You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Niacin, B3

บทนำ (Introduction) กรดนิโคทินิก (Nicotinic acid) มีอีกชื่อว่า ไนอาซิน (Niacin) บางทีเรียกว่า วิตามินบี 3 บางทีเรียกวิตามินพีพี (PP) เพราะมีคุณสมบัติเป็น pellagra preventing factor มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น รสเปรี้ยวเล็กน้อย อาจใช้ในรูปนิโคตินาไมด์ (Nicotinamide) ซึ่งมีรูปร่างลักษณะเหมือนกันเพียงแต่มีรสขมมาก
กรดนิโคทินิก หรือไนอาซิน ประกอบขึ้นจากวงแหวนอะนิลีน (aniline) และมีหมู่คาร์บอกซิลเป็นหมู่ฟังก์ชัน ในธรรมชาติพบอนุพันธุ์ของกรดนิโคทินิกในรูปนิโคทินาไมด์ (nicotinamide) เนื่องจากชื่อของวิตามินคือกรดนิโคทินิกซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนกับสารนิโคทิน (nicotin) ซึ่งพบในใบยาสูบ จึงเรียกวิตามินนี้ว่า ไนอาซิน กรดนิโคทินิกมีสมบัติค่อนข้างเสถียร คือสามารถทนต่อกรด, ด่าง, ความร้อน และแสงแดดได้เป็นอย่างดี
วิตามินนี้เดิมมีชื่อว่า “pellagra preventive factor” การที่มีชื่อเรียกอย่างนี้เพราะเมื่อร่างกายขาดวิตามินนี้จะทำให้เกิดโรค “pellagra” ซึ่งเกิดจากการที่บริโภคข้าวโพดเป็นอาหารหลักเป็นระยะเวลานาน ๆ จะมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น คือ ผิวหนังเป็นผื่นแดง หนา และปวดแสบปวดร้อน ซึ่งเข้าใจว่าเกิดจากการที่ร่างกายขาดกรดอะมิโน tryptophan ต่อเมื่อให้ tryptophan อาการของโรคก็จะหายไป
โครงสร้าง (Structure) กรดนิโคทินิก เป็นผลึกรูปเข็ม ทนต่อความร้อนได้ถึง 230°C นอกจากนี้ยังทนต่อกรด ด่าง และแสงสว่าง ละลายน้ำและแอลกอฮอล์ได้ดี แต่ไม่ละลายในอีเธอร์ ดังนั้นในการหุงต้มอาหารวิตามินนี้จะสูญเสียไปเพียงเล็กน้อย
สูตรทางเคมีของ niacin คือ pyridine 3-carboxylic acid ซึ่งสามารถเปลี่ยนไปเป็น amide ได้ง่าย และละลายน้ำได้ดีกว่า นิโคทินาไมด์เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์เอนไซม์ 2 ชนิด คือ nicotinamide adenine dinucleotide (NAD+) และ nicotinamide adenine dinucleotide phosphate (NADP+) โคเอนไซม์ทั้งสองชนิดนี้มีบทบาทสำคัญโดยทำหน้าที่เป็นปัจจัยร่วมของเอนไซม์ในกระบวนการขนส่งอิเล็กตรอน ซึ่งจะพบเป็นส่วนใหญ่ในเนื้อเยื่อของสัตว์ทั่ว ๆ ไปโดยทำหน้าที่เป็นตัวรับไฮโดรเจนอะตอมในรูปไฮโดรด์ไอออน (H-) คือ ไฮโดรเจนอะตอมที่มีอิเล็กตรอนเกิน 1 ตัว นอกจากนี้ NADP+ ยังเป็นโคเอนไซม์ที่รับ H- ในวิถีเพนโทสฟอสเฟต (pentose phosphate pathway) ได้เป็น NADPH ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่อยู่ในสภาพรีดิวซ์และนำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์สารชีวโมเลกุลต่าง ๆ เช่น การสังเคราะห์กรดไขมัน, คอเลสเทอรอล รวมทั้งกรดอะมิโนและฮอร์โมนบางชนิด เป็นต้น
แหล่งกำเนิด (Sources) ทั้งกรดนิโคตินิกและนิโคตินาไมด์นี้ ส่วนใหญ่ได้จากการสังเคราะห์ สำหรับในอาหารพบว่ามีไวตามินนี้มากในยีสต์ รำข้าว ถั่วต่าง ๆ พบมากในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น เนื้อหมู, เนื้อวัว, ปลา, ไก่, นม, และไข่ เป็นต้น วิตามินนี้ละลายได้ค่อนข้างดีในน้ำร้อน, ไม่ละลายในน้ำเย็น, มีความทนต่อทุกสภาวะ อาทิเช่น ความเป็นด่าง, ความร้อน, แสงสว่าง และปฏิกิริยาออกซิเดชัน เป็นต้น
ร่างกายสามารถสังเคราะห์ไนอาซินจาก tryptophan ได้ โดยปกติถ้าร่างกายได้รับอาหารที่มี tryptophan ตามต้องการและร่างกายมีเมตาบอลิสมตามปกติ ก็ถือว่าร่างกายได้รับไนอาซินเพียงพอไปด้วย เหตุนี้เองการบอกคุณค่าหรือปริมาณไนอาซินในอาหารจึงมักบอกเป็นค่าของ niacin equivalent (NE) ในคนปกติ tryptophan 60 มิลลิกรัม จะเปลี่ยนไปเป็นกรดนิโคตินิกได้ 1 มิลลิกรัม ดังนั้น NE ของอาหารจะมีค่าเท่ากับ 1 มิลลิกรัม หรือ 60 มิลลิกรัมของ tryptophan ที่มีในอาหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sponser

News in Thailand

.