You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552

การเกิดภาวะไก่ฟักไข่ ในแก่พ่อแม่พันธุ์

พบได้บ่อยในไก่งวง พ่อแม่พันธุ์ไก่เนื้อ และในพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ที่เป็นไก่สายพันธุ์หนัก ในไก่ไข่พบได้น้อยมากเนื่องจากการคัดเลือกทางพันธุกรรมที่มุ่งเน้นที่ให้ผลผลิตสูง จะทำให้มีการคัดลักษณะนี้ออกไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งลักษณะนี้พบได้ตั้งแต่เริ่มไข่แต่จะพบบ่อยในช่วงการให้ผลผลิตสูงๆ อะไรเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการนี้ขึ้น? เป็นการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายสัตว์โดยธรรมชาติเพื่อการกกไข่ให้ออกเป็นตัวสามารถพบได้ถึงแม้ว่าไข่นั้นจะเป็นไข่ลมก็ตาม โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนหลายๆตัวที่ควบคุมระบบอวัยวะสืบพันธุ์
สิ่งที่พบในการเกิดภาวะไก่ฟักไข่ · น้ำหนักตัวของไก่ไข่ลดลง · หงอนซีดและหดลง · ก้นแห้ง (ในแม่ไก่ที่ไข่ดีบริเวณรอบๆทวารหนักจะชุ่มชื้น) · ขนร่วงโดยเฉพาะบริเวณหน้าอก (Brooding Patch) ซึ่งบริเวณนี้จะมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้นเพื่อถ่ายทอดความร้อนจากแม่ไก่ไปยังไข่ฟัก · กินอาหารลดลง · นอนอยู่ในกรงไข่และจะดุมากขึ้น
เราจะป้องกันปัญหานี้ได้อย่างไร? · อาหารต้องมีคุณค่าทางอาหารเพียงพอกับผลผลิต · เก็บไข่บ่อยๆ พบว่าหากปล่อยให้มีไข่เหลือไว้ในกรงไข่ข้ามคืนจะเป็นตัวเร้าให้เกิดการกกไข่ขึ้น · ปิดกรงหลังจากเก็บไข่หมดแล้ว · ย้ายแม่ไก่ฟักออกจากฝูงไปไว้ในห้องเฉพาะ โดยห้องเฉพาะทำเป็นกรงลวดเพื่อให้ไก่ไม่มีที่ฟักไข่หรือกรงไข่ และให้น้ำและอาหารกินตามปกติ · แสงสว่างต้องให้มีความเข้มของแสงให้สม่ำเสมอทั่วโรงเรือน · คำนวณจำนวนไข่หรือแม่ไก่ต่อกรงไข่ให้มีจำนวนลดลง · ควบคุมสิ่งแวดล้อมและกรงไข่ไม่ให้เป็นมุมอับที่เหมาะสมทำให้เกิดภาวะไข่ฟักเกิดขึ้น · ในไก่งวงมีการทดลองวัคซีนป้องกันการเกิดได้สำเร็จแต่ยังอยู่ในขบวนการผลิตมาจำหน่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sponser

News in Thailand

.