You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552

Source and Absorption of Niacin

แหล่งกำเนิด (Sources)
ทั้งกรดนิโคตินิกและนิโคตินาไมด์นี้ ส่วนใหญ่ได้จากการสังเคราะห์ สำหรับในอาหารพบว่ามีไวตามินนี้มากในยีสต์ รำข้าว ถั่วต่าง ๆ พบมากในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น เนื้อหมู, เนื้อวัว, ปลา, ไก่, นม, และไข่ เป็นต้น วิตามินนี้ละลายได้ค่อนข้างดีในน้ำร้อน, ไม่ละลายในน้ำเย็น, มีความทนต่อทุกสภาวะ อาทิเช่น ความเป็นด่าง, ความร้อน, แสงสว่าง และปฏิกิริยาออกซิเดชัน เป็นต้น ร่างกายสามารถสังเคราะห์ไนอาซินจาก tryptophan ได้ โดยปกติถ้าร่างกายได้รับอาหารที่มี tryptophan ตามต้องการและร่างกายมีเมตาบอลิสมตามปกติ ก็ถือว่าร่างกายได้รับไนอาซินเพียงพอไปด้วย เหตุนี้เองการบอกคุณค่าหรือปริมาณไนอาซินในอาหารจึงมักบอกเป็นค่าของ niacin equivalent (NE) ในคนปกติ tryptophan 60 มิลลิกรัม จะเปลี่ยนไปเป็นกรดนิโคตินิกได้ 1 มิลลิกรัม ดังนั้น NE ของอาหารจะมีค่าเท่ากับ 1 มิลลิกรัม หรือ 60 มิลลิกรัมของ tryptophan ที่มีในอาหาร
การดูดซึม (Absorption)
เมื่อรับประทานวิตามินนี้ในรูปกรดนิโคทินิกหรือนิโคทินาไมด์จะถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของนิโคทินาไมด์ทั้งหมด และถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายที่ลำไส้เล็กส่วนต้นโดยกระบวนการที่ไม่ต้องใช้พลังงาน จากนั้นจะถูกขนส่งไปทั่วร่างกายในกระแสเลือด และเก็บสะสมไว้ที่ตับ, หัวใจ และกล้ามเนื้อ ในปริมาณที่ไม่มากนัก ต้นตอของไนอาซินจากอาหารจะพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในสภาพของ preformed niacin, NADH และ NADPH ซึ่งจะถูกสลายด้วยเอนไซม์ pyrophosphatase ใน lumen ของลำไส้เล็กได้เป็น nicotinamide ribonucleotide และ riboside แล้วถูกดูดซึมที่กระเพาะและลำไส้อย่างรวดเร็ว ถ้าระดับของไนอาซินต่ำ ๆ จะมีการดูดซึมแบบ Na+-dependent facilitated diffusion process และในทางตรงกันข้ามถ้ามีไนอาซินปริมาณสูง ๆ ก็จะมีการดูดซึมแบบ passive diffusion เมื่อร่างกายได้รับไนอาซินปริมาณสูง เช่น ครั้งละ 3 กรัม จะพบว่ามีการขับออกทางปัสสาวะถึง 85% นอกจากนั้นยังพบว่ากรดนิโคตินิกในรูป ester จะอยู่ในกระแสเลือดได้นานกว่าชนิดอื่น ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sponser

News in Thailand

.