You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

Methionine and chemical interaction

เมทไธโอนีนสามารถเปลี่ยนเป็นสารชนิดอื่น ๆ ได้ เช่น ซีสเตอีน หรือ ทอรีน โดยอาศัย โคเอ็นไซม์ คือ วิตามิน บี 6 เข้าช่วย อาหารที่มีเมทไธโอนีนสูง แต่มีวิตามิน บี 6 ต่ำ มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด พิษของเมทไธโอนีนที่เกิดตามมา คือ เนื้อเยื่อของไตเจริญมากเกินไป ทำให้มีการขยายของท่อกรวยไตเกิดแผลที่เซลล์ของตับ และตับอ่อน มีปริมาณโฮโมซีสเตอีนในเลือด และปัสสาวะสูง เนื่องจากความผิดปกติของกระบวนการ เมแทบอลิซึมของเมทไธโอนีน โดยความล้มเหลวของเอ็นไซม์ซีสตะไธโอนีนซินเทส ซึ่งเอ็นไซม์นี้ต้องอาศัยวิตามิน บี 6 เป็นโคแฟกเตอร์ นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติที่ตามมา คือ เกิดลิ่มเลือด การพัฒนาของสมองช้า ซึ่งการบรรเทาพิษของเมทไธโอนีนทำได้โดย ประกอบสูตรอาหารให้มี วิตามิน บี 6 เพียงพอ และกรดอะมิโนไกลซีน และ เซอรีน เพียงพอ เนื่องจากกรดอะมิโนทั้ง 2 มีส่วนช่วยในการเปลี่ยนโฮโมซีสเตอีน เป็นซีสตะไธโอนีน เมทไธโอนีน ซีสเตอีน ซีสตีน ทอรีน และกลูตาไทโอน มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบของโครงสร้าง ซึ่งกรดอะมิโนเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการฆ่าเชื้อโรคใน กระแสเลือด ป้องกันแบคทีเรีย กระตุ้นการหลั่งน้ำดีจากตับ และต่อต้านการสร้างสารพิษ (Murray et al., 2000)
เมทไธโอนีนเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ ซีสเตอีนแต่ซีสเตอีนไม่สามารถสังเคราะห์เมทไธโอนีนได้ โดยเมทไธโอนีนจะเปลี่ยนเป็น ซัลเฟอร์-อะดีโนซิลเมทไธโอนีน ซึ่งจะต้องใช้พลังงานในรูป อะดิโนซีน ไตรฟอสเฟต (adenosine triphosphate, ATP) ช่วยในการย่อยสลาย ทำหน้าที่ให้หมู่เมธิล กับปฏิกิริยาต่าง ๆ เกิดเป็น ซัลเฟอร์ – อะดีโนซิล โฮโมซีสเตอีน สลายให้ โฮโม-ซีสเตอีน รวมกับเซอรีนเป็นซีสตะไธโอนีน การสลายซีสตะไธโอนีนได้ซีสเตอีน และ แอลฟา-คีโตบิวทิเรต ซึ่งแอลฟา-คีโตบิวทิเรต จากโครงสร้างคาร์บอนของเมทไธโอนีนเปลี่ยนไปเป็นโพรพิโอนิล โค เอ, เมทธิลมาโลนิล โค เอ และซักซินิล โค เอ ตามลำดับ แล้วเข้าสู่วัฏจักรเครบส์ต่อไป ส่วนซีสเตอีน จะเกิดจากโครงสร้างคาร์บอนของเซอรีน และอะตอมของกำมะถันจากเมทไธโอนีน ดังแสดงในภาพที่ 2-3 ซีสเตอีน 2 โมเลกุลซึ่งมีหมู่ซัลไฮดริล (sulhydryl group, -SH) เมื่อถูกออกซิไดส์เกิดเป็นซีสตีน โดยมีพันธะไดซัลไฟด์ (disulfide bond) เชื่อมโยงโมเลกุลทั้ง 2 ของซีสเตอีนไว้ นอกจากนี้เมทไธโอนีน และซีสตีน ยังมีผลช่วยในการลดความเป็นพิษของโคบอลท์ ซึ่งช่วยลดการสะสมของโคบอลท์ที่ตับและไต (Southern and Baker, 1981) และเมทไธโอนีนยังช่วยบรรเทาความเป็นพิษที่เกิดขึ้นจากตะกั่วได้ โดยเมทไธโอนีนจะเป็นสารตั้งต้นสำหรับการผลิตกลูตาไทโอน โดยกลูตาไทโอนจะลดความเป็นพิษในตับลง ส่วน ซีสเตอีนเป็นสารตั้งต้นในการสร้างทอรีน ซึ่งจะเป็นส่วนประกอบสำคัญของกรดน้ำดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sponser

News in Thailand

.