You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Absorption of Iron (Fe)

แหล่งที่มา (Source) เหล็กพบมากในพืชสีเขียว พืชตระกูลถั่ว ตับ เลือดแห้งป่น เนื้อป่น ปลาป่น
การดูดซึม (Absorption) กระบวนการแตกตัวของเหล็กจากอาหารและการดูดซึมของธาตุเหล็กในสัตว์ยังไม่ทราบแน่ชัด ในสัตว์กระเพาะเดี่ยว สารประกอบเหล็กที่ซับซ้อนที่มีอยู่ในอาหารจะถูกดึงออกจากอาหารโดยกรดไฮโรคลอริคและเอนไซม์เปบซิน ทำให้ถูกดึงออกมาในรูปของ ferric ion และถูกรีดิวซ์เป็น ferrous ion
การดูดซึมของเหล็กเกิดขึ้นที่ดูโอดินั่ม และการดูดซึมอาจกล่าวได้ว่ามี 2 แบบ คือ การดูดซึมโดยตรงโยผนังลำไส้ และการขนถ่ายเข้าสู่เลือดโดย Intestinal epitheliocytes โดยเยื่อเมือกของผนังลำไส้มีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า” blocking mechanism” เมื่อบริเวณนี้อิ่มตัวด้วยเหล็กในรูป ferritin การดูดซึมก็จะหยุด แต่ในขณะที่บางรายงานกล่าวว่าการดูดซึมของเหล็กไม่เกี่ยวกับ blocking mechanism แต่การดูดซึมขึ้นอยู่กับปริมาณของสารที่ทำหน้าที่เป็น Chelating agents ในลำไส้ที่จะรวมกับไอออนของเหล็ก เช่น ascorbic acid , tocopherol , -SH group ของกรดอะมิโนที่มีซัลเฟอร์เป็นองค์ประกอบ และ gluthathion แต่อย่างไรก็ตาม ถ้ามีสารประอบอินทรีย์ เช่น Oxalates , citrates phytates ที่จะรวมกับเหล็กให้อยู่ในรูปที่ไม่ละลายจึงมีผลต่อการดูดซึมเหล็ก ขบวนการควบคุมเหล็กของร่างกายถูกควบคุมโดยขบวนการดูดซึมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดูดซึมเหล็กมีดังนี้ คือ อายุ สุขภาพของสัตว์หรือสภาพของแต่ละตัว สภาพของระบบทางเดินอาหาร จำนวนและกลไกการได้รับเหล็กเข้าสู่ร่างกาย จำนวนและสัดส่วนของส่วนประกอบในอาหารทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ การดูดซึมเหล็กเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะบริเวณดูโอดินั่ม และเจจูนั่ม มีการดูดซึมมากที่สุด เหล็กถูกดูดซึมในรูปของเฟอรัส , รูปของเฟอริคในอาหารและการรวมตัวกับสารประกอบอินทรีย์ กรดแอสคอร์บิค (Vitamin C) และซีสทีนในอาหารอาจจะช่วยเปลี่ยนสถานะของเหล็กจาก เฟอริคเป็นเฟอรัสและช่วยเพิ่มการดูดซึมเหล็ก นอกจากนี้การดูดซึมของธาตุเหล็กจะเกิดขึ้นได้ดีในสภาพเป็นกรด โดยทั่วไปในสัตว์ที่โตเต็มที่ การดูดซึมเหล็กอยู่ระหว่าง 5-10%ในอาหารที่มีหล็กอยู่อย่างเพียงพอแต่อาจจะมีค่าเพิ่มขึ้นเป็น 15-20% ได้ในสัตว์ที่ได้รับอาหารที่มีเหล็กต่ำหรือในช่วง intensive erythropoiesis หรือถ้ามีปริมาณเหล็กน้อยในแหล่งสะสม ส่วนในลูกโคมีการดูดซึมเหล็กได้ 15-20% ของเหล็กที่มีอยู่ในน้ำนมแต่การดูดซึมของเหล็กที่อยู่ในรูป Ion Sulphates หรือ Oxides พบว่ามีการดูดซึมได้ไม่สูงนัก ในโคนมที่ได้รับธาตุเหล็กจากอาหารหยาบสด พบว่ามีการสะสมเหล็กประมาณ 1.3% แต่มีความแปรปรวนในสัตว์แต่ละตัวสูง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sponser

News in Thailand

.