You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

Absorption and Transportation of B12

วิตามินบีสิบสองในอาหารส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของโคเอนไซม์ที่จับอยู่กับโปรตีน ซึ่งจะถูกสลายได้บ้างในขณะประกอบอาหาร และโดยความเป็นกรดหรือเอนไซม์ pepsin ในกระเพาะอาหารจะสลายให้ได้วิตามินบีสิบสองเสรีออกมา ในผู้ที่ไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร หรือถูกตัดกระเพาะอาหารบางส่วนออกไป จะทำให้วิตามินบีสิบสองไม่แยกออกมา และทำให้การดูดซึมช้าลง อย่างไรก็ตามโคบาลามินก็อาจถูกปล่อยออกมาได้เมื่ออยู่ในลำไส้โดยอาศัยเอนไซม์ protase จากตับอ่อน การดูดซึมวิตามินบีสิบสองเป็นการดูดซึมที่ต่างจากสารอาหารชนิดอื่นๆ เนื่องจากต้องมีปัจจัยหลายชนิดเข้ามาเกี่ยวข้อง
วิตามินบีสิบสองเสรีที่ได้ออกมาในกระเพาะอาหารในครั้งแรกนี้จะสัมผัสกับ intrinsic factor (IF) ซึ่งเป็น glycoprotein ชนิดหนึ่งหลั่งจาก parietal cell ของกระเพาะอาหาร และ R-protein ซึ่งหลั่งจากต่อมน้ำลายและกระเพาะอาหาร ที่ในกระเพาะอาหารวิตามินบีสิบสองเสรีจะจับกับ R-protein ได้อย่างรวดเร็วกว่า IF เป็น R-protein-B12 complex (รูปที่ 2) การที่วิตามินนี้จับกับ R-protein ก็เพื่อป้องกันไม่ให้แบคทีเรียในลำไส้นำวิตามินบีสิบสองนี้ไปใช้ได้ R-protein-B12 complex ดังกล่าวนี้จะผ่านต่อไปยังลำไส้เล็กส่วนต้นแล้ว R-protein จะถูกแยกออกจากวิตามินบีสิบสองโดยเอนไซม์ trypsin จากตับอ่อน ในรายที่ตับอ่อนทำหน้าที่บกพร่องอาจทำให้ขาดวิตามินบีสิบสองได้ วิตามินบีสิบสองที่ถูกปล่อยออกมาในครั้งที่สองนี้จะจับกับ IF ที่ตามลงมาจากกระเพาะอาหารเป็น IF-B12 complex ที่มี B12 จับอยู่กับ IF-2 อณู การที่ B12 ไม่รวมกับ IF ตั้งแต่อยู่ในกระเพาะอาหารนั้น เป็นเพราะวิตามินบีสิบสองมีความสัมพรรคต่อ R-protein มากกว่า IF และอาศัยความเป็นด่างในลำไส้ (พีเอ็ชประมาณ 6.8) IF จะมีความสัมพรรคกับวิตามินบีสิบสองมาก จึงรวมกันเป็น IF-B12 complex แล้วผ่านต่อไปยังบริเวณ ileum โดยมี Ca++ จับไปด้วยกัน จากนั้นก็จะส่ง IF-B12 complex นี้ให้กับ receptor ของเซลล์ที่ผนังลำไส้ เมื่อ IF-B12 complex นี้ผ่านเข้าสู่เซลล์แล้ว B12 จะไปจับกับ transcobalamin II (TCII) ซึ่งสังเคราะห์ที่ผนังลำไส้และเป็นโปรตีนที่มีมากที่สุด และมีความสำคัญในการขนวิตามินบีสิบสองเข้าสู่กระแสเลือด TCII นี้เป็นโปรตีนที่มีความสามารถในการจับกับบีสิบสอง และการขนส่งคล้ายๆ IF เมื่อ TCII จับกับ B12 เป็น TCII-B12 complex แล้วก็จะผ่านเข้าสู่ portal venous blood ไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ที่ต้องการ สำหรับการดูดซึมวิตามินนี้เป็นไปโดย passive diffusion ผ่าน IF-mediated mechanism ซึ่งเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมาก สามารถดูดซึมได้แม้จะมีปริมาณของวิตามินบีสิบสองนี้เพียง 1-3 ไมโครกรัมก็ตาม ถ้าปริมาณของวิตามินนี้สูงๆ เช่น ได้รับเข้าไปมากกว่า 500 ไมโครกรัมต่อวัน การดูดซึมจะไม่ต้องมีการใช้พาหะเป็นตัวพาไปเหมือนข้างต้น แต่วิธีการแบบหลังนี้สู่วิธีแรกไม่ได้ เพราะจะมีการดูดซึมได้น้อยกว่า
ในเลือดนอกจาก TCII แล้วยังมีโปรตีนอีก 2 ชนิด ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งวิตามินบีสิบสอง คือ transcobalamin I และ III (TCI และ TCIII) ที่สังเคราะห์ได้มาจาก granulocyte white blood cells และเป็น a-globulin ที่รู้จักกันในชื่อของ “R-binder component” สามารถรวมกับวิตามินบีสิบสอง และสารอื่นๆที่เป็นอนุพันธ์ของวิตามินบีสิบสองได้อีกด้วย ประมาณ 95 % ของวิตามินบีสิบสองที่จับกับ TCII จะผ่าน portal vein ไป ที่เหลืออีก 5 % ผ่านไปทางท่อน้ำเหลือง ภายหลังการดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดแล้ว บีสิบสองก็จะเปลี่ยนไปจับกับ TC-I และหลังจากนั้นไปประมาณ 24 ชั่วโมง จะพบปริมาณของวิตามินบีสิบสองจับอยู่กับ TC-II ในปริมาณที่น้อยมาก half life ของ TC-II และ TC-I ที่จับอยู่ B12 เท่ากับ 1.5 ชั่วโมง และ 9-10 วัน ตามลำดับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sponser

News in Thailand

.