เมตาบอลิสม
เนื่องจากเซลล์ของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายสามารถสังเคราะห์ CoA จากกรดแพนโต-เธนิคได้ การสังเคราะห์ CoA ในแต่ละเนื้อเยื่อนั้นจะมี limiting step อยู่ตรงขั้นตอนของการเติมกลุ่มฟอสเฟต (phosphorylation) ของกรดแพนโตเธนิคแล้วเปลี่ยนไปเป็น 4-phosphopantothenic acid ด้วยเอนไซม์ pantothenate Kinase ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องการ ATP ในการสังเคราะห์ CoA หนึ่งอณูต้องใช้ ATP ถึง 4 อณู ขบวนการนี้จะมีการยับยั้งโดย acetyl , malonyl และ propionyl CoA หรือจาก end product ของ CoA เอง และ long-chain acyl CoAs ได้บ้าง นอกจากนี้ยังพบว่า acetaldehyde ที่ได้มาจากเมตะบอลิสมของ ethanol ก็สามารถไปยับยั้งการเปลี่ยนจาก pantothenic acid ไปเป็น CoA ได้ด้วย
ในการขับถ่ายนั้น พบว่าการขับถ่ายกรดแพนโตเธนิคออกมาในปัสสาวะประมาณวันละ 1-7 มิลลิกรัม ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับเข้าไปและไม่พบ degradation products ของกรดแพนโตเธนิคในปัสสาวะ นอกจากนี้ยังพบว่าในผู้ที่อดอาหารและผู้ป่วยเบาหวานชนิด non-insulindependent จะมีการขับถ่ายกรดแพนโตเธนิค ออกมาในปัสสาวะลดลง ซึ่งการขับถ่ายในสองกรณีนี้อาจจะเกิดจากมีการควบคุมโดยการดูดกลับที่ทุบลูของไต และฮอร์โมนอินสุลินตามลำดับ
หน้าที่
เป็นส่วนประกอบของ coenzyme A และเป็น acyl carrier protein (ACP) ในเมตะบอลิสมของคาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโนและไขมัน โดยเฉพาะเกี่ยวกับการสังเคราะห์กรดไขมัน coenzyme A มีอยู่ในเนื้อเยื่อทุกชนิด เป็นโคเอนไซม์ที่มีความสำคัญมากหลายประการในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยา acylation และ acetylation ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น