เมทไธโอนีนเป็นตัวเริ่มต้นในกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งกรดอะมิโน เมทไธโอนีนจะอยู่ในรูปของ ฟอร์มิลเมทไธโอนีน (fMet) โดยมี ทีอาร์เอ็นเอ ของฟอร์มิล เมทไธโอนีน (tRNA f Met) เป็นตัวพาเข้าไปยังไรโบโซม ในรูป เอ็น–ฟอร์มิลเมทไธโอนีน–ทีอาร์เอ็นเอ ของฟอร์มิลเมทไธโอนีน (N–formylmethionyl– tRNA f Met หรือเขียนย่อโดย f Met–tRNA f Met) ขั้นตอนการเกิด เอ็น–ฟอร์มิลเมทไธโอนีน–ทีอาร์เอ็นเอ ของ ฟอร์มิลเมทไธโอนีน คือ เมทไธโอนีนเข้าจับกับ ทีอาร์เอ็นเอของฟอร์มิลเมทไธโอนีน (tRNA f Met) ก่อน โดยอาศัยการทำงานของเอ็นไซม์เมทไธโอนีนอะมิโนอะซิล–ทีอาร์เอ็นเอซินเธซิส (methionine aminoacyl tRNA synthesis) ดังปฏิกิริยาต่อไปนี้
Met + tRNA f Met + ATP Met + tRNA f Met + AMP + PPi
หลังจากได้ เอ็น–เมทไธโอนิล–ทีอาร์เอ็นเอ ของฟอร์มิลเมทไธโอนีน (tRNA f Met) แล้วเอ็นไซม์ ทรานส์ฟอร์มิเลส (transformylase) จะทำหน้าที่ย้ายหมู่ฟอร์มิล จากเอ็นเทน–ฟอร์มิลเตตระ ไฮโดรโฟเลท (N10–formyltetrahydrofolate) หรือ (N10–formyl–FN4) มาให้หมู่อะมิโนของ เมทไธโอนีน ใน เอ็น–เมทไธโอนิล–ทีอาร์เอ็นเอ ได้เป็น เอ็น–ฟอร์มิลเมทไธโอนีน–ทีอาร์เอ็นเอ ของ ฟอร์มิล เมทไธโอนีน ดังนี้
N10 – Formyl – FN4 + Met + tRNA f Met FN4 + f Met - tRNA f Met
เอ็นไซม์รานส์ฟอร์มิเลส มีความจำเพาะสูงมาก จะไม่เติมหมู่ฟอร์มิลให้แก่เมทไธโอนีนอิสระ แต่จะเติมให้ เอ็น–เมทไธโอนิล–ทีอาร์เอ็นเอ ของฟอร์มิลเมทไธโอนีน เท่านั้น ฉะนั้นในเซลล์พวก โปรคาริโอตมีทีอาร์เอ็นเอ สำหรับเมทไธโอนีนอยู่ 2 ชนิด คือ ทีอาร์เอ็นเอของ ฟอร์มิลเมทไธโอนีน (tRNA f Met) และ ทีอาร์เอ็นเอของเมทไธโอนีน (tRNA Met) โดยทั้งคู่สามารถจับกับเมทไธโอนีนได้ แต่มีเฉพาะ เอ็น–เมทไธโอนิล–ทีอาร์เอ็นเอ ของ ฟอร์มิลเมทไธโอนีน เท่านั้นที่จะถูกเปลี่ยนเป็น เอ็น–ฟอร์มิลเมทไธโอนีน–ทีอาร์เอ็นเอ ของ ฟอร์มิลเมทไธโอนีน ซึ่งเป็น กรดอะมิโนเริ่มต้นในการสังเคราะห์โปรตีน ส่วนทีอาร์เอ็นเอของ เมทไธโอนีนมีเพื่อพาเมทไธโอนีนเข้าไปยังตำแหน่งในสายโพลีเปปไทด์ (Lehninger, 1982; Montgomery et al., 1990)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น