You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552

การแก้ปัญหาไก่สุมกัน (Smothering, Pilling)

ในการเลี้ยงไก่บางครั้งอาจเกิดการสุมกันของไก่ โดยเฉพาะในไก่ไข่สีน้ำตาล เมื่อมีการสุมกัน และไม่ได้มีการดูแลอย่างถูกต้องจะพบอัตราการตายเกิดขึ้นเนื่องจากไก่ขาดอากาศหายใจหรือไก่ร้อนตาย สาเหตุหลักที่เป็นคำอธิบายได้อย่างกว้างๆ คือฝูงไก่เกิดความเครียด และมีการสุมกัน เราพบว่าหากมีปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดเพิ่มขึ้นจะพบการสุมกันและอัตราตายจะสูงขึ้นเช่นกัน การสุมกันที่พบ สามารถสังเกตลักษณะได้คือ บางครั้งไม่สามารถคาดเดาได้ว่า จะเกิดซ้ำอีกหรือไม่ เกิดเป็นหลายๆจุดในโรงเรือน ไก่ตายเป็นไก่ที่ปกติ หากเกิดในช่วงไก่รุ่น (Pullet) มักจะพบมากในช่วงอายุ 6-12 สัปดาห์ สามารถพบปัญหานี้ได้ในช่วงการผลิตไข่ได้เช่นกัน การแก้ปัญหา ควรวิเคราะห์ว่าเป็นปัญหาแบบใดก่อนคือ

1. เกิดซ้ำในช่วงเวลา หรือสถานที่ใดๆในโรงเรือน

2. ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน การเกิดที่มีรูปแบบแน่นอน มักจะเกิดในบริเวณใดบริเวณหนึ่งของโรงเรือนหรือกระจายทั่วไป แต่มีสถานที่ที่แน่นอน หรือเกิดในเวลาใดเวลาหนึ่งเป็นเวลาที่แน่นอน ซึ่งสาเหตุเกิดจากปัจจัยต่างๆดังนี้คือ

1. มีแสงสว่างลอดเข้ามาในโรงเรือนไก่ หรือความเข้มของแสงในโรงเรือนไม่สม่ำเสมอทำให้บางจุดมีความเข้มแสงสูง หรือต่ำเกินไป

2. อุณหภูมิในโรงเรือน การที่อุณหภูมิภายในโรงเรือนไม่สม่ำเสมอ บางจุดเย็น บางจุดร้อน ก่อให้เกิดความเครียดและเกิดการสุมกันโดยทั่วไปไก่จะอยู่รวมกันในจุดที่สบายที่สุดของห้อง

3. การหมุนเวียนของอากาศ หากมีลมโกรกไก่จะหลบไปอยู่ที่ที่เหมาะสมของตัวไก่หรือจะกระจุกกันอยู่ในบริเวณใด บริเวณหนึ่งเช่นบริเวณตาข่ายกั้นห้อง หรือมุมห้อง

4. เสียงรบกวน จะทำให้ไก่ตกใจ และวิ่งไปสุมกัน

5. ปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดความเครียด เช่นมีหนูเข้าไปรบกวนไก่ในเล้าบางครั้งพบว่าหนูตัวใหญ่จะเข้าไปกัดไก่ได้ หากเราค่อยๆสังเกตปัจจัยต่างๆก็พอที่จะขจัดปัญหาเหล่านั้นออกไปเป็นข้อๆแต่ส่วนใหญ่การเกิดปัญหามักจะเกิดจากปัจจัยหลายประการส่งผลพร้อมๆกัน ดังนั้นการลดปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อปัญหานี้เช่นพบจุดที่แสงลอดเข้ามาในโรงเรือน และปิดให้สนิท การเปิดหลอดไฟให้สว่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ การสังเกตตรวจวัดอุณหภูมิภายในเล้าไก่และปรับลดมุมอับของการหมุนเวียนถ่ายเทอากาศเพื่อให้อุณหภูมิภายในโรงเรือนสม่ำเสมอ และลดการเกิดลมโกรกในบางตำแหน่งของโรงเรือนจะช่วยลดปัญหานี้ลง แต่บางครั้งก็ยังพบปัญหาอยู่ การจัดการบางอย่างดังต่อไปนี้สามารถช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้คือ

1. ในโรงเรือนที่สามารถควบคุมแสงสว่างได้ หรือแม้แต่ในโรงเรือนเปิดก็ตาม ในช่วงค่ำไก่ไข่สีน้ำตาลมักจะมานอนรวมกลุ่มกันบางครั้งอยู่กลางโรงเรือน บางครั้งอยู่ข้างเล้าขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และมีลมโกรกหรือไม่ เราสามารถแก้ปัญหาโดยการให้คนงานเข้าไปกระจายไก่ให้นอนไม่ให้สุมกัน โดยเริ่มทำตั้งแต่ไก่ยังอายุน้อยอยู่ โดยปกติการช่วยกระจายไก่อย่างต่อเนื่อง 3-7 วัน ก็จะสามารถจัดระเบียบของการกระจายตัวได้ทั่วเล้าอย่างทั่วถึง และจะเป็นอย่างนี้ตลอดไปจนปลดเนื่องจากไก่จะมีการจัดสังคมกันเองโดยขึ้นกับความแข็งแรงของไก่แต่ละตัว หลักการนี้ใช้ได้เช่นกันหากเราพบว่ามีการสุมกัน ณ เวลาใดเวลาหนึ่งของวันเสมอๆ เราสามารถให้คนงานเข้าไปไล่ไก่ไม่ให้สุมกันในช่วงเวลานั้นๆ หรือเปลี่ยนเวลาให้อาหารเพื่อปรับเวลาการกินอาหารเพื่อให้ไก่มีการเปลี่ยนที่และไม่ให้เกิดการสุมกันขึ้น

2. เราพบว่าโรงเรือนเลี้ยงบางแห่งเมื่อลดขนาดของห้องที่เลี้ยงลงช่วยลดปัญหาที่เกิดการทับกันตายได้ การลดขนาดของห้องที่เลี้ยงไก่ลงมีข้อเสียคีอ จะเพิ่มมุมอับที่อาจจะทำให้จำนวนไข่เพิ่มขึ้นเช่นกัน

3. ความเข้มของแสงที่สูงเกินไปจะทำให้ไก่ตื่นตกใจง่าย การลดความเข้มของแสงลงโดยเฉพาะในช่วงไก่รุ่นเป็นผลดีอย่างมากที่จะช่วยลดปัญหานี้ และยังเป็นผลดีในการกระตุ้นไก่ให้วางไข่พร้อมกัน และมีผลผลิตที่สูงตามมาตราฐานของพันธุ์ เราแนะนำในโรงเรือนที่คุมแสงได้ ควรลดแสงลงที่ 1-2 lux ในช่วงให้แสงของไก่รุ่น

4. หากบางครั้งจำเป็นต้องลดความหนาแน่นของการเลี้ยงลงเพื่อแก้ปัญหานี้

5. ตามบริเวณมุมอับ และริมฝากำแพงหากจำเป็นสามารถวางขดลวดที่มีกระแสไฟฟ้าไว้เพี่อไม่ให้ไก่ไปนอนสุมกันในบริเวณนั้น โดยใช้ลวดที่ใช้ขึงกันไก่เกาะเหนือรางน้ำนำมาวางในบริเวณนี้ ตัวอย่างการวางลวดอย่างง่ายๆโดยขดลวดนี้อยู่ในถาดไข่พลาสติกและนำไปวางที่มีการสุมกันของไก่ วิธีนี้ยังช่วยลดปัญหาไข่พื้นในบริเวณดังกล่าวได้เช่นกัน การเกิดปัญหาที่มีเวลา และรูปแบบบริเวณที่สุมกันแน่นอน เราสามารถแก้ปัญหาได้ง่ายกว่าการเกิดปัญหาที่เกิดขึ้นไม่แน่นอนซึ่งบ่งถึงปัจจัยที่ซับซ้อน และยากต่อการแก้ปัญหา ไก่ไข่ และไก่พ่อแม่พันธุ์ Hisex Brown, Bovans Gold Line และ Dekalb Brown อาจพบการสุมกันได้บ้าง แต่น้อยมากเนื่องจากการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ไม่มีปัญหาการสุมกัน โดยเรามีการทดสอบการเลี้ยงบนระบบการเลี้ยงที่ปล่อยพื้นและคัดเลือกลักษณะสุมกันออกไป หลักสำคัญในการแก้ปัญหานี้คือการไม่ก่อให้เกิดความเครียดแก่ตัวไก่ หรือมีความเครียดให้น้อยที่สุด จะเป็นการป้องกันปัญหานี้ได้ เราพบว่าไก่ที่มีสุขภาพดีแข็งแรงมักไม่เกิดปัญหาการสุมกันโดยเฉพาะการเตรียมตัวไก่ตั้งแต่เล็กเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะเกิดการสุมกัน หรือไม่การทำน้ำหนักตัวที่ 5 สัปดาห์ให้ได้ตามเกณฑ์มาตราฐาน ความสม่ำเสมอของฝูงไก่เป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการป้องกันปัญหานี้ไม่ให้เกิดขึ้น โดยสรุปการแก้ไขปัญหาการสุมของไก่เป็นเรื่องละเอียดอ่อน การป้องกันไม่ให้เกิด ปัญหาโดยการจัดการอย่างถูกต้องเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหานี้โดยเฉพาะการเริ่มต้นที่ 5 สัปดาห์แรก เป็นหัวใจหลักสำคัญในการแก้ปัญหาและยังส่งผลถึงผลผลิตในช่วงที่ไข่ต่อไปเช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sponser

News in Thailand

.