You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Absorption and Transport of Vitamin A

การดูดซึม (absorption)
ในการดูดซึมวิตามินเอนั้นจะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็กโดยจะดูดซึมในรูปของเรตินอลพร้อมกับอาหารไขมัน -ทั้งเรตินอลและเรตินัลจะแพร่เข้าสู่ไซโตพลาสซึมของเซลล์ดูดซึม จากนั้นเรตินัลจะถูก เปลื่ยนเป็นเรตินอลโดนเอนไซม์รีดักเตส (reductase) เรตินอลภายในเซลล์จะถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูป เรตินิลเอสเธอร์อีกครั้งโดยการทำงานของเอนไซม์แอซิลโคเอนไซม์เอเรตินอลแอซิลทรานส์เฟอ-เรส (acyl-Coa_retinol acytransferase) โดยที่เรตินอลจะรวมตัวกรดไขมันขนาดยาวโดยเฉพาะกับกรดปาลมิติกหรือกรดเสตียริก (Palmitic or Stearic acids) ได้เป็น เรตินิลเอสเธอร์ หรือเรตินอลจะรวมกับแอซิลโคเอนไซม์เอ (acyl-coenzyme A) ได้เป็นเรตินิลเอสเธอร์ก็ได้ จากนั้นเรตินิลเอสเธอร์จะเข้าไปอยู่ในไคโลไมครอน และถูกเคลื่อนเข้าสู่กระแสเลือดต่อไป
-ส่วนเบตาแครอทีนที่อยู่ในอาหารจะไม่เข้าไปอยู่ในไมเซลล์ โดยพบว่าเบตาแครอทีนจะแพร่จากโพรงลำไส้เล็กเข้าไปในไซโทพลาสซึมของเซลล์ดูดซึมโดยตรงจากนั้นจะถูกย่อยโดยเอนไซม์เบตาแคโรทีนไดออกซิจิเนส (b-carotene-15,15-dioxygenase) ได้เป็นเรตินัล 2 โมเลกุล แลเรตินัลจะถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปเรตินอลโดยเอนไซม์รีดักเตส และสุดท้ายจะได้เรตินิลเอสเธอร์เข้าไปอยู่ในไคโลไมครอน เรตินิลเอสเธอร์จะอยู่ในบริเวณแกนของไคโลไมครอน ไคโลไมครอนในกระแสเลือดจะถูกย่อยโดยเอนไซม์ไลโพโปรตีนไลเพส ได้เป็นส่วนที่เหลือของไคโลไมครอน และจะเคลื่อนสู่เซลล์ตับ เนื่องจากเซลล์ตับมีตัวรับรู้ของส่วนที่เหลือ ในขณะที่ส่วนที่เหลือเคลื่อนผ่านผนังเซลล์ตับพบว่า เรตินิลเอสเธอร์จะถูกย่อยโดยเอนไซม์เรตินิลเอสเธอร์ไฮโดรเลส (retinyl ester hydrolase) ที่อยู่ในบริเวณเยื่อหุ้มเซลล์ตับได้เป็นเรตินอล จากนั้นเรตินอลจะแพร่เข้าสู่เซลล์ตับ และจะแพร่ไปยังบริเวณเอนโดพลาสมิกเรติคิวลัมเพื่อจะไปจับกับโปรตีนจับกับเรตินอล (retinol-binding protein, RBP) ได้เป็นสารประกอบเรตินอล-RBP และสารประกอบนี้จะถูกเคลื่อเข้าสู่กอลจิแอปพาราตัสเพื่อการหลั่งออกจากเซลล์ตับ ในขณะเดียวกันพบว่าเรตินอลภายในเซลล์ตับจะถูกส่งผ่านจากเซลล์ตับไปยังเซลล์สเทลเลต (stellate cells) ที่อยู่บริเวณรอบ ๆ ผนังไซนูซอยด์ของตับในลักษณะการขนส่งแบบพาราไครน์มากกว่าที่จะเป็นการหลั่งเรตินอลจากตับเข้าสู่กระแสเลือดและไปยังเซลล์สเทลเลต เนื่องจากระยะเวลาที่เซลล์ตับส่งเรตินอลไปยังเซลล์สเทลเลตเกิดขึ้นรวดเร็วมาก วิตามินเอประมาณ 90% ภายในตับจะเก็บอยู่ในเซลล์สเทลเลต ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของเรตินิลเอสเธอร์ การขนส่ง (transportation ) ที่เซลล์ผนังของสำไส้เล็ก จะมีปฏิกิริยาเอสเทอร์ริฟิเคชันของเรตินอลกับกรดไขมัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพาล์มมิติก เกิดเป็นเรตินิลเอสเทอร์ซึ่งจะรวมกับไคโลไมครอน(chylomicron) เพื่อนำส่งผ่านระบบน้ำเหลือง(lymphatic system)ไปยังตับ ตับจะเก็บวิตามินเอ ไว้ในรูปเรตินิลเอสเทอร์ ก่อนที่วิตามินเอในรูปเอสเทอร์ จะถูกนำจากตับไปยังอวัยวะต่างๆของร่างกาย มันต้องถูกไฮโดรไลซ์กลับเป็นเรตินอลก่อน เรตินอลจะถูกส่งออกจากตับ โดยเกาะรวมไปกับโปรตีนที่มีชื่อว่า retinol binding protein, RBP ซึ่งสังเคราะห์ขึ้นจากตับและ จะต้องเกาะรวมไปกับโปรตีนอีกชนิดหนึ่งคือ พรีอัลบูมิน(prealbumin) ดังนั้นในกระแสโลหิต เรตินอลจะเกาะไปกับ RBP และพรีอัลบูมินในอัตราส่วน 1:1:1
เมื่อเรตินอลเอสเธอร์เข้ามาสู่ตับแล้วจะถูก hepatocytes ซึ่งเป็น hepatic parenchymal cell เก็บไว้ ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ของวิตามินเอในร่างกายจะเก็บสำรองไว้ที่ตับในรูปเรตินอลเอสเธอร์ที่มีกรดไขมันโซ่ยาว ประมาณ 9 เปอร์เซ็นต์ ที่ไต ปอด ต่อมอะดรีนาล เรตินา และ intraperitoneal fat และอีกประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ อยู่ในเลือด
เมื่อมีความต้องการใช้ วิตามินเอ จะถูกปล่อยออกมาจากตับในรูปของเรตินอล ทั้งนี้เพราะการเคลื่อนย้ายและการขนส่งวิตามินเอ (รูปที่ 1.7) จากที่เก็บสำรองในตับจะตองมีการ hydrolase retinyl ester เสียก่อนด้วย retinol ester hydrolase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีความสำคัญในการควบคุมการปล่อยเรตินอลจากแหล่งเก็บสำรอง จากนั้นเรตินอลเสรีจะคอนจูเกตกับโปรตีนเรียกว่า Retinol-binding protein (RBP) ที่มีมวล 20,000 ซึ่งสังเคราะห์ที่ตับและหลั่งออกมาใช้โดยเซลล์พาเรลไคมา ของตับ RBP เป็น แอลฟา-โกลบูลิน โปลีเป็ปไทด์สายเดี่ยว มีกรดอะมิโน 182 ชนิดมี single binding site กับ เรตินอล เมื่อคอนจูเกตแล้วจะได้ retinol-RBP complex แล้วปล่อยออกมาในกระแสเลือด ในซีรั่ม RBP ที่มีอยู่ในกระแสเลือดจับกับเรตินอลเป็น holo-RBP และรวมกับโปรตีนอีกชนิดหนึ่งมีชื่อว่า transthyretin (TTR) ในสัดส่วน 1:1:1 TTR มี binding site ถึง 4 ตำแหน่ง เมื่อรวมแล้วจึงได้เป็น protein-protein complex (TTR-RBP-retinol complex)
การที่เรตินอลจับกับ RBP เพื่อทำให้มีการละลายได้ง่ายขึ้นและป้องกันการถูกทำลายให้เสียไปโดยขบวนการออกซิเดชั่น การจับกับโปรตีนเป็น protein-protein complex เป็นการทำให้การจับเรตินอล กับ RBP ถาวรขึ้น ประมาณ 95.5% ของพลาสมาเรตินอลจะอยู่ในรูปของ TTR-RBP-retinol complex 4.4 % เป็น RBP-retinol complex และมีส่วนน้อยมาก (0.1%) ทีเป็น unbound retinol
การเปลี่ยนโปรวิตามิน เอ เป็นวิตามิน เอ พวกแคโรทีนอยด์ที่เป็นโปรวิตามินเอ ประมาณครึ่งหนึ่งจะถูกดูดซึม จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอเสรี ที่ผนังลำไส้และตับโดยเอนไซม์ b-carotene-15-15’dioxygenase ได้เรทินัลอณูเดียว หรือ สองอณู แล้วแต่ชนิดของโปรวิตามิน ต่อไปเรทินัลจะถูกรีดิวส์ได้เป็นเรทินอล โดย nonspecific aldehyde reductase ซึ่งมี NADH2 หรือ NADPH2 เป็นโคเอนไซม์ (รูปที่ 1.5 )ในร่างกาย เบต้า-แคโรทีนที่ได้รับจากอาหารจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ได้เพียง 1/6 เท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sponser

News in Thailand

.