You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Distiller’s grains raising antibiotic

เมื่อวันที่ 21 กค. ที่ผ่านมาผมได้ดูเว็บ All About Feed เขารายงานว่าการนำ DDGS มาใช้ในอาหารสัตว์มีประโยชน์อีกอย่างหนึ่งคือ สามารถทำหน้าที่เป็นแอนติ้ไบโอติกได้ด้วย โดยแอนตี้ไบโอติกที่มีใน DDGS จะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค ซึ่งขณะที่ องค์การอาหารและยาของสหรัฐ (FDA) รายงานว่าไม่ได้เกิดจากการหมัก หรือ การเกิดเอทานอล แต่มันอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น มีการทดลองการใช้ ดีจี ที่ได้จากการหมักเอทานอล เปรียบเทียบกับการใช้สารเอตี้ไบโอติก กลุ่ม penicillin, virginiamycin, erythromycin and tylosin ผลพบว่า ก็มีการใช้กับอย่างแพร่หลายในวงการปศุสัตว์ ฟาร์มสัตว์ปีก และ สุกร และก็มีการยับยั้งการทำงานของแบคทีเรีย ทำให้สัตว์สามารถเจริญเติบ โตได้เหมือนเดิม แต่รายละเอียดก็คอยติดตามกันต่อไปครับ

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Feeding pigs & cactus products

เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 52 ที่ผ่านมาผมได้ดูเว็บไซด์ All about feed เขารายงานว่า ประเทศจีนได้ทำการศึกษาและหาวัตถุดิบมาใช้เป็นอาหารสุกรเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนวัตถุดิบที่ราคาผันผวนและเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งผมก็แปลกใจ ว่าเขาเอาแค๊กตัส มาทำเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ไงอะ ผมก็อืมแปลกใจ ได้จริงเหรอ เขารายงานว่า มีการนำแค๊กตัสมาทดลองเป็นวัตถุดิบในสูตรอาหารโค และอาหารปลากันสำเร็จแล้ว และใช้ได้ดีด้วย เมื่อ เดือนกรกฎาคม 2008 และมีการจดลิขสิทธิ์ กันเพิ่มมากขึ้นในส่วนของอาหารหมูมีมูลค่าถึง 330,000 ดอลลาร์ กันเลยที่เดียว China Kangtai CEO Jinjiang Wang อธิบายว่า การนำแค๊กตัสมาเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ ในตลาดทั่วไป สามารถแสดงสมรรถนะการเจริญเติบโตได้ดี ผู้เลี้ยงสุกรบอกว่ามันสามารถช่วยให้สุขภาพของสัตว์แข็งแรง แต่ในการนำมาใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสุกรก็ต้องมีการทดสอบให้แน่ใจกันก่อน อาหารสุขภาพ เขารายงานว่าบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ อาหารที่มีส่วนผสมของแค๊กตัสเป็นวัตถุดิบประกอบอยู่ จะทำให้สัตว์สามารถป้องกันการติดเชื้อจากแบคทีเรียทางกระแสเลือด และช่วยลดการอักเสบได้ด้วย และเขายังรายงานอีกว่า ยังสามารถปรับปรุงคุณภาพซากของสุกรได้อีกด้วย แถมเขายังได้รับรางวัลจากหน่วยงานของจีนที่เกี่ยวข้องอีกด้วยนะ

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Test at the beginning before interview the work

1. ปลายข้าว มีพลังงานใช้ประโยชน์ได้ในสุกร และสัตว์ปีก เท่ากับ...........และ.............กิโลแคลอรี่/กิโลกรัม ตามลำดับ มีโปรตีนประมาณ............เปอร์เซ็นต์
2. หางนมผง (Skimmed milk) มีโปรตีนประมาณ.............เปอร์เซ็นต์
3. แทนนิน (tannin) เป็นสารที่ทำให้เกิดรสฝาดในพืชอาหารสัตว์บางชนิด วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่พบแทนนิน ได้แก่ (1)..........................(2)...............................
4. แม่สุกรตั้งท้องเป็นเวลา...........วัน ลูกสุกรหย่านมที่เวลา..........วัน น้ำหนักสุกรหลังอย่านมประมาณ..........กิโลกรัม
5. สุกรขุนที่ (น้ำหนัก 50-80 กิโลกรัม) ต้องการโปรตีนที่ร้อยละ........... พลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ร้อยละ ………… kcal/kg
6. ให้เรียงน้ำหนักตัวของแม่ไก่เฉลี่ยจากน้ำหนักสูงสุดไปหาน้อยสุด (Single comb white Leghorn, Rhode Island Red, Bar Plymouth Rock)
1.
2.
3.
7. ไก่ไข่พันธุ์เปลือกสีน้ำตาลอายุ 12 – 18 สัปดาห์ ต้องการโปรตีนที่ร้อยละ.......... พลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ .......... kcal/kg
8. แม่ไก่ไข่มีวงรอบการผลิตไข่ประมาณ...........ชั่วโมง
9. ให้คำนวณสูตรอาหารเบื้องต้นโดยวิธี เพียร์สัน สแควร์ (Pearson square) กำหนดให้เปอร์เซ็นต์โปรตีนในข้าวไรย์ = 12 กำหนดให้เปอร์เซ็นต์โปรตีนในถั่ว Peanut สกัดน้ำมัน = 49 ต้องการอาหารที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีน = 17
10. ให้คำนวณสูตรอาหารเบื้องต้นโดยวิธี เพียร์สัน สแควร์ (Pearson square) กำหนดให้เปอร์เซ็นต์โปรตีนในกากเมล็ดงา = 43 กำหนดให้เปอร์เซ็นต์โปรตีนในข้าวฟ่าง = 9 ต้องการอาหารที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีน = 20

ระยะการเจริญเติบโตของลูกกุ้ง

ระยะที่ 1 นอเพลียส (Nauplius) รูปร่างของลูกกุ้งจะมีลักษณะเล็กมาก คล้ายแมงมุม ช่วงระยะนอเพลียสจะต้องผ่านการลอกคราบไปอีก 5-6 ครั้ง ซึ่งจะใช้เวลา 36- 48 ชั่วโมง ในระยะนี้ผู้เลี้ยงกุ้งยังไม่ต้องให้อาหาร เนื่องจากลูกกุ้งยังมีอาหารในถุงที่ติดมาสำหรับดำรงชีวิต
ระยะที่ 2 โปรโตซูเอีย (Protozoea) ในระยะที่สองนี้ลูกกุ้งจะมีการพัฒนาการของลำตัวเร็วมาก มีลำตัวยาวขึ้น เห็นส่วนลำตัว และส่วนหัวแยกจากกันชัดเจน ในระยะนี้มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง 3 ขั้นตอน ใช้ระยะประมาณ 4-7 วัน ซึ่งในระยะนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงต้องให้อาหารพวกโรติเฟอร์ และสาหร่าย หรือฝึกให้กินอาร์ทีเมีย ก็ได้
ระยะที่ 3 ไมซีส (Mysis) ลูกกุ้งในระยะนี้จะมีรูปร่างคล้ายลูกกุ้งระยะรุ่น แต่การว่างน้ำยังมีการทีมหัวลง และดีดตัวลง ระยะนี้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปร่าง 3 ขั้นตอน ใช้ระยะประมาณ 5-7 วัน
ระยะที่ 4 โพสลาวา (Post larva) ลูกกุ้งระยะนี้จะมีลักษณะคล้ายลูกกุ้งวัยรุ่น มีการพัฒนาอวัยวะต่างๆครบทุกส่วน จนถึงเข้าสู่ระยะวัยรุ่น ซึ่งในระยะนี้เรียกกันติดปากว่า ”ระยะกุ้ง P” ซึ่งสามารถนำไปเลี้ยงบนบ่ดินได้

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การคำนวณหาปริมาณสุกรขุนที่เลี้ยง

3.จำนวนสุกรขุน
คำนวณได้จาก จำนวนสุกรอย่านม 21941 ตัว/ปี กำหนดให้มีการสูญเสียขณะขุน = 2.00 % ดังนั้นมีการสูญเสียสุกรจำนวน = 439 ตัว/ปี ดังนั้นจะเหลือสุกรขุนมีชีวิต = 21502 ตัว/ปี or 1792 ตัว/เดือน or 413 ตัว/สัปดาห์ หรือคำนวณได้จากแม่เข้าคลอด/สัปดาห์ 421.94 ตัว/สัปดาห์ (เนื่องจากใน 1 ปีมี 52 สัปดาห์ ดังนั้น จะต้องมีแม่เข้าคลอดตลอดประมาณ 421.94 แม่/สัปดาห์) ดังนั้นจำนวนแม่สุกรในฟารฟาร์ม 1000 แม่
สามารถผลิตสุกรขุนจำหน่ายได้ 413 ตัว/สัปดาห์

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ก่อนสัมภาษณ์งาน มาลองทำข้อสอบทวนเบสิกกันดีกว่า

ข้อสอบ Pre-test 1. ข้าวโพด มีพลังงานใช้ประโยชน์ได้ในสุกร และสัตว์ปีก เท่ากับ...............และ.............กิโลแคลอรี่/กิโลกรัม ตามลำดับ มีโปรตีนประมาณ............เปอร์เซ็นต์ 2. มันเส้น (Cassava) มีพลังงานใช้ประโยชน์ได้ในสุกร และสัตว์ปีก............และ........... กิโลแคลอรี่/กิโลกรัม มีโปรตีนประมาณ..........เปอร์เซ็นต์ 3. ใบกระถินป่น (Leucaena leaf meal) ใบกระถินล้วนๆ แห้งป่นมีโปรตีนสูง ประมาณ............เปอร์เซ็นต์ มีเยื่อใยสูง มีสารพิษที่เรียกว่า............ 4. ให้คำนวณสูตรอาหารเบื้องต้นโดยวิธี เพียร์สัน สแควร์ (Pearson square) กำหนดให้เปอร์เซ็นต์โปรตีนในหัวบีส บดแห้ง = 8.6 กำหนดให้เปอร์เซ็นต์โปรตีนในนมโคแห้ง = 34 ต้องการอาหารที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีน = 16
5. ให้คำนวณสูตรอาหารเบื้องต้นโดยวิธี เพียร์สัน สแควร์ (Pearson square) กำหนดให้เปอร์เซ็นต์โปรตีนในเนื้อไก่และกระดูกป่น = 64
กำหนดให้เปอร์เซ็นต์โปรตีนในข้าวโอ๊ต = 11.5 ต้องการอาหารที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีน = 23 6. แม่สุกรตั้งท้องเป็นเวลา............วัน ลูกสุกรหย่านมที่เวลา..........วัน น้ำหนักสุกรหลังอย่านมประมาณ..........กิโลกรัม
7. สุกรขุน (ระยะ 75-100 กิโลกรัม) กินอาหาร..........กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน
8. ไก่ไข่พันธุ์เปลือกสีน้ำตาลอายุ 6 – 12 สัปดาห์ ต้องการโปรตีนที่ร้อยละ.......... พลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ ………. kcal/kg
9. สุกรพ่อพันธ์ต้องการโปรตีนที่ร้อยละ........... พลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ร้อยละ........... kcal/kg
10. ให้เรียงน้ำหนักตัวของแม่ไก่เฉลี่ยจากน้ำหนักสูงสุดไปหาน้อยสุด (Single comb white Leghorn, Rhode Island Red, Bar Plymouth Rock) 1. 2. 3.

การวางแผนการผลิต ฟาร์มสุกร 2

(2) คำนวณหาจำนวนลูกสุกรต่อปี โดยคิดจากจำนวนแม่พันธุ์ในฟาร์ม 1000 แม่ สมมติให้จำนวนครอก/แม่/ปี = 2.31 ครอก จำนวนลูกสุกรหลังหย่านม = 9.5 ตัว แม่พันธุ์ 1000 แม่ ให้ลูก 2.31 สุกร/แม่/ปี = 2310 ครอก/ปี หรือ 192 ครอก/เดือน หรือ 44.41 ครอก/สัปดาห์ (เนื่องจากใน 1 ปีมี 52 สัปดาห์ ดังนั้น จะต้องมีแม่เข้าคลอดตลอดประมาณ 44.41 แม่/สัปดาห์) สุกรหย่านมครอกละ 9.5 ตัว ฉะนั้นได้ลูกสุกร = 21941 ตัว/ปี หรือประมาณ 1828 ตัว/เดือน หรือ ประมาณ 422 ตัว/สัปดาห์ เฉลี่ยแม่สุกร 1 ตัว ในเวลา 1 ปี ให้ลูกสุกรได้ = 21.94ตัว/แม่/ปี หรือคำนวณได้จาก 9.5 ตัว x 2.31 ครอก/แม่/ปี = 21.94 ตัว/แม่/ปี จำนวนลูกสุกรที่คลอดต่อสัปดาห์ = ประมาณ 469 ตัว (คิดจากอัตราการเลี้ยงรอด 90 เปอร์เซ็นต์) จำนวนสุกรหย่านมจากเข้าคลอด 44.41 ครอก = 422 ตัว/สัปดาห์ ถ้าสุกรหย่านม 90 ตัว ต้องมาจากลูกสุกรที่คลอด 100 ตัว ถ้าสุกร 422 ต้องมาจากลูกสุกร = ( 1000 x 422) / 90 = 469 ตัว
ดังน้นจะมีสุกรแรกคลอดในแต่ละสปดาห์ประมาณ 469 ตัว

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การวางแผนการผลิต ฟาร์มสุกร

พอดีเมื่อวันก่อนผมได้อ่านหนังสือการจัดการฟาร์มสุกรเล่มหนึ่ง และพบว่าน่าสนใจ โดยเฉพาะเรื่อง การ คำนวณหาปริมาณสุกรที่ผลิตได้ภายในฟาร์ม โดยคำนวณจากแม่พันธุ์สุกรที่เรามีในฟาร์มได้ ซึ่งเป็นผลดีในแง่การวางแผนก่อนการดำเนินการ เพื่อจะได้เป็นข้อมูลเพิ่มเติม และหาทางแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นล่วงหน้าได้ สำหรับวิธีการคำนวณหาจำนวนครอกต่อแม่ต่อปี โดยก่อนที่เราจะคำนวณในส่วนอื่นๆ เราจะต้องทำการกำหนด จำนวนครอกต่อแม่ต่อปีเสียก่อน เพื่อเป็นพื้นฐานในการคำนวณหา จำนวนสุกรที่หย่านม จำนวนลูกสุกรต่อปีที่ผลิตได้ จำนวนสุกรขุน จำนวนแม่สุกรสาวทดแทน เป็นต้น การคำนวณหาจำนวนครอกต่อแม่ต่อปีนั้นขึ้นอยู่กับผู้เลี้ยงเป็นผู้กำหนด และจะสามารถทำได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับวิธีปฏิบัติในการจัดการฟาร์มและความสามารถของผู้เลี้ยง ในการคำนวณนั้นต้องกำหนดระยะเวลาในการเลี้ยง ตามวงจรชีวิตให้สอดคล้องกันด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลาการหย่านม การผสมพันธุ์ ระยะเวลาการเป็นสัดหลังหย่านม เปอร์เซ็นต์การกลับสัด และผสมติด ระยะเวลาที่เสียไปในการกลับสัด โดยมีวิธีการคำนวณดังนี้
จำนวนครอกต่อแม่ต่อปี
จำนวนแม่สุกร = 1,000 แม่ ระยะตั้งท้อง = 115 วัน ระยะการให้นม = 28 วัน ระยะเป็นสัดหลังหย่านม = 10 วัน ระยะให้ผลผลิตของแม่ 1 วงจร = 153 วัน กำหนดอัตราการผสมติด = 80 % ฉะนั้น ผสมพันธุ์ ครั้งที่ 1 ผสมติด = (1,000 x 80)/100 = 800 แม่ จำนวนวันรวมของการให้ผลผลิต = (80 x 153) = 122,400 วัน แม่สุกรที่เหลือ = 1000 - 800 = 200 แม่ ระยะการตั้งท้อง = 115 วัน ระยะการให้นม = 28 วัน ระยะควรจะเป็นสัดหลังหย่านม = 10 วัน ช่วงเวลาที่รอกลับสัด = 21 วัน รวมวัน ที่ให้ผลผลิตของแม่สุกรชุดที่ 2 = 174 วัน ผสมครั้งที่ 2 จากจำนวนแม่ที่เหลือ (ผสมติด 80 %) = ( 200 x 80 )/100 = 160 แม่ จำนวนวันรวมของการให้ผลผลิต แม่ชุดที่ 2 = 174 x 160 = 27,840 วัน รวมวัน ให้ผลผลิตแม่ชุดที่ 3 (รอเป็นสัดอีก 21 วัน) = 174 x 21 = 195 วัน แม่สุกรที่เหลือ = 40 แม่ ผสมครั้งที่ 3 ของแม่ที่เหลือ ซึ่งควรผสมติด 100 % = 40 x 195 = 7,800 วัน ดังนั้น เฉลี่ยวันแม่สุกร 1 วงจร = รวมวันแม่สุกร/จำนวนแม่สุกร 158 วัน ฉะนั้น จำนวนครอกต่อปีจึงได้เท่ากับ = 365 x 158 = 2.31 ครอก/ปี

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การประกอบสูตรอาหารมีปัจจัยหลายอย่าง

ไม่นานมานี้ผมมีโอกาสได้เว็ปไซด์หนึ่งเกี่ยวกับการฟาร์มและการประกอบสูตรอาหาร ซึ่งคิดว่ามีประโยชน์ จึงนำมาลงเว็ป และคิดว่าน่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้สนใจ ครับ
ปกติแล้วสัตว์ทุกชนิดจำเป็นต้องได้รับอาหารเพื่อดำรงชีวิตและเพื่อการเจริญเติบโตที่เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นโภชนะจากวัตถุดิบอาหารที่สัตว์ได้รับจึงมีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งต้องมีระดับ และสัดส่วนของโภชนะที่สมดุลกัน เพียงพอกับกับความต้องการของสัตว์แต่ละสายพันธุ์ และแต่ละช่วงอายุ ซึ่งในทางปฏิบัติจะต้องให้ความสำคัญอย่างมากในการประกอบสูตรอาหารสำหรับสัตว์ และวัตถุดิบอาหารสัตว์ ที่นำมาเป็นส่วนผสมอาหารสัตว์ในปริมาณมากก็คือ ข้าวโพด (Mize) ข้าวสาลี (Wheat) และกากถั่วเหลือง (soybean meal) ถ้าเราใช้วัตถุดิบเหล่านี้ผสมอาหารสำหรับสัตว์เพียงชนิดเดียว จะพบว่าปริมาณโภชนะที่สัตว์ได้รับจะไม่เพียงพอ และขาดความสมดุลของกรดอะมิโน เนื่องจากขาดกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น แต่ในกรณีนี้เราสามารถหันมาใช้วัตถุดิบตามฤดูกาลได้ และวัตถุดิบแต่ละท้องถิ่นที่มีทดแทนการขาดวัตถุดิบเหล่านั้นได้ ในปัจจุบันการพัฒนาการเลี้ยงสัตว์เป็นไปในรูปแบบของฟาร์มที่ทันสมัยกันมากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาช่วยในการจัดการกันมากขึ้น มีการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พัฒนาให้เหมาะสมกันมากขึ้น และมีการเรียนรู้เข้าใจความต้องการโภชนะของสัตว์อย่างถ่องแท้กันมากขึ้น เจาะลึกถึงปริมาณโภชนะที่ใช้เพียงเล็กน้อยกันเลยที่เดียว จึงสามารถคำนวณ และประกอบสูตรอาหารสำหรับสัตว์ได้ตรงกับความต้องการของสัตว์ และสามารถตรวจสอบความถูกต้องแม่นยำ ตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การประกอบสูตรอาหารสัตว์ต้องทราบถึงปริมาณสารพิษที่มีอยู่ในวัตถุดิบอาหารสัตว์ด้วยซึ่งจะมีผลไปยังยั้งการใช้ประโยชน์ของโภชนะ เช่น ทรีปซีนอินฮิบิเตอร์ (Trypsin inhibitor) ที่พบในกากถั่วเหลืองในกรณีที่มีถั่วเหลืองสุกๆดิบๆ กรดไฮโดรไซยานิก (Cyanic acid) ในมันสำปะหลัง และแม้แต่ค่าการย่อยได้ของโภชนะของวัตถุดิบอาหารสัตว์ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน นอกจากนี้สารเสริมที่เติมลงในสูตรอาหารก็ต้องใส่ใจด้วย ซึ่งต้องไม่มีผลต่อการกินได้ หรือขัดขวางการนำโภชนะไปใช้ประโยชน์ ซึ่งประเด็นสำคัญที่กล่าวมาทั้งหมดนี้มีผลต่อสุขภาพของสัตว์ด้วย และนอกจากนี้การเลี้ยงสัตว์โดยอาศัยหลักการแบบ Animal welfare ก็จะนำมาซึ่งสัตว์อยู่ได้อย่างสบายไม่ถูกบังคืบ และส่งผลดีต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต และคุณภาพซากที่ดีด้วย

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การคำนวณสูตรอาหารเพื่อลดต้นทุน

ปัจจุบันประเทศไทยมีการเลี้ยงสุกรเป็นอาชีพกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีปริมาณการเลี้ยงที่มากน้อยต่างกัน มีตั้งแต่การเลี้ยงบริเวณหลังบ้าน 2-10 ตัว การเลี้ยงเป็นฟาร์มขนาดเล็ก 100-500 แม่ ฟาร์มขนาดกลาง 500-1500 แม่ และฟาร์มขนาดใหญ่ 1500 แม่ขึ้นไป ช่วงเศรษฐกิจที่ผ่านมาหลายๆ ฟาร์มได้รับผลกระทบกันอย่างมากเนื่องจากราคาของวัตถุดิบอาหารสัตว์มีราคาสูงขึ้น ตามสภาวะการผันผวนของตลาดโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง แต่หลายๆฟาร์มก็สามารถยืนหยัดและสามารถฟันฝ่าวิกฤตกันมาได้ ซึ่งการจะทำธุรกิจทุกอย่าง แม้แต่การทำฟาร์มสุกร ให้สามารถดำเนินกิจการไปได้นั้น ต้องได้มาซึ่งกำไร และในการทางธุรกิจมีเส้นทางมากมาย การเพิ่มราคาสินค้า การเพิ่มกำลังการผลิต การโฆษณาสินค้า การลดต้นทุนการผลิต เป็นต้น และการทำฟาร์มสุกร กลยุทธ์การลดต้นทุนในการผลิตให้ต่ำที่สุด โดยยังมีผลผลิตที่เท่าเดิม หรือใกล้เคียงกับปริมาณผลผลิตเดิมจึงมีการนำมาใช้ในฟาร์มสุกร โดยหลายๆฟาร์มจากที่เคยใช้อาหารเม็ดที่สั่งซื้อจากโรงงาน ก็หันมาผสมอาหารใช้เองภายในฟาร์ม ซึ่งอาหารที่ใช้เลี้ยงสุกรเมื่อพิจารณาแล้วเป็นต้นทุนในการผลิตคิดเป็นสัดส่วนถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่วนต่างที่ลดลงไปได้คือกำไรนั้นเอง ในการลดต้นทุนโดยหันมาผสมอาหารใช้ในฟาร์มเอง มีขั้นตอนและรายละเอียดหลายอย่าง และต้องอาศัยความรู้และความเชี่ยวชาญในการทำสูตรอาหารด้วย จึงจะได้ผลผลิตของฟาร์มเท่าเดิมหรือ ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
สำหรับหลักการในการคำนวณสูตรอาหาร คือ 1. ต้องทราบความต้องการทางโภชนะของสุกรแต่ละระยะ ว่ามีความต้องการเท่าไร เช่น แม่สุกรอุ้มท้อง มีความต้องการโภชนะที่ใช้ประโยชน์ได้ 2950-3150 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมอาหาร, โปรตีนที่ร้อยละ 14-16, ไขมันร้อยละ 3-6, เยื่อใยร้อยละ 4.8-5.5, แคลเซี่ยมร้อยละ 0.9-1.0, ฟอสฟอรัสร้อยละ 0.8-0.9 เป็นต้น 2.เมื่อพิจารณาคำนวณสูตรได้ตรงตามความต้องการหรือใกล้เคียงกับความต้องการแล้ว ให้พิจารณา สัดส่วนกรดอะมิโนเมื่อเทียบกับกรดอะมิโนไลซีน หรือที่เราเรียกว่า ไอเดียลโปรตีน (Ideal Protein) เช่น เมทไธโอนีนต่อไลซีนควรมีสัดส่วนอยู่ที่ 33:100 ถึง 39:100, เมทไธโอนีนรวมซีสตีนต่อไลซีนควรมีสัดส่วนอยู่ที่ 60:100 ถึง 64:100 เป็นต้น 3. ในการคำนวณสูตรอาหารต้องคำนึงถึงความน่ากินของสูตรอาหารด้วย วัตถุดิบที่ต้องมีความน่ากัน 4. วัตถุดิบที่ใช้ต้องสดใหม่ไม่เหม็นหืน 5. อาหารที่ผสมแล้วต้องมีความฟ่ามน้อย เนื่องจากอาหารที่มีความฟาร์มสูงเช่นมันสำปะหลังบด เมื่อนำไปเลี้ยงสุกรโอกาสที่จะเกิดความสูญเสียก็เพิ่มขึ้น 6. การนำวัตถุดิบแต่ละชนิดมาผสมอาหารสัตว์จะมีข้อจำกัดในการใช้ จะต้องมีการศึกษาข้อจำกัดในการใช้ ปริมาณที่ใช้ในสูตรให้ทราบ 7. ที่สำคัญการนำวัตถุดิบแต่ละชนิดมาใช้ต้องทราบชนิดของสารพิษ และปริมาณที่เป็นอัตรายต่อสุกรด้วย ซึ่งก่อนนำมาใช้ต้องลดระดับสารพิษเพื่อไม่ให้เป็นอัตรายต่อสุกรได้
การผสมอาหารใช้เองภาพในฟาร์มมีความสำคัญมากไม่แพ้ การจัดการฟาร์ม หรือพันธุ์สัตว์ ทั้งนี้ พี่ ๆ น้องๆ ท่านใดมีข้อสงสัย หรือ คำแนะนำติชมเพิ่มเติม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจ และผู้ที่ทำอาชีพการเลี้ยงสุกร หรือ ฟาร์มสุกร ครับผม

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การพัฒนาอุสาหกรรมไก่ไข่พัฒนาเร็วมาก

เมื่อไม่นานมานี้ผมได้มีโอกาศรับฟังการจักการฟาร์มไก่ไข่แบบมาตรฐาน จาก Dr. Pornsak Hirunpatawong จากบริษัท Hendrix genetics company ซึ่งผลิตสายพันธุ์ไก่ไข่ส่งฟาร์มไก่ไข่ เกือบทั้วโลกครับผม ผมได้ฟังบรรยายการจัดการในฟาร์ม แล้วเป็นประโยชน์มากๆครับ อยากให้พี่ๆ เพื่อน ๆที่อยู่ในวงการไก่ไข่ได้มาฟังมากๆ ครับ ซึ่งข้อมูลการจัดการที่ดอกเตอร์ พรศักดิ์ นำเสนอออกมา มันเป็นเทคนิกเรล็กๆ น้อย ๆ ที่เรา สัตวบาลประจำฟาร์ม มองข้ามไปครับ ไม่ว่าจะเป็นช่วงการให้อาหาร การให้ความสำคัญกับน้ำหนักไก่ ในช่วง 34 วัน ควรให้ได้น้ำหนักชั้นต่ำ 360 กรัม ซึ่งจะมีผลสัมพันธ์กันกับปริมารการให้ไข่ หรือ HD production สูงมาก สัมพันธุกับขนาดฟองไข่ ที่สมำเสมอ อัตราการตายที่ลดลง และเพิ่ม เปอร์เซ็นต์ HH production ซึ่งถ้าโครงสร้างของแม่ไก่ที่ระยะ 34 วันไม่ได้น้ำหนัก 360 กรัมต่อตัว จะมีผลต่อผลผลิตที่ได้สูงมาก ซึ่งแต่ก่อนเราให้ความสำคัญกับแม่ไก้ที่ช่วงอายุ 10 สัปดาห์ ซึ่งเรามาพบว่า ที่ระยะ 10 สัปดาห์มันช้าไปแล้วที่เราจะแก้ไข และพัฒนาการเพิ่มผลผลิตไข่ให้แม่ไก่ไข่ได้เต็มประสิทธิภาพตามพันธุกรรมที่ควรเป็น ซึ่งทาง ISA brown สามารถผลิตแม่ไก่ที่สมารถให้ไข่ได้ถึง 315.5 ฟองต่อปีครับผม นอกจากนี้การให้แสงก็สำคัญมากๆๆครับ ช่วงแสงที่ให้มีผลกระทบกับการให้ไข่มากๆครับ ซึ่งมันจะไปสัมพันธ์กับฤดูการที่แม่ไก่ผลัดขนตามธรรมชาติ ทำให้แม่ไก่หยุดไข่ ซึ่งการให้ช่วงแสงต้องเข้มงวดอย่างมาก ครับ ถ้า 100% ได้จะมีผลต่อผลิตสูงมากๆๆครับ พี่ๆ เพื่อน ท่านใดมีความเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันได้ครับผม

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

FEED ADDITIVE 2

Now pig production industry has the growth increases quickly, and has universal standard. There is technology new lead to use in the procedure produces, such as, the Technology of the feeds, and species adaptation. By emphasize have production topmost efficiency, on the base of having low cost production most. In the procedure produces the feed, there is using feed additive prevent more and more. But, feed additive some that has ever to use in the produces animal. Be remaining in animal products, and bad to a consumer. Pig farm has using feed additive kind a substance is sweet, for enhance the smack, enhances the smell, color substance, mineral, vitamin very mach. But, do not know certain that, which products good and a company in give a result using pleasingly. I then take the opportunity this write to block this go up for everyone in animal industry. Help me criticize and guide good products for animal industry (swine, poultry and dairy industry) for advantage in animal production and everybody can exchange the opinion has with full speed ahead.

FEED ADDITIVE

ปัจจุบันอุสาหกรรมการผลิตสุกรมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นมาตรฐานสากล มีการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในกระบวนการผลิต เช่น เทคโนโลยีทางด้านอาหารสัตว์ การจัดการ และการปรับปรุงสายพันธุ์ โดยมุ่งเน้นให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตสูงสุด บนพื้นฐานของการมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำที่สุด ในกระบวนการผลิตอาหารสัตว์ การนำสารเสริม (feed additive) มาใช้ในกระบวนการผลิตเริ่มมีแพร่หลายกันมากขึ้นในเมืองไทย แต่สารเสริมบางชนิดที่เคยใช้ในวงการผลิตสัตว์ของไทย (อุตสาหกรรมการผลิตสุกร) มีผลทำให้ตกค้างในผลิตภัณฑ์สัตว์ได้ และเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เช่น สารในกลุ่มเบต้า-อโกนิสต์ (B-agonist) เพื่อปรับปรุงคุณภาพซากสุกรในระยะรุ่น-ขุน และนอกจากนี้ ฟาร์มสุกรในอุตสาหกรรมการผลิตของไทยมีการใช้ สารเสริมจำพวก สารหวาน เพื่อเพิ่มรสชาติ สารเพิ่มกลิ่น สารสี แร่ธาตุ วิตามิน สารพรีไบโอติก โปรไบโอติก กันมาก แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่า ผลิตภัณฑ์ ตัวไหนดี ของบริษัทในให้ผลการใช้เป็นที่น่าพอใจ ผมจึงถือโอกาสนี้ เขียน บล็อกนี้ขึ้นให้ทุกท่านที่อยู่ในวงการการผลิตสัตว์ ช่วยให้ความเห็น และเสนอแนะผลิตภัณฑ์ที่ดี ในการผลิตสัตว์ (ทั้งที่ใช้ในสุกร ไก่เนื้อ ไก่ไข่ และ โคนม) เพื่อเป็นประโยชน์ในการผลิตสัตว์ของไทย และ สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ครับ สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้เต็มที่ครับ

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DOGS SHOW AT IM PACT ARINA

เมื่อวันที่ 24 ถึง 26 มิถุนายน 2552 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปชมงาน Dogs show 2009 ที่ อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี ซึ่งงานเขาจัดได้ประทับใจผมมากครับ มีการออกบู๊ท เกี่ยวกับอาหารสุนัข ผลิตภัณฑ์สำหรับสุนัข กันมากมาย มีการแสดงโชว์ความสามารถของสุนัข ตัวน้อยๆ และที่ประทับใจผม คือ การแสดงการฝึกสุนัขดมกลิ่นเพื่อหาวัตถุระเบิดครับ ผมชอบมากอะ เพราะมันไม่ใช่สุนัขที่มาจากต่างประเทศ แต่เป็นสุนัขที่มาจากของไทยเองครับ ผม ประทับใจมากๆ เพื่อนๆ คนไหนที่ไปชมงานนี้บ้าง ประทับใจอะไร เล่าสู่กันฟังได้นะครับ และเปลี่ยนความรู้กันได้เต็มที่

Sponser

News in Thailand

.