมื่อกินอาหารที่มีปลายเดือยระดับต่าง ๆ มีน้ำหนักเมื่อสิ้นสุดการทดลองใกล้เคียงกัน ไม่มีความแตกต่างกัน และมีอัตราการเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) แต่อย่างใด ดังแสดงในตารางที่ 2 อีกทั้งไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเป็ดเทศ ซึ่งเกษตรการสามารถใช้ปลายเดือยได้ถึงร้อยละ 42 ในสูตรอาหารเป็ดเทศระยะนี้ เพื่อการเพิ่มสมรรถนะการผลิต และลดต้นทุนการเลี้ยงเป็ดเทศ ไก่พื้นเมือง ไก่เนื้อ สุกร เป็นต้น รวมทั้งเป็นการนำวัตถุดิบมาใช้ให้เกิดประโยชน์หลากหลาย และส่งเสริมการปลูกพืชในท้องถิ่นจังหวัดเลยได้อีกทางหนึ่งด้วย


ตารางที่ 1 องค์ประกอบทางเคมีของเดือยเปรียบเทียบกับข้าว

องค์ประกอบทางเคมี เดือยไทยกล้อง* เดือยไทยขัดขาว* เดือยลาวกล้อง* เดือยลาว

ขัดขาว* รำเดือยไทย* รำเดือยลาว* ข้าวดอกมะลิ 105

กล้อง* ข้าวดอกมะลิ 105 ข้าวสาร* ปลายข้าว** รำข้าว**

ความชื้น 10.92 12.81 11.44 11.49 8.31 9.40 12.27 12.50 10.00 10.00

แป้งรวม 64.91 70.07 62.88 69.06 39.74 25.76 67.49 70.83 78.00 49.80

โปรตีน 13.40 12.86 14.27 13.03 14.81 15.41 10.60 8.74 7.90 13.30

ไขมัน 5.74 2.25 7.79 5.65 21.2 33.70 6.79 6.25 1.00 13.00

เถ้า 2.07 0.94 2.16 0.17 6.09 8.74 1.45 0.69 - -

ไฟเบอร์ 2.96 1.07 1.46 0.60 9.85 6.99 1.40 0.99 3.1 13.9

อมิโลส 10.24 18.11 6.23 6.56 9.25 2.82 14.77 15.65 - -

หมายเหตุ : * จารุวรรณ (2550)

** NRC (1998)



ตารางที่ 2 ตารางแสดงสมรรถนะการเจริญเติบโตของเป็ดเทศกบินทร์บุรีที่ได้รับอาหารที่มีปลายเดือย

ระดับต่าง ๆ กัน*

องค์ประกอบ ปริมาณปลายเดือย, ร้อยละ SEM*

0 10.50 21.00 31.50 42.00

เป็ด, ตัว 9 9 9 9 9

น้ำหนักเริ่มต้น, กรัม 1033 987 1079 987 1057 -

น้ำหนักสิ้นสุด, กรัม 2190 2153 2233 2077 2158 -

ปริมาณอาหารที่กิน, กรัม/ตัว/วัน 125.60 126.00 125.93 121.33 124.20 0.53

อัตราการเจริญเติบโต, กรัม/ตัว/วัน 41.32 41.64 41.21 38.93 39.32 0.44

น้ำหนักตัวที่เพิ่มต่อปริมาณอาหารที่กิน, กรัม/กิโลกรัมอาหาร 329 330 327 321 317 0.004

*ดัดแปลงจาก Suntorn et al., 2012.

เอกสารอ้างอิง

กรมปศุสัตว์. 2545. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2552. เข้าถึงได้จาก http://www.dld.go.th/nutrition/ Nutrition_Knowlage/ARTICLE/Pro35.htm

จารุวรรณ บางแวก และคณะ. 2550. การผลิตเดือยคุณภาพเพื่อการส่งออก. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2552. เข้าถึงได้ จาก http://210.246.186.28/pprdo/Jobstear/job's%20tear.htm

สมเกียรติ ฐิตะฐาน. 2547. สถานภาพองค์ความรู้ด้านการผลิต การตลาดและการแปรรูป “เดือย” ค้นเมื่อ 23 กันยายน 2552. เข้าถึงได้จาก http://www.trf.or.th/research/ abstract.asp?PROJECTID=PDG4720005

NRC. 1998. Nutrition Requirement of Swine (10th Ed.). National Academy Press, Washington D.C.

Steel, R.G. W. and J.H. Torrie. 1980. Principle and Procedures of Statistics: A Biometrical Approach (2nd Ed.). McGraw-Hill, New York.

Suntorn Kakaisorn, Chaiyapruek Hongladdaporn, Sawang Kullawong. 2012. Effect of Using Broken Job’s tears for Energy Source in Kabinburi Muscovy Rations. The 3rd International Conference on Environmental and Rural Development. Khon Kaen, Thailand, 21-22 January 2012.

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การป้องกันภาวะชะงักหลังหย่านม

ภาวะชะงักหลังการหย่านม (Post-weaning stress) หมายถึง การสูยเสียน้ำหนักตัวและประสิทธิภาพการเจริยเติบโตของลูกสุกรในช่วงสัปดาห์แรกหลังหย่านม ส่งให้กระทบต่อประสิทธิภาพการผลิตในช่วงตั้งแต่อนุบาล เล็ก รุ่น ขุน จนถึงส่งตลาด จึงเป็นสิ่งที่บ่งบกถึงความสำเร็จของการจัดการเล้าอนุบาล บางครั้งเรียกว่า Nursery setback ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะที่ลูกสุกรชะงักหลังหย่านม ได้แก่ น้ำหนักหย่านม (weaning weight) อายุหย่านม (Lactation length) สุขภาพลูกสุกร (Health) คุณภาพอาหาร (Feed quality) และวิธีการให้อาหาร (Feeding management)

ความเครียดปัญหาหลังการหย่านม

ช่วงอายุที่หย่านม เป็นช่วงที่ภูมิต้านทานโรคของสุกรที่ได้รับจากแม่ (Passive immune) ลดต่ำลงพบว่าสภาพภูมิต้านทานของลูกสุกรในฝูง มีความแตกต่างกันมาก การสร้างภูมิต้านทานหรือการทำวัคซีน (Active immune) เริ่มเมื่ออายุมากกว่า 5 สัปดาห์ จึงเป็นช่วงที่ลูกสุกรอ่อนแอ ทำให้เชื่อที่ได้รับมาจากเล้าคลอดเพิ่มจำนวนขึ้น และลูกสุกรติดเชื้อใหม่จากสภาพแวดล้อมใหม่ง่ายยิ่งขึ้น


สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป (Environment stress) จากการพรากจากแม่ การขนย้าย การย้ายที่อยู่และสภาพคอกที่อยู่ใหม่ สภาพการเลี้ยง ภาวะเครียดจากการรวมฝูง การปะปนกันของลูกสุกรจากหลาย ๆ แม่ทำให้มีการแพร่เชื่อต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น

สภาพอาหารที่เปลี่ยนแปลง (Nutritional stress) การเปลี่ยนแปลงอาหารที่ให้ จากอาหารร่วมกับน้ำนม มาเป็นอาหารเลียรางอย่างเดียว ลูกสุกรบางตัวยังไม่สามารถกินอาหารและย่อยอาหารได้อย่างสมบูรณ์จะมีปัญหาขาดสารอาหาร ทำให้อ่อนแอ และติดเชื้อโรคได้ง่ายขึ้น

อาหารและการจัดการสุกรระยะอนุบาล

สุกรระยะอนุบาลเป็นสุกรระยะหลังหย่านม มีอายุประมาณ 24-28 วัน น้ำหนักประมาณ 6-8 กิโลกรัม เป็นระยะที่ต้องการความเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ ทั้งการจัดการ การควบคุมโรค และอาหาร  โดยเฉพาะอาหารสุกรอนุบาล ต้องประกอบสูตรอาหารให้ตรงตามความต้องการของสัตว์  เมื่อสัตว์กินเข้าไปจะทำให้ลูกสุกรสามารถดำรงชีวิต และมีอัตราการเจริญเติบโตที่เหมาะสมได้ (สุวิทย์, 2536) รวมทั้งต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าในการนำวัตถุดิบมาใช้ในสูตรอาหารสุกรด้วย เริ่มจากลูกสุกรหย่านมสุขภาพดี โดยมาจากการดูแลในโรงเรือนคลอดที่ดี ซึ่งดูได้จากน้ำหนักหย่านมและจำนวนลูกหย่าต่อคอกร่วมกัน เพราะแม่สุกรที่เลี้ยงลูกจำนวนมาก ลูกสุกรมักมีขนาดเล็กเมื่อหย่านม เนื่องจากถูกจำกัดด้วยประสิทธิภาพในการให้น้ำนมของแม่สุกรเอง

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

การป้องกันและการแก้ไขสำไส้ทะลักในไก่ไข่ (PROLAPSE)

อะไรที่เรียกว่า PROLAPSE ถ้ามีส่วนหนึ่งส่วนใดของท่อนำไข่ (Oviduct) ได้หลุดออกมานอกแม่ไก่ เราเรียกว่า “ Prolapse ” โดยปกติแล้วมักจะพบบ่อยในไก่ไข่สีขาวมากกว่าสีน้ำตาล ปัญหาจริง ๆ ไม่ใช่ที่ “ Prolapse “ อย่างเดียวที่เป็นปัญหา ปัญหาตามมาจะพบบ่อยคือ ไก่จิกกัน (Cannibalism) ผลที่ตามมาคือ อัตราการตายจะสูงขึ้น เราสามารถแบ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาของ “ Prolapse “ ได้ดังนี้
1. โครงสร้างและน้ำหนักตัวไก่ การพัฒนาน้ำหนักของไก่ไข่ในช่วงไก่เล็กนั้นสำคัญมาก มี 2 ปัญหาที่ผู้เลี้ยงจะต้องระวังไว้ คือ *** น้ำหนักที่เกินไปนั้นเกิดจากการสะสมของไขมัน *** โครงสร้างของช่วงไก่เล็ก เล็กเกินไป ทั้ง 2 สาเหตุจะมีส่วนทำให้เกิด Prolapse เกิดขึ้น การพัฒนาน้ำหนักตัวและโครงสร้างของไก่เล็กจะสำคัญมาก โดยเฉพาะช่วงอายุวันแรกถึง 5 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะเห็นว่ากี่ครั้งที่มีการพูดคุยเรื่องไก่ไข่ เราจะเน้นเรื่องน้ำหนักตัวที่ 5 สัปดาห์ ค่อนข้างมาก ในช่วงไก่อายุ 8 ถึง 15 สัปดาห์ เราต้องพยายามให้ไก่กินปริมาณอาหารต่อวัน เพิ่มขึ้น การให้อาหารที่มีปริมาณพลังงานต่ำ และโปรตีนต่ำจะทำให้ไก่กินอาหารต่อวันเพิ่มขึ้น เมื่อไก่อายุตั้งแต่ 15 สัปดาห์ขึ้นไป เราควรทำให้ไก่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นโดยเพิ่มปริมาณอาหารที่ไก่กินต่อวัน ระบบสืบพันธุ์ของไก่สาวจะพัฒนาเร็วมากนับจากนี้เป็นต้นไป ถ้าไก่สาวกินอาหารเพิ่มขึ้นไม่มากพอ เราควรจะกระตุ้นให้ไก่สาวกินปริมาณเพิ่มขึ้นให้ได้ ในบางครั้ง ถ้าน้ำหนักตัวไก่สาวต่ำกว่าน้ำหนักเป้าหมายมาก บางครั้งเราให้ไก่สาวกินอาหารไก่เล็ก (Starter) ระหว่าง 16 – 18 สัปดาห์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มน้ำหนักตัวไก่สาวก่อนขึ้นไข่ หลังจากเราย้ายไก่จากไก่สาวขึ้นกรงไก่ไข่ แล้วปริมาณอาหารที่ไก่กินต่อวันไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างเพียงพอ เราควรจะกระตุ้นให้ไก่ได้กินอาหารมากขึ้น ทั้งนี้ในบางครั้ง เมื่อน้ำหนักตัวยังต่ำกว่าน้ำหนักเป้าหมาย เราก็สามารถให้อาหารไก่เล็ก (Starter) ได้ระหว่างอายุ 16 – 18 สัปดาห์ ทั้งนี้เพื่อช่วยกระตุ้นน้ำหนักก่อนไข่ ในกรณีที่ไก่สาวที่ย้ายขึ้นกรงไข่แล้ว ยังไม่สามารถกินปริมาณอาหารตามที่ควรจะเป็นเราควรจะให้ไก่สาวกินอาหารที่มีสูตรพลังงานลดลงประมาณ 100 Kcal และให้โปรตีนในอาหารสูงขึ้นประมาณ 1% จนกว่า ไก่สาวจะสามารถกินปริมาณอาหารได้ตามที่เราต้องการ จึงหันกลับไปใช้สูตรอาหารปกติ ลูกไก่ไข่ที่มีการพัฒนาทั้งน้ำหนักตัวและโครงสร้างจะเป็นตัวป้องกัน Prolapse ได้เป็นอย่างดี ควรคำนึงถึงด้วยว่า น้ำหนักตัวอาจมาจากไขมันในร่างกาย โดยที่ไก่ไข่มีโครงสร้างที่เล็กกว่าปกติ การสร้างโครงสร้างที่ดีควรจะเริ่มตั้งแต่ไก่เล็ก
2. การตัดปากไก่ (DEBEAKING)
การตัดปากที่ยาวเกินหรือไม่ตัดเลย ก็จะทำให้ไก่จิกกัน ดังนั้นควรจะสำรวจด้วยว่ามาจากการตัดปากไก่หรือไม่
3. แสง (LIGHTING) และความเข้มของแสง (LIGHTING INTENSITY) ความเข้มของแสงที่สูงเกินไปหรือในโรงเรือนเปิดจะทำให้ไก่จิกกันได้ เราสามารถใช้หลอดไฟสีแดด เพื่อป้องกันการจิกกัน - ชั่วโมงแสง การที่เรากระตุ้นชั่วโมงแสงในไก่สาวเร็วเกินไปจะทำให้เกิด Prolapse เกิดขึ้น เราต้องแน่ใจว่าน้ำหนักตัวและโครงสร้างของไก่สาวเป็นไปตามที่เราต้องการก่อนที่เราจะกระตุ้น หรือเพิ่มจำนวนชั่วโมงแสง ดังนั้นถ้าน้ำหนักตัวยังไม่ถึงมาตรฐาน เราจะยังไม่กระตุ้นแสง ทั้งนี้ในไก่ไข่เป็นการยากที่จะชะลอการไข่ออกไป ดังนั้นเราควรจะเน้นการเลี้ยงในช่วงแรกเกี่ยวกับ น้ำหนักตัวและโครงสร้าง
4. ขนาดไข่ (EGG SIZE)
ขนาดไข่ที่ใหญ่เกินไปจะเป็นสาเหตุให้เกิด Prolapse ได้ หลังจากไก่สาวเริ่มไข่ขนาดไข่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นถ้าโครงสร้างไก่ไข่มีขนาดเล็กไปก็จะทำให้เกิด Prolapse ได้ง่ายขึ้น
5. โรคติดเชื้อในลำไส้ (ENTERITIES)
โดยทั่วไปโรคท้องเสียทุกชนิดสามารถทำให้เกิด Prolapse ได้
6. ให้เกลือเพิ่มขึ้น (0.45%) อาจลดการจิกกันได้
เกลือที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ไก่กินน้ำมากขึ้นและอาจทำให้เกิดการถ่ายเหลวได้ จำนวนคลอรีน ควรอยู่ในระดับ 1200 ppm เป็นอย่างน้อย
7. การถ่ายอาหารที่ดีจะช่วยลดการจิกกันได้
8. ไม่ใส่ไก่แน่นเกินไปจนเกิดความเครียดขึ้น
9. อุณหภูมิและความเข้มของแสงที่เปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นไป ก็เป็นสาเหตุของการจิกได้
10. พวก หนู แมลง รวมถึงตัวไร ก็สามารถเป็นสาเหตุของการจิกกันได้

เราจะป้องกัน “PROLAPSE” ได้อย่างไร

3. การคำนวณหาจำนวนสุกรขุนที่ต้องการ
คำนวณได้จาก จำนวนสุกรอย่านม 21941 ตัว/ปี กำหนดให้มีการสูญเสียขณะขุน = 2.00 % ดังนั้นมีการสูญเสียสุกรจำนวน = 439 ตัว/ปี ดังนั้นจะเหลือสุกรขุนมีชีวิต = 21,502 ตัว/ปี or 1,792 ตัว/เดือน or 413 ตัว/สัปดาห์ หรือคำนวณได้จากแม่เข้าคลอด/สัปดาห์ 421.94 ตัว/สัปดาห์ (เนื่องจากใน 1 ปีมี 52 สัปดาห์ ดังนั้น จะต้องมีแม่เข้าคลอดตลอดประมาณ 421.94 แม่/สัปดาห์) ดังนั้นจำนวนแม่สุกรในฟารฟาร์ม 1000 แม่ สามารถผลิตสุกรขุนจำหน่ายได้ 413 ตัว/สัปดาห์
มีข้อมูลสงสัย หรือ ให้เพิ่มเติม สอบถามมาได้ครับผม และเปลี่ยนประสบการณ์กันได้ครับ

วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555

Effect of Using Broken Job’s tears for Energy Source in Kabinburi Muscovy Rations

ผลการใช้ปลายเดือยเป็นแหล่งพลังงานทดแทนปลายข้าวในสูตรอาหารเป็ดเทศกบินทร์บุรี

Effect of Using Broken Job’s tears for Energy Source in Kabinburi Muscovy Rations

สุนทร เกไกรสร1* ชัยพฤกษ์ หงษ์ลัดดาพร1, สว่าง กุลวงษ์1
Suntorn Kakaisorn1 *, Chaiyapruek Hongladdaporn1, Sawang Kullawong1

บทคัดย่อ: การศึกษาผลของการใช้ปลายเดือยเป็นแหล่งพลังงานทดแทนปลายข้าวต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของเป็ดเทศพันธุ์กบินทร์บุรี ใช้อาหารที่มีระดับปลายเดือย 5 ระดับ คือ ปลายเดือยร้อยละ 0, 8.25, 16.50, 24.75 และร้อยละ 33.00 ใช้เป็ดเทศพันธุ์กบินทร์บุรี อายุ 3 วัน จำนวน 40 ตัว น้ำหนักเฉลี่ย 63.68 กรัม แบ่งเป็ดออกเป็น 5 กลุ่ม ๆ ละ 4 ซ้ำ ๆ 2 ตัว ผลการทดลองพบว่าเป็ดเทศที่ได้รับอาหารทั้ง 5 สูตร ที่มีระดับปลายเดือยแตกต่างกัน มีอัตราการเจริญเติบโต น้ำหนักตัวที่เพิ่มต่อปริมาณอาหารที่กิน ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) แต่พบว่าเป็ดเทศกลุ่มที่ได้รับปลายข้าว (สูตรที่ 1) เป็นแหล่งพลังงานมีประสิทธิภาพการใช้โปรตีนดีกว่า กลุ่มที่กินอาหารที่มีปลายเดือยร้อยละ 24.75 และร้อยละ 33.00 (สูตรที่ 4 และ 5) ดังนั้นเป็ดเทศพันธุ์กบินทร์บุรีในช่วงอายุ 1-28 วัน สามารถใช้ปลายเดือยเป็นแหล่งพลังงานในสูตรอาหารได้ที่ระดับร้อยละ 33 ซึ่งมีผลทำให้สมรรถนะการเจริญเติบโตของเป็ดเทศพันธุ์กบินทร์บุรีใกล้เคียงกันกับการใช้ปลายข้าว

คำสำคัญ : ปลายเดือย, เป็ดเทศพันธุ์กบินทร์บุรี, สมรรถนะการเจริญเติบโต

ABSTRACT: This experiment was conducted to determine levels of broken Job’s tears on growth performance in Kabinburi Muscovy. The experiment treatment feeds containing 5 levels of broken Job’s tears (0, 8.25, 16.50, 24.75 and 33.00 % on rations). Forty Kabinburi Muscovys one-day-old ( 63.68 g average body weight) were used in four replications (2 ducks per replication). The duck give five rations have show body weight gain not significant (P>0.05). Daily weight gain and gain per feed of Kabinburi muscovy did not show differ among dietary treatments (P>0.05). However Kabinburi Muscovy feed broken rice has showed higher protein efficiency ratio than Kabinburi Muscovy feed broken Job’s tears levels 24.75 and 33.00 %. Nutritionist can use level of broken Job’s tears at 33.00 % in feed for 1-28 day-old Kabinburi Muscovy is recommended.

Key Words: broken Job’s tears, kabinburi muscovy, growth performance

1 สาขาสัตวศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์แลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เลย 42000
Department of Animal Science, Faculty of Science and Technology, Rajabhat Loei University, Loei 42000
* Corresponding author: suntornka@hotmail.com

บทนำ

เป็ดเทศพันธุ์กบินทร์บุรี มีขนสีขาวตลอดลำตัว มีขนสีดำเป็นจุดเด่นอยู่กลางหัว ปากสีชมพู เท้าสีเหลืองอ่อน ลำตัวยาว หน้าอกกว้าง เนื้อมาก น้ำหนักแรกเกิด 42-54 กรัม เพศผู้โตเต็มที่หนัก 5-6 กิโลกรัม เพศเมียหนัก 2.6-2.8 กิโลกรัม เริ่มไข่อายุ 6-7 เดือน ไข่ได้ปีละ 150-180 ฟอง เป็ดเทศพันธุ์กบินทร์บุรี ได้รับการวิจัยและพัฒนาให้เป็นพันธุ์แท้ที่สามารถเลี้ยงเพื่อผลิตเนื้อป้อนตลาดได้ในระยะเวลา 10-12 สัปดาห์ (น้ำหนักประมาณ 2.8 กิโลกรัม) มีการเจริญเติบโตประมาณ 34 กรัม/ตัว/วัน น้ำหนักตัวที่เพิ่มต่อปริมาณอาหารที่กิน 420 กรัม/กิโลกรัมอาหาร (กรมปศุสัตว์, 2545) แข็งแรง ทนต่อสภาพการเลี้ยงดูในชนบท เหมาะสำหรับเกษตรกรเลี้ยงไว้เพื่อบริโภคและเสริมรายได้ เดือย (Job’s tears) เป็นธัญพืชตระกูล Gramineae เช่นเดียวกับข้าวโพด และข้าวฟ่าง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coix lacryma-jobi L. เดือยมีคุณค่าทางโภชนาการสูง จึงนำมาใช้ประโยชน์เป็นอาหารมนุษย์และอาหารสัตว์ และเดือยมีสรรพคุณทางยา ประกอบด้วยแป้งและเส้นใยสูง และส่วนประกอบทางเคมีของเมล็ดเดือย 1 กรัมจะมีปริมาณแป้ง คาร์โบไฮเดรท ไขมัน โปรตีน เส้นใย สูงกว่าปลายข้าวในปริมาณเท่ากัน (จารุวรรณ, 2550) เดือยนิยมเพาะปลูกบนที่ลาดเชิงเขา จังหวัดเลยมีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 52,117 ไร่ เก็บผลผลิตได้ 300-350 กิโลกรัมต่อไร่ ประมาณร้อยละ 90 ส่งขายยังต่างประเทศ (สมเกียรติ, 2547) ลูกเดือยที่ผลิตได้ต้องนำมาผ่านกระบวนการสีจึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งมีผลพลอยได้ คือ ปลายเดือย รำเดือย และเปลือกเดือย ซึ่งในส่วนของปลายเดือย และรำเดือยมีปริมาณมาก และราคาประมาณ 3-8 บาทต่อกิโลกรัม ดังนั้นหากเกษตรกรสามารถใช้ปลายเดือยเป็นวัตถุดิบอาหารเป็ดเทศ และเป็ดเทศมีสมรรถนะการเจริญเติบโตที่เหมาะสม จะเป็นการเพิ่มทางเลือกให้เกษตรกรในการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นอีกทางหนึ่ง รวมทั้งเป็นการนำวัตถุดิบมาใช้ให้เกิดประโยชน์หลากหลาย และส่งเสริมการปลูกพืชในท้องถิ่นจังหวัดเลยได้อีกทางหนึ่งด้วย การวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของการใช้ปลายเดือยเป็นแหล่งพลังงานทดแทนปลายข้าว โดยคำนวณสูตรอาหารให้มีปริมาณปลายเดือยแตกต่างกันทดแทนปลายข้าวต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของเป็ดเทศพันธุ์กบินทร์บุรี

อุปกรณ์และวิธีการ

ใช้เป็ดเทศพันธุ์กบินทร์บุรี คละเพศ อายุ 3 วัน จำนวน 40 ตัว น้ำหนักเฉลี่ย 63.68 กรัม เลี้ยงภายในโรงเรือนทดลองมีการให้แสงตลอดเวลา แบ่งเป็ดออกเป็น 5 กลุ่ม ๆ ละ 4 ซ้ำ ๆ ละ 2 ตัว ใช้แผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยวิธี Duncan’s Multiple Range Test (DMRT) ทำการทดลองเป็นเวลา 28 วัน ที่ฟาร์มทดลองสัตวศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย บันทึกน้ำหนักตัวเริ่มต้น และน้ำหนักตัวสุดท้ายของเป็ดเทศในแต่ละสัปดาห์ บันทึกปริมาณอาหารที่กิน ประกอบสูตรอาหารโดยเพิ่มระดับปลายเดือยทดแทนปลายข้าว คำนวณให้ได้ระดับที่แตกต่างกัน 5 ระดับ คือ ร้อยละ 0, 8.25, 16.5, 24.75 และร้อยละ 33.00 รายละเอียดส่วนผสมของวัตถุดิบอาหารสัตว์ในสูตรได้แสดงไว้ใน Table 1. ปริมาณค่าโภชนะอื่น ๆ ได้คำนวณให้มีครบตามคำแนะนำของ กรมปศุสัตว์ (2545) ให้อาหารในแต่ละวันในปริมาณเต็มที่ ให้อาหารเวลา 06.30 นาฬิกา และให้น้ำดื่มอย่างเต็มที่

ผลการทดลอง

ผลการศึกษาพบว่าเป็ดเทศที่ได้รับอาหารที่มีปลายเดือยทั้ง 5 ระดับ คือ ปลายเดือยร้อยละ 0, 8.25, 16.50, 24.75 และร้อยละ 33.00 มีน้ำหนักตัวสุดท้ายใกล้เคียงกัน คือ 1153.8, 1115, 1113.8, 1082.5 และ 1062.5 กรัมต่อตัว ตามลำดับ) ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) สำหรับอัตราการเจริญเติบโตของเป็ดเทศที่ได้รับอาหารที่มีปลายเดือยร้อยละ 8.25, 16.50 24.75 และร้อยละ 33.00 มีอัตราการเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน (37.52, 37.43, 36.43 และ 35.74 กรัมต่อตัวต่อวัน ตามลำดับ) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับอาหารที่ใช้ปลายข้าว (38.93 กรัมต่อตัวต่อวัน) (P>0.05) เช่นเดียวกันกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มต่อปริมาณอาหารที่กิน กลุ่มที่ได้รับอาหารที่มีปลายเดือยทั้ง 4 ระดับ มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มต่อปริมาณอาหารที่กินใกล้เคียงกัน (233.78, 235.01, 228.03 และ 224.4 กรัมต่อกิโลกรัมอาหาร ตามลำดับ) และใกล้เคียงกันกับกลุ่มที่ได้รับอาหารที่ไม่ใช้ปลายเดือย (242.54 กรัมต่อกิโลกรัมอาหาร) (P>0.05) ดังแสดงใน Table 2. ประสิทธิภาพการใช้โปรตีน พบว่าเป็ดเทศที่ได้รับอาหารที่มีปลายเดือยทั้ง 4 ระดับ มีประสิทธิภาพการใช้โปรตีนใกล้เคียงกัน โดยมีค่าเป็น 1.03, 1.01, 0.96 และ 0.92 ตามลำดับ แต่ทั้งนี้พบว่ากลุ่มที่ใช้ปลายข้าว (1.10) มีประสิทธิภาพการใช้โปรตีนดีกว่ากลุ่มที่ใช้ปลายเดือยร้อยละ 24.75 และร้อยละ 33.00 (0.96 และ 0.92 ตามลำดับ) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ดังแสดงใน Table 2.

สรุปและวิจารณ์

จากผลการใช้ปลายเดือยในสูตรอาหารเป็ดเทศกบินทร์บุรี พบว่าเมื่อเป็ดเทศได้รับสูตรอาหารที่ใช้ปลายเดือยเป็นวัตถุดิบมีผลทำให้มีอัตราการเจริญเติบโต สอดคล้องกับอัตราการเจริญเติบโตที่ทดสอบโดยกรมปศุสัตว์ (2545) แต่ทั้งนี้น้ำหนักตัวที่เพิ่มต่อปริมาณอาหารที่กินแย่กว่าที่ทดสอบพันธุ์โดยกรมปศุสัตว์ (2545) ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากธรรมชาติของเป็ดที่กินอาหารไปด้วยดื่มไปด้วยน้ำ และมีการหกหล่นเสียหายของอาหารเกิดขึ้นในภาชนะให้น้ำและตามพื้นคอก จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่าเป็ดเทศพันธุ์กบินทร์บุรีสามารถนำโภชนะในปลายเดือยไปใช้ประโยชน์ได้ และพบว่าเมื่อระดับของปลายเดือยเพิ่มขึ้นทำให้ระดับของโปรตีนในสูตรอาหารเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่ระดับโปรตีนที่เพิ่มขึ้นไม่ทำให้เป็ดเทศมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นแต่ประการใด จึงทำให้ค่าประสิทธิภาพการใช้โปรตีนต่ำลงอย่างเห็นได้ชัดในเป็ดกลุ่มที่ได้รับปลายเดือยที่ร้อยละ 24.75 และ 33.00 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ใช้ปลายข้าว จากการวิจัยครั้งนี้จึงสรุปได้ว่าสามารถใช้ปลายเดือยเป็นวัตถุดิบในสูตรอาหารเป็ดเทศพันธุ์กบินทร์บุรีที่อายุ 1-28 วัน ได้ถึงร้อยละ 33.00 ในสูตรอาหาร ซึ่งระดับดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งผลของการใช้ปลายเดือยทดแทนปลายข้าวในอาหารเป็ดเทศพันธ์กบินทร์บุรีในช่วงอายุ 28-56 วัน จะทำการศึกษาในลำดับต่อไป

คำขอบคุณ

ขอขอบคุณสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ที่สนับสนุนงบประมาณในการทำวิจัยและสนับสนุนทุนเพื่อการนำเสนอผลงานวิจัยในครั้งนี้

เอกสารอ้างอิง

กรมปศุสัตว์. 2545. เข้าถึงได้จาก http://www.dld.go.th/service/duck%205%20type/kabin.html.

ค้นเมื่อ 15 กันยายน 2554.

จารุวรรณ บางแวก และคณะ. 2550. การผลิตเดือยคุณภาพเพื่อการส่งออก. เข้าถึงได้จาก
http://210.246.186.28/pprdo/Jobstear/Job’s%20tear.html. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2554.
สมเกียรติ ฐิตะฐาน. 2547. สถานภาพองค์ความรู้ด้านการผลิต การตลาดและการแปรรูป “เดือย” เข้าถึงได้จาก http://www.trf.or.th/research/abstract.asp?PROJECTID=PDG4720005. ค้นเมื่อ 23 กันยายน 2554.
Steel, R.G. W. and J.H. Torrie. 1980. Principle and Procedures of Statistics: A Biometrical Approach (2nd Ed.). McGraw-Hill, New York.

Sponser

News in Thailand

.