You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

How is the amino acid has come to ?

กรดอะมิโนได้มาอย่างไร โปรตีนเริ่มถูกย่อยที่กระเพาะอาหาร โดยมีโปรเอนไซม์ที่ชื่อว่า เปปซิโนเจน (pepsinogen) จาก ชีฟเซลล์ (chip cell) และมีการหลั่งกรดเกลือมาจากพาริเอตัลเซลล์ (parietal cell) กรดเกลือจะเปลี่ยนเปปซิโนเจน ซึ่งยังไม่สามารถทำงานได้ ให้เปลี่ยนเป็นเอนไซม์เปปซิน (pepsin enzyme) ที่อยู่ในรูปที่สามารถย่อยโปรตีนได้ นอกจากกรดเกลือจะเปลี่ยนเปปซิโนเจนเป็นเปปซินแล้ว เปปซินที่ออกมายังทำหน้าที่กระตุ้นให้เปปซินโนเจนเปลี่ยนเป็นเปปซินได้ด้วย เอนไซม์เปปซินจะสลายพันธะเฉพาะที่อยู่ระหว่างกรดอะมิโนไทโรซีน (tyrosine), ฟีนีลอะลานีน (phenylalanin) และ ทรีปโตเฟน (tryptophan) จนได้เส้นโครงสร้างของโปรตีนสายสั้น ๆ หรือเรียกว่า โพลีเปปไทด์ (polypeptide) จากนั้นจะเข้าสู่ลำไส้เล็ก ที่มีเอ็นไซม์ทรีปซิน (trypsin) จากตับอ่อนมาทำการย่อย กลายเป็นไดเปปไทด์ (dipeptide) เป็นส่วนมาก หรือ เป็นโพลีเปปไทด์ขนาดเล็ก ๆ และยังมีเอ็นไซม์ไคโมทรีพปซิน (chymotrypsin) และแอ็นไซม์คาร์บอกซี โพลีเปปทิเดส (carboxy polypeptidase) ซึ่งมีฤทธิ์คล้ายกับทริปซิน คือ ไคโมทริปซิน ทำการย่อยพันธะเปปไทด์ (peptide linkage) ชนิดอื่น และคาร์บอกซีโพลีเปปไทด์ จะทำการย่อยโพลีเปปไทด์ตรงพันธที่มีหมู่ คาร์บอกซิล (COOH- group) ให้เป็นกรดอะมิโน เซลล์ของลำไส้เล็กมีเอนไซม์ที่ย่อยโพลีเปปไทด์ และไดเปปไทด์ให้ได้เป็นกรดอะมิโน เมื่อพวกเปปไทด์ ผ่านเซลล์เหล่านี้ก็จะถูกย่อยให้กลายเป็นกรดอะมิโน และถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด และส่งต่อไปยังตับ แลละอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายสัตว์ต่อไป สำหรับลูกสัตว์ที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ๆ เมื่อมีการดูดน้ำนมจากแม่ กระเพาะอาหารจะหลั่งมีกรดไฮโดรคลอริก (HCl) ไปกระตุ้นให้เซลล์หลั่งเอ็นไซม์ออกมาในรูปโปรเรนนิน (prorennin) แล้วจึงเปลี่ยนไปเป็นเรนนิน (rennin) เรนนินจึงจะทำหน้าที่ย่อยเคซีน (casein) ซึ่งเป็นโปรตีนในน้ำนม แล้วมารวมกับแคลเซียม กลายเป็นพาราเคซีน (paracasein) ซึ่งลักษณะเป็นลิ่ม ๆ ไม่ละลายน้ำ จากนั้นจะถูกเปปซินย่อยต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sponser

News in Thailand

.