วิตามินบีสิบสองในอาหารส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของโคเอนไซม์ที่จับอยู่กับโปรตีน ซึ่งจะถูกสลายได้บ้างในขณะประกอบอาหาร และโดยความเป็นกรดหรือเอนไซม์ pepsin ในกระเพาะอาหารจะสลายให้ได้วิตามินบีสิบสองเสรีออกมา ในผู้ที่ไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร หรือถูกตัดกระเพาะอาหารบางส่วนออกไป จะทำให้วิตามินบีสิบสองไม่แยกออกมา และทำให้การดูดซึมช้าลง อย่างไรก็ตามโคบาลามินก็อาจถูกปล่อยออกมาได้เมื่ออยู่ในลำไส้โดยอาศัยเอนไซม์ protase จากตับอ่อน การดูดซึมวิตามินบีสิบสองเป็นการดูดซึมที่ต่างจากสารอาหารชนิดอื่นๆ เนื่องจากต้องมีปัจจัยหลายชนิดเข้ามาเกี่ยวข้อง
วิตามินบีสิบสองเสรีที่ได้ออกมาในกระเพาะอาหารในครั้งแรกนี้จะสัมผัสกับ intrinsic factor (IF) ซึ่งเป็น glycoprotein ชนิดหนึ่งหลั่งจาก parietal cell ของกระเพาะอาหาร และ R-protein ซึ่งหลั่งจากต่อมน้ำลายและกระเพาะอาหาร ที่ในกระเพาะอาหารวิตามินบีสิบสองเสรีจะจับกับ R-protein ได้อย่างรวดเร็วกว่า IF เป็น R-protein-B12 complex (รูปที่ 2) การที่วิตามินนี้จับกับ R-protein ก็เพื่อป้องกันไม่ให้แบคทีเรียในลำไส้นำวิตามินบีสิบสองนี้ไปใช้ได้ R-protein-B12 complex ดังกล่าวนี้จะผ่านต่อไปยังลำไส้เล็กส่วนต้นแล้ว R-protein จะถูกแยกออกจากวิตามินบีสิบสองโดยเอนไซม์ trypsin จากตับอ่อน ในรายที่ตับอ่อนทำหน้าที่บกพร่องอาจทำให้ขาดวิตามินบีสิบสองได้ วิตามินบีสิบสองที่ถูกปล่อยออกมาในครั้งที่สองนี้จะจับกับ IF ที่ตามลงมาจากกระเพาะอาหารเป็น IF-B12 complex ที่มี B12 จับอยู่กับ IF-2 อณู การที่ B12 ไม่รวมกับ IF ตั้งแต่อยู่ในกระเพาะอาหารนั้น เป็นเพราะวิตามินบีสิบสองมีความสัมพรรคต่อ R-protein มากกว่า IF และอาศัยความเป็นด่างในลำไส้ (พีเอ็ชประมาณ 6.8) IF จะมีความสัมพรรคกับวิตามินบีสิบสองมาก จึงรวมกันเป็น IF-B12 complex แล้วผ่านต่อไปยังบริเวณ ileum โดยมี Ca++ จับไปด้วยกัน จากนั้นก็จะส่ง IF-B12 complex นี้ให้กับ receptor ของเซลล์ที่ผนังลำไส้ เมื่อ IF-B12 complex นี้ผ่านเข้าสู่เซลล์แล้ว B12 จะไปจับกับ transcobalamin II (TCII) ซึ่งสังเคราะห์ที่ผนังลำไส้และเป็นโปรตีนที่มีมากที่สุด และมีความสำคัญในการขนวิตามินบีสิบสองเข้าสู่กระแสเลือด TCII นี้เป็นโปรตีนที่มีความสามารถในการจับกับบีสิบสอง และการขนส่งคล้ายๆ IF เมื่อ TCII จับกับ B12 เป็น TCII-B12 complex แล้วก็จะผ่านเข้าสู่ portal venous blood ไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ที่ต้องการ สำหรับการดูดซึมวิตามินนี้เป็นไปโดย passive diffusion ผ่าน IF-mediated mechanism ซึ่งเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมาก สามารถดูดซึมได้แม้จะมีปริมาณของวิตามินบีสิบสองนี้เพียง 1-3 ไมโครกรัมก็ตาม ถ้าปริมาณของวิตามินนี้สูงๆ เช่น ได้รับเข้าไปมากกว่า 500 ไมโครกรัมต่อวัน การดูดซึมจะไม่ต้องมีการใช้พาหะเป็นตัวพาไปเหมือนข้างต้น แต่วิธีการแบบหลังนี้สู่วิธีแรกไม่ได้ เพราะจะมีการดูดซึมได้น้อยกว่า
ในเลือดนอกจาก TCII แล้วยังมีโปรตีนอีก 2 ชนิด ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งวิตามินบีสิบสอง คือ transcobalamin I และ III (TCI และ TCIII) ที่สังเคราะห์ได้มาจาก granulocyte white blood cells และเป็น a-globulin ที่รู้จักกันในชื่อของ “R-binder component” สามารถรวมกับวิตามินบีสิบสอง และสารอื่นๆที่เป็นอนุพันธ์ของวิตามินบีสิบสองได้อีกด้วย ประมาณ 95 % ของวิตามินบีสิบสองที่จับกับ TCII จะผ่าน portal vein ไป ที่เหลืออีก 5 % ผ่านไปทางท่อน้ำเหลือง ภายหลังการดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดแล้ว บีสิบสองก็จะเปลี่ยนไปจับกับ TC-I และหลังจากนั้นไปประมาณ 24 ชั่วโมง จะพบปริมาณของวิตามินบีสิบสองจับอยู่กับ TC-II ในปริมาณที่น้อยมาก half life ของ TC-II และ TC-I ที่จับอยู่ B12 เท่ากับ 1.5 ชั่วโมง และ 9-10 วัน ตามลำดับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น