ไอเดียลโปรตีน (ideal Protein)
โปรตีนที่มีความสมดุลของกรดอะมิโน หรือ ไอเดียลโปรตีน คือ โปรตีนที่มีดุลยภาพของกรดอะมิโนสมบูรณ์ มีชนิดและปริมาณของกรดอะมิโนต่าง ๆ เพียงพอ ไม่มีกรดอะมิโนชนิดใดขาด หรือมากเกินพอ การประเมินคุณภาพโปรตีนต้องทราบรูปแบบกรดอะมิโนของไอเดียลโปรตีน เพื่อใช้ประเมินคุณภาพของโปรตีน Wang and Fuller (1990) นิยามไอเดียลโปรตีนว่า เป็นตัวแทนของกรดอะมิโนรวม หรือโปรตีนที่ถูกดูดซึม หรือมีการใช้ประโยชน์ได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึง มีองค์ประกอบของกรดอะมิโนที่ตรงกับความต้องการของสุกร เพื่อใช้ในการดำรงชีพและเพื่อการเจริญเติบโต สาโรช (2547) ได้อธิบายว่าสัดส่วนของกรดอะมิโนในไอเดียลโปรตีน เป็นสัดส่วนที่เน้นถึงปริมาณกรดอะมิโนที่สัตว์ใช้ได้จริง (bioavailability) แต่ในการวัดปริมาณ กรดอะมิโนที่สัตว์ใช้ได้จริงในระดับเนื้อเยื้อทำได้ยาก ค่าที่ใช้จึงยึดระดับกรดอะมิโนที่ถูกดูดซึมได้จริง (true ileal digestibility) เมื่ออาหารผ่านมาถึงลำไส้เล็กส่วนปลาย แต่ไม่ใช่กรดอะมิโนที่เข้าสู่ปฏิกิริยาจริงในกระบวนการเมแทบอลิซึมทั้งหมด เพราะกรดอะมิโนที่ถูกดูดซึมบางส่วนอาจไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ จึงเป็นค่าที่บ่งชี้ใกล้เคียงการใช้ประโยชน์ได้จริงเท่านั้น Cole (1979) รายงานว่าสุกรมีความต้องการปริมาณโปรตีนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความแตกต่างในด้านเพศ พันธุ์ น้ำหนักตัว และอัตราการเจริญเติบโตในช่วงต่าง ๆ วิธีการศึกษาไอเดียลโปรตีนมีวิธีการศึกษา 4 วิธี (Boisen, 2003) ดังนี้
ก) การวิเคราะห์รูปแบบ หรือระดับของกรดอะมิโนในอาหาร ซึ่งทำให้เกิดสมรรถนะการเจริญเติบโตสูงสุด
ข) การวิเคราะห์รูปแบบ หรือ ระดับกรดอะมิโนในเนื่อเยื่อร่างกาย
ค) การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของกรดอะมิโนในอาหาร เพื่อทำการสะสมไนโตรเจนในร่างกายมากที่สุด มี 2 วิธีย่อย คือ การเติมหมู่อะมิโนลงในอาหารที่มีรูปแบบ กรดอะมิโนพื้นฐาน และการลดปริมาณกรดอะมิโนลงในอาหารที่มีรูปแบบกรดอะมิโนพื้นฐาน ง) การวัดความต้องการกรดอะมิโน เพื่อการสะสมโปรตีนเฉพาะอย่าง ไอเดียลโปรตีนของสุกรสามารถจำแนกออกจากกัน NRC (1998) ได้จำแนกความต้องการของสุกรเพื่อใช้ในการดำรงชีพ และเพื่อการเจริญเติบโต และที่มีในเนื้อเยื่อของสุกร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น