You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

Protein Synthesis

กรดอะมิโนแต่ละชนิดที่ดูดซึมเข้าสู่เซลล์ จะนำไปสังเคราะห์เป็นโปรตีน โดยกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน (protein synthesis) ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างโมเลกุลให้ใหญ่ขึ้น (macromolecule) โดยนำหน่วยการสร้าง (Building block) คือ กรดอะมิโนแต่ละชนิดมาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเปปไทด์ (peptide bond) ได้เป็นสายเปปไทด์ และมีการดัดแปลง หรือต่อเติมโมเลกุล เพื่อให้สามารถทำงานได้ โปรตีนแต่ละชนิดที่สังเคราะห์ขึ้น มีการเรียงลำดับเบสของกรดอะมิโนเป็นแบบเฉพาะตัว ซึ่งกำหนดโดยลำดับของเบสบนสายเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) และถอดรหัสมาจากลำดับเบสของยีน (gene) บนสายดีเอ็นเอ กระบวนการสังเคราะห์โปรตีน เริ่มต้นด้วยการสังเคราะห์อาร์เอ็นเอ (RNA) ในนิวเครียส จากการถอดรหัส (transcription) ดีเอ็นเอ โดยอาศัยเอ็นไซม์อาร์เอ็นเอโพลิเมอเรส (RNA Polymerase) หลังจากนั้นเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) จะส่งมาแปลงรหัส (Translation) ที่ไรโบโซมในไซโตพลาสซึม เพื่อเชื่อมต่อกรดอะมิโนแต่ละชนิดด้วยพันธะเปปไทด์ ตามลำดับเบสบนสายเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) เมื่อเติมกรดอะมิโนตัวสุดท้าย ครบแล้ว จะมีการเติมรหัสยุติ (UAA, UAG, UGA) กระบวนการสังเคราะห์โปรตีนจึงสิ้นสุดลง ดังแสดงในภาพที่ 2-1 (Murray et al., 2000) การสังเคราะห์โปรตีนขึ้นอยู่กับระดับของโปรตีน และสัดส่วนของกรดอะมิโนที่จำเป็นในอาหาร (NRC, 1988; NRC, 1998; Coffee, 1999) หากอาหารมีระดับของโปรตีน และกรดอะมิโนที่จำเป็นตรงตามความต้องการของสุกร จะทำให้สุกรนำกรดอะมิโนไปใช้ สำหรับการสังเคราะห์โปรตีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีการสูญเสียไนโตรเจนออกทางปัสสาวะต่ำ ทำให้สุกรมีการสะสมโปรตีนในร่างกายสูง (Wang and Fuller, 1989; Chung and Baker, 1992b; NRC, 1998) เมทไธโอนีนและไลซีนเป็นกรดอะมิโนที่มีความสำคัญ สำหรับกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน เนื่องจากเมทไธโอนีนเป็นกรดอะมิโนตัวแรกที่ใช้สำหรับเป็นตัวเริ่มต้นการสังเคราะห์โปรตีน (Murray et al., 2000; Nelson and Cox, 2000) ดังนั้นปริมาณเมทไธโอนีนที่น้อยหรือมากเกินไป จึงมีผลกระทบต่อความสมดุลของกรดอะมิโนชนิดอื่นๆ การขาดเมทไธโอนีนจะส่งผลให้ความสมดุลไนโตรเจน ประสิทธิภาพการใช้อาหาร และอัตราการเจริญเติบโตลดลง (Balogun and Fetuga, 1981) ทั้งนี้เนื่องจากการขาดเมทไธโอนีนจะทำให้การสังเคราะห์โปรตีนหยุดชะงัก ทำให้จำนวนโปรตีนที่สังเคราะห์มีปริมาณลดลงตามระดับเมทไธโอนีน (Nelson and Cox, 2000) ปริมาณเมทไธโอนีนในอาหารที่มีมากเกินความต้องการของสุกร ซึ่งเกิดจากความไม่สมดุลของกรดอะมิโนในอาหาร (Edmond and Baker, 1987) จะส่งผลทำให้เกิดพิษต่อร่างกายสุกร ทำให้การสังเคราะห์โปรตีนที่ได้ เพื่อใช้สำหรับกระบวนเจริญเติบโต เปลี่ยนไป ร่างกายสุกรต้องนำกรดอะมิโนไปสังเคราะห์โปรตีนเพื่อรักษาเซลล์โครงสร้างของร่างกาย และซ่อมแซมเซลล์ที่ถูกทำลายจากการเกิดพิษของเมทไธโอนีน เพื่อการขับกรดอะมิโนเมทไธโอนีนส่วนที่เกินมา (Mitchell et al., 1968) นอกจากนี้ความต้องการ เมทไธโอนีน ยังขึ้นอยู่กับความสามารถในการสร้างกล้ามเนื้อ (lean growth potential) ของสุกร ซึ่งในปัจจุบันมีการปรับปรุงสายพันธุ์สุกร ให้มีความสามารถในการสร้างเนื้อแดงในปริมาณที่สูงขึ้น ทำให้สุกรมีความต้องการสัดส่วนเมทไธโอนีนเพิ่มขึ้น (Lougmiller et al., 1998; Urynek and Buraczewska, 2003) จึงทำให้ในกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน ต้องใช้กรดอะมิโนชนิดอื่น ๆ เพิ่มขึ้นตามด้วย และไลซีน เป็นกรดอะมิโนที่พบเป็นองค์ประกอบของโครงสร้างโปรตีนในเนื้อแดงของสุกรในปริมาณที่สูง จึงทำให้สุกรมีความต้องการปริมาณที่สูง เพื่อนำไปสังเคราะห์โปรตีน สำหรับการเจริญเติบโต โดยเฉพาะในกระบวนการสร้างเนื้อแดง ดังนั้นในการประกอบสูตรอาหาร จึงต้องคำนึงถึงปริมาณเมทไธโอนีนและไลซีนในอาหาร และสมดุลของกรดอะมิโน ให้เพียงพอกับความต้องการของสุกร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sponser

News in Thailand

.