กรดแพนโตเธนิคมีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติและไม่เหมือนกับวิตามินบี ชนิดอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ แต่กรดแพนโตเธนิคเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในอณูของ coenzyme-A (CoA หรือ CoASH) วิตามินี้ได้มีการศึกษาและรู้จักกันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 โดย William และคณะได้สกัดแยกออกมาได้จากตับและตั้งชื่อว่า pantothenic acid ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า “pantos” แปลว่า everywhere ต่อมาในปี ค.ศ. 1947 สามารถแยกได้บริสุทธิ์เป็นผลึก รู้สูตรโครงสร้างสังเคราะห์ได้และรู้ถึงหน้าที่ต่าง ๆ ของวิตามินนี้
สูตรเคมีและคุณสมบัติ
ในอณูของกรดแพนโตเธนิคประกอบด้วย pantoic acid จับอยู่กับ b-alaine ด้วย peptide bond ในธรรมชาติของคนหรือสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมจะไม่มีเอนไซม์ที่ใช้สลาย bond ระหว่าง b-alanine กับ pantoic acid ได้ วิตามินนี้มีชื่อทางเคมีว่า (+) a , d - dihydroxy -b-b-dimethylbutyryl-b-alanine (น.น. อณู 219) มีลักษณะเป็นน้ำข้นสีเหลืองอ่อน เสียง่ายเมื่อถูกความร้อนกรดหรือด่างจะสลายได้ pantoic acid กับ alanine สภาพโดยทั่วไป
ตามธรรมชาติจะอยู่ในรูปของ D-isomer และจะมีคุณสมบัติเป็นวิตามินได้จะต้องเป็น dextrorotatory form เท่านั้น กรดแพนโตเธนิคที่อยู่ในสภาพแอลกอฮอล์เรียก “pantothenol” ซึ่งจะถูกดูดซึมได้ง่ายกว่าสภาพเป็นกรด เมื่องถูกดูดซึมแล้วจะเปลี่ยนเป็นกรดแพนโตเธนิคอย่างรวดเร็วในร่างกาย ละลายได้ดีในน้ำแต่ไม่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น เบนซิน หรือ คลอโรฟอร์ม โดยปกติจะรวมกับแคลเซียมหรือโซเดียมเป็น calcium หรือ sodium pantothenate เป็นผลึกสีขาวละลายน้ำได้ดี คือประมาณ 2 กรัม ในน้ำ 2.8 ลิตร
Coenayme A ประกอบด้วย pantothenic acid, b-mercapto ethylamine และ adenosinediphosphate sulphydryl group ของกรดอะมิโน cysteine ที่อยู่ปลายข้างหนึ่งของ Coenzyme A จะเป็น active part ที่ทำหน้าที่ในปฏิกิริยาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นเป็น acyl carrier protein (ACP) ในการสังเคราะห์กรดไขมันขบวนการในการสังเคราะห์กรดแพนโตเธนิค ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าพวกจุลินทรีย์ในร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินนี้ได้โดยการรวม b-alanine เข้ากับ dihydroxybutyric acid ก็จะได้วิตามินชนิดนี้ ซึ่งพบได้ในพวกสัตว์เคี้ยวเอื้องทั้งหลาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น