You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

การป้องกันและการแก้ไขสำไส้ทะลักในไก่ไข่ (PROLAPSE)

อะไรที่เรียกว่า PROLAPSE ถ้ามีส่วนหนึ่งส่วนใดของท่อนำไข่ (Oviduct) ได้หลุดออกมานอกแม่ไก่ เราเรียกว่า “ Prolapse ” โดยปกติแล้วมักจะพบบ่อยในไก่ไข่สีขาวมากกว่าสีน้ำตาล ปัญหาจริง ๆ ไม่ใช่ที่ “ Prolapse “ อย่างเดียวที่เป็นปัญหา ปัญหาตามมาจะพบบ่อยคือ ไก่จิกกัน (Cannibalism) ผลที่ตามมาคือ อัตราการตายจะสูงขึ้น เราสามารถแบ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาของ “ Prolapse “ ได้ดังนี้
1. โครงสร้างและน้ำหนักตัวไก่ การพัฒนาน้ำหนักของไก่ไข่ในช่วงไก่เล็กนั้นสำคัญมาก มี 2 ปัญหาที่ผู้เลี้ยงจะต้องระวังไว้ คือ *** น้ำหนักที่เกินไปนั้นเกิดจากการสะสมของไขมัน *** โครงสร้างของช่วงไก่เล็ก เล็กเกินไป ทั้ง 2 สาเหตุจะมีส่วนทำให้เกิด Prolapse เกิดขึ้น การพัฒนาน้ำหนักตัวและโครงสร้างของไก่เล็กจะสำคัญมาก โดยเฉพาะช่วงอายุวันแรกถึง 5 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะเห็นว่ากี่ครั้งที่มีการพูดคุยเรื่องไก่ไข่ เราจะเน้นเรื่องน้ำหนักตัวที่ 5 สัปดาห์ ค่อนข้างมาก ในช่วงไก่อายุ 8 ถึง 15 สัปดาห์ เราต้องพยายามให้ไก่กินปริมาณอาหารต่อวัน เพิ่มขึ้น การให้อาหารที่มีปริมาณพลังงานต่ำ และโปรตีนต่ำจะทำให้ไก่กินอาหารต่อวันเพิ่มขึ้น เมื่อไก่อายุตั้งแต่ 15 สัปดาห์ขึ้นไป เราควรทำให้ไก่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นโดยเพิ่มปริมาณอาหารที่ไก่กินต่อวัน ระบบสืบพันธุ์ของไก่สาวจะพัฒนาเร็วมากนับจากนี้เป็นต้นไป ถ้าไก่สาวกินอาหารเพิ่มขึ้นไม่มากพอ เราควรจะกระตุ้นให้ไก่สาวกินปริมาณเพิ่มขึ้นให้ได้ ในบางครั้ง ถ้าน้ำหนักตัวไก่สาวต่ำกว่าน้ำหนักเป้าหมายมาก บางครั้งเราให้ไก่สาวกินอาหารไก่เล็ก (Starter) ระหว่าง 16 – 18 สัปดาห์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มน้ำหนักตัวไก่สาวก่อนขึ้นไข่ หลังจากเราย้ายไก่จากไก่สาวขึ้นกรงไก่ไข่ แล้วปริมาณอาหารที่ไก่กินต่อวันไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างเพียงพอ เราควรจะกระตุ้นให้ไก่ได้กินอาหารมากขึ้น ทั้งนี้ในบางครั้ง เมื่อน้ำหนักตัวยังต่ำกว่าน้ำหนักเป้าหมาย เราก็สามารถให้อาหารไก่เล็ก (Starter) ได้ระหว่างอายุ 16 – 18 สัปดาห์ ทั้งนี้เพื่อช่วยกระตุ้นน้ำหนักก่อนไข่ ในกรณีที่ไก่สาวที่ย้ายขึ้นกรงไข่แล้ว ยังไม่สามารถกินปริมาณอาหารตามที่ควรจะเป็นเราควรจะให้ไก่สาวกินอาหารที่มีสูตรพลังงานลดลงประมาณ 100 Kcal และให้โปรตีนในอาหารสูงขึ้นประมาณ 1% จนกว่า ไก่สาวจะสามารถกินปริมาณอาหารได้ตามที่เราต้องการ จึงหันกลับไปใช้สูตรอาหารปกติ ลูกไก่ไข่ที่มีการพัฒนาทั้งน้ำหนักตัวและโครงสร้างจะเป็นตัวป้องกัน Prolapse ได้เป็นอย่างดี ควรคำนึงถึงด้วยว่า น้ำหนักตัวอาจมาจากไขมันในร่างกาย โดยที่ไก่ไข่มีโครงสร้างที่เล็กกว่าปกติ การสร้างโครงสร้างที่ดีควรจะเริ่มตั้งแต่ไก่เล็ก
2. การตัดปากไก่ (DEBEAKING)
การตัดปากที่ยาวเกินหรือไม่ตัดเลย ก็จะทำให้ไก่จิกกัน ดังนั้นควรจะสำรวจด้วยว่ามาจากการตัดปากไก่หรือไม่
3. แสง (LIGHTING) และความเข้มของแสง (LIGHTING INTENSITY) ความเข้มของแสงที่สูงเกินไปหรือในโรงเรือนเปิดจะทำให้ไก่จิกกันได้ เราสามารถใช้หลอดไฟสีแดด เพื่อป้องกันการจิกกัน - ชั่วโมงแสง การที่เรากระตุ้นชั่วโมงแสงในไก่สาวเร็วเกินไปจะทำให้เกิด Prolapse เกิดขึ้น เราต้องแน่ใจว่าน้ำหนักตัวและโครงสร้างของไก่สาวเป็นไปตามที่เราต้องการก่อนที่เราจะกระตุ้น หรือเพิ่มจำนวนชั่วโมงแสง ดังนั้นถ้าน้ำหนักตัวยังไม่ถึงมาตรฐาน เราจะยังไม่กระตุ้นแสง ทั้งนี้ในไก่ไข่เป็นการยากที่จะชะลอการไข่ออกไป ดังนั้นเราควรจะเน้นการเลี้ยงในช่วงแรกเกี่ยวกับ น้ำหนักตัวและโครงสร้าง
4. ขนาดไข่ (EGG SIZE)
ขนาดไข่ที่ใหญ่เกินไปจะเป็นสาเหตุให้เกิด Prolapse ได้ หลังจากไก่สาวเริ่มไข่ขนาดไข่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นถ้าโครงสร้างไก่ไข่มีขนาดเล็กไปก็จะทำให้เกิด Prolapse ได้ง่ายขึ้น
5. โรคติดเชื้อในลำไส้ (ENTERITIES)
โดยทั่วไปโรคท้องเสียทุกชนิดสามารถทำให้เกิด Prolapse ได้
6. ให้เกลือเพิ่มขึ้น (0.45%) อาจลดการจิกกันได้
เกลือที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ไก่กินน้ำมากขึ้นและอาจทำให้เกิดการถ่ายเหลวได้ จำนวนคลอรีน ควรอยู่ในระดับ 1200 ppm เป็นอย่างน้อย
7. การถ่ายอาหารที่ดีจะช่วยลดการจิกกันได้
8. ไม่ใส่ไก่แน่นเกินไปจนเกิดความเครียดขึ้น
9. อุณหภูมิและความเข้มของแสงที่เปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นไป ก็เป็นสาเหตุของการจิกได้
10. พวก หนู แมลง รวมถึงตัวไร ก็สามารถเป็นสาเหตุของการจิกกันได้

เราจะป้องกัน “PROLAPSE” ได้อย่างไร

3. การคำนวณหาจำนวนสุกรขุนที่ต้องการ
คำนวณได้จาก จำนวนสุกรอย่านม 21941 ตัว/ปี กำหนดให้มีการสูญเสียขณะขุน = 2.00 % ดังนั้นมีการสูญเสียสุกรจำนวน = 439 ตัว/ปี ดังนั้นจะเหลือสุกรขุนมีชีวิต = 21,502 ตัว/ปี or 1,792 ตัว/เดือน or 413 ตัว/สัปดาห์ หรือคำนวณได้จากแม่เข้าคลอด/สัปดาห์ 421.94 ตัว/สัปดาห์ (เนื่องจากใน 1 ปีมี 52 สัปดาห์ ดังนั้น จะต้องมีแม่เข้าคลอดตลอดประมาณ 421.94 แม่/สัปดาห์) ดังนั้นจำนวนแม่สุกรในฟารฟาร์ม 1000 แม่ สามารถผลิตสุกรขุนจำหน่ายได้ 413 ตัว/สัปดาห์
มีข้อมูลสงสัย หรือ ให้เพิ่มเติม สอบถามมาได้ครับผม และเปลี่ยนประสบการณ์กันได้ครับ

Sponser

News in Thailand

.