ระดับของไลซีนที่แนะนำในอาหารสุกรขุน
สุกรต้องการกรดอะมิโนไลซีนในปริมาณมาก เพื่อนำไปสังเคราะห์โปรตีน สำหรับการดำรงชีวิต รวมทั้งเพื่อการเจริญเติบโต โดยเฉพาะในกระบวนการสร้างเนื้อแดงซึ่งพบกรดอะมิโน ไลซีนเป็นส่วนประกอบของโครงสร้างโปรตีนในเนื้อแดงอยู่ในปริมาณมาก ดังแสดงในตารางที่ 2-2 โปรตีนในอาหารที่มีปริมาณ และสัดส่วนกรดอะมิโนไลซีนไม่เพียงพอต่อความต้องการของสุกร จะทำให้การใช้ประโยชน์ได้ของโปรตีน อัตราการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหาร และการสะสมเนื้อแดงด้อยลง ในขณะเดียวกันก็มีผลทำให้ซากสุกรมีไขมันเพิ่มมากขึ้น โปรตีนในอาหารที่ขาดไลซีนเพียงเล็กน้อย ส่งผลเสียต่ออัตราการเจริญเติบโตเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่เกิดผลเสียมากต่อปริมาณเนื้อแดง และการสะสมไขมันในซากสุกร
ดังนั้น เพื่อให้สุกรมีคุณภาพซากที่ดี จึงต้องเพิ่มกรดอะมิโนไลซีนให้สูงกว่า เพื่อการเจริญเติบโตที่ดี และระดับที่ทำให้ประสิทธิภาพการใช้อาหารดี (นิรนาม, 2530; Brown et al., 1973) สอดคล้องกับ Jones et al. (1962) ซึ่งรายงานว่าสุกรขุนที่ได้รับอาหารที่มีโปรตีนร้อยละ 18.00 ไลซีนร้อยละ 0.98 มีอัตราการเจริญเติบโต การสะสมเนื้อแดง และพื้นที่หน้าตัดเนื้อสันสูงกว่าสุกรที่ได้รับอาหารที่มีโปรตีนร้อยละ 15.00 และไลซีนร้อยละ 0.66 เช่นเดียวกับ Jones et al. (1963) ที่รายงานว่าสุกรระยะหย่านม ถึงน้ำหนัก 90 กิโลกรัม ที่ได้รับอาหารที่มีโปรตีนร้อยละ 18.00 ไลซีนร้อยละ 0.83 มีปริมาณเนื้อแดงในซากมากกว่า สุกรที่ได้รับอาหารที่มีโปรตีนร้อยละ 18.00 ไลซีนร้อยละ 0.73 ส่วน NRC (1998) รายงานว่าสุกรที่น้ำหนัก 50-80 กิโลกรัม มีความต้องการกรดอะมิโน ไลซีนที่ย่อยได้จริง วันละ 17.10 กรัมต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 0.66 ของอาหาร (โปรตีนที่ร้อยละ 15.50) แต่ ARC (1981) รายงานว่าสุกรขุนที่น้ำหนัก 50-90 กิโลกรัม มีความต้องการไลซีนที่ ร้อยละ 0.85 ของอาหาร
Free Robux Counter Roblox MOD APK ROBUXBEAST.COM Roblox Mod Apk Unlimited
Robux And Coins
-
*ROBUXBEAST.COM*
*FAST HACK Robux Roblox are made to assisting you when actively playing
conveniently. It is creating resources about and which has a lot...
5 ปีที่ผ่านมา
พอมีบทความหรืองานวิจัยเกี่ยวกับไลซีนเพิ่มเติมไหมครับอาจารย์
ตอบลบ