You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

Methionine

โดยธรรมชาติจะสามารถพบเมทไธโอนีนในรูปแอล-เมทไธโอนีน สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตกรดอะมิโนสังเคราะห์ สามารถผลิตได้ทั้งในรูป ดี และแอล-เมทไธโอนีน (ภาพที่ 2-2) ในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งสุกรสามารถใช้ประโยชน์ได้ดีทั้งในรูป ดีและแอล เมทไธโอนีน เมทไธโอนีนทำหน้าที่เป็นตัวแรกในการเปิดสายเปปไทด์ของกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน (Horton et al., 2002) นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้น หรือส่วนประกอบสำหรับ โฮโมซีสเตอีน (homocysteine) ซีสตีน (cystine) คาร์นิทีน (carnitine) ครีเอทีน (creatine) และ โคลีน (choline) (Murray et al., 2000)
เมทไธโอนีนจัดอยู่ในกลุ่มของกรดอะมิโนที่จำเป็น (essential amino acid) วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่นำมาประกอบสูตรอาหารสำหรับสุกร ส่วนใหญ่จะขาดความสมดุลของ กรดอะมิโน ซึ่งพบเมทไธโอนีนในปริมาณที่น้อย จึงจำเป็นต้องมีการเสริมกรดอะมิโนสังเคราะห์ ในรูปของดีแอล-เมทไธโอนีน เมทไธโอนีนจากโครงสร้างโปรตีนของวัตถุดิบอาหาร และ ดีแอล-เมทไธโอนีนสังเคราะห์ จะต้องผ่านกระบวนการแคแทบอลิซึม และแอนาบอลิซึมของร่างกายสุกรก่อน จึงจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ (Montgomery et al., 1990; Methew et al., 2000) เมทไธโอนีนที่สัตว์ได้รับจะมีทั้งส่วนของเมทไธโอนีนอิสระ และที่เป็นส่วนประกอบในโครงสร้างโปรตีนเมื่อสัตว์ได้รับโปรตีนจะเกิดกระบวนการย่อยเกิดขึ้น โดยเริ่มต้นกระบวนการย่อยที่กระเพราะอาหาร มีเอ็นไซม์เปปซิโนเจน (pepsinogen) และไคโมซิโนเจน (chymosinogen) เป็นเอ็นไซม์สำหรับการย่อยโปรตีน นอกจากนี้ยังอาจถูกย่อยด้วยกรดเกลือ (HCl) โดยกระบวนการไฮโดรไลซิส (hydrolysis)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sponser

News in Thailand

.