You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การคำนวณสูตรอาหารเพื่อลดต้นทุน

ปัจจุบันประเทศไทยมีการเลี้ยงสุกรเป็นอาชีพกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีปริมาณการเลี้ยงที่มากน้อยต่างกัน มีตั้งแต่การเลี้ยงบริเวณหลังบ้าน 2-10 ตัว การเลี้ยงเป็นฟาร์มขนาดเล็ก 100-500 แม่ ฟาร์มขนาดกลาง 500-1500 แม่ และฟาร์มขนาดใหญ่ 1500 แม่ขึ้นไป ช่วงเศรษฐกิจที่ผ่านมาหลายๆ ฟาร์มได้รับผลกระทบกันอย่างมากเนื่องจากราคาของวัตถุดิบอาหารสัตว์มีราคาสูงขึ้น ตามสภาวะการผันผวนของตลาดโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง แต่หลายๆฟาร์มก็สามารถยืนหยัดและสามารถฟันฝ่าวิกฤตกันมาได้ ซึ่งการจะทำธุรกิจทุกอย่าง แม้แต่การทำฟาร์มสุกร ให้สามารถดำเนินกิจการไปได้นั้น ต้องได้มาซึ่งกำไร และในการทางธุรกิจมีเส้นทางมากมาย การเพิ่มราคาสินค้า การเพิ่มกำลังการผลิต การโฆษณาสินค้า การลดต้นทุนการผลิต เป็นต้น และการทำฟาร์มสุกร กลยุทธ์การลดต้นทุนในการผลิตให้ต่ำที่สุด โดยยังมีผลผลิตที่เท่าเดิม หรือใกล้เคียงกับปริมาณผลผลิตเดิมจึงมีการนำมาใช้ในฟาร์มสุกร โดยหลายๆฟาร์มจากที่เคยใช้อาหารเม็ดที่สั่งซื้อจากโรงงาน ก็หันมาผสมอาหารใช้เองภายในฟาร์ม ซึ่งอาหารที่ใช้เลี้ยงสุกรเมื่อพิจารณาแล้วเป็นต้นทุนในการผลิตคิดเป็นสัดส่วนถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่วนต่างที่ลดลงไปได้คือกำไรนั้นเอง ในการลดต้นทุนโดยหันมาผสมอาหารใช้ในฟาร์มเอง มีขั้นตอนและรายละเอียดหลายอย่าง และต้องอาศัยความรู้และความเชี่ยวชาญในการทำสูตรอาหารด้วย จึงจะได้ผลผลิตของฟาร์มเท่าเดิมหรือ ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
สำหรับหลักการในการคำนวณสูตรอาหาร คือ 1. ต้องทราบความต้องการทางโภชนะของสุกรแต่ละระยะ ว่ามีความต้องการเท่าไร เช่น แม่สุกรอุ้มท้อง มีความต้องการโภชนะที่ใช้ประโยชน์ได้ 2950-3150 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมอาหาร, โปรตีนที่ร้อยละ 14-16, ไขมันร้อยละ 3-6, เยื่อใยร้อยละ 4.8-5.5, แคลเซี่ยมร้อยละ 0.9-1.0, ฟอสฟอรัสร้อยละ 0.8-0.9 เป็นต้น 2.เมื่อพิจารณาคำนวณสูตรได้ตรงตามความต้องการหรือใกล้เคียงกับความต้องการแล้ว ให้พิจารณา สัดส่วนกรดอะมิโนเมื่อเทียบกับกรดอะมิโนไลซีน หรือที่เราเรียกว่า ไอเดียลโปรตีน (Ideal Protein) เช่น เมทไธโอนีนต่อไลซีนควรมีสัดส่วนอยู่ที่ 33:100 ถึง 39:100, เมทไธโอนีนรวมซีสตีนต่อไลซีนควรมีสัดส่วนอยู่ที่ 60:100 ถึง 64:100 เป็นต้น 3. ในการคำนวณสูตรอาหารต้องคำนึงถึงความน่ากินของสูตรอาหารด้วย วัตถุดิบที่ต้องมีความน่ากัน 4. วัตถุดิบที่ใช้ต้องสดใหม่ไม่เหม็นหืน 5. อาหารที่ผสมแล้วต้องมีความฟ่ามน้อย เนื่องจากอาหารที่มีความฟาร์มสูงเช่นมันสำปะหลังบด เมื่อนำไปเลี้ยงสุกรโอกาสที่จะเกิดความสูญเสียก็เพิ่มขึ้น 6. การนำวัตถุดิบแต่ละชนิดมาผสมอาหารสัตว์จะมีข้อจำกัดในการใช้ จะต้องมีการศึกษาข้อจำกัดในการใช้ ปริมาณที่ใช้ในสูตรให้ทราบ 7. ที่สำคัญการนำวัตถุดิบแต่ละชนิดมาใช้ต้องทราบชนิดของสารพิษ และปริมาณที่เป็นอัตรายต่อสุกรด้วย ซึ่งก่อนนำมาใช้ต้องลดระดับสารพิษเพื่อไม่ให้เป็นอัตรายต่อสุกรได้
การผสมอาหารใช้เองภาพในฟาร์มมีความสำคัญมากไม่แพ้ การจัดการฟาร์ม หรือพันธุ์สัตว์ ทั้งนี้ พี่ ๆ น้องๆ ท่านใดมีข้อสงสัย หรือ คำแนะนำติชมเพิ่มเติม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจ และผู้ที่ทำอาชีพการเลี้ยงสุกร หรือ ฟาร์มสุกร ครับผม

2 ความคิดเห็น:

Sponser

News in Thailand

.