You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Add and Toxicity of Choline

X. การเสริมโคลีน โคลีนเป็นสารประกอบทางเคมีที่มีในอาหารทั่วๆไปและอาหารเสริม โคลีนที่ได้จากสารประกอบจำพวก แก้สธรรมชาติ เช่น methanol และ แอมโมเนียซึ่งให้ผลผลิตเป็น trimethylamine แล้วผลผลิตสุดท้ายเป็นโคลีนสำหรับนำไปใช้ประโยชน์จะอยู่ในรูป โคลีนคลอไรด์ (86.6%) ส่วนใหญ่ที่ใช้ประโยชน์70% ในของเหลว 25-60% เป็นผงแห้ง การตอบสนองการเสริมโคลีนในรูปของอาหารจะขึ้นอยู่กับชนิด อายุของสัตว์เพราะสัตว์แต่ละชนิดจะสามารถสังเคราะห์โคลีนได้แตกต่างกัน แต่อาจไม่เพียงพอก็จะมีการเสริมในรูปของอาหารบำรุงสัตว์ที่อายุน้อยๆจะไม่ต้องการโคลีนเพิ่มถ้ามีระดับของสาร methionine สูงพอสำหรับผลิตโคลีนได้ Methionine สามารถให้ methyl group สำหรับสังเคราะห์โคลีนแต่ถ้ามีโคลีนในระดับที่เพียงพอกับความต้องการ methionine ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ ซึ่งความสัมพันธุ์ของโคลีนกับ methionine ดังแสดงใว้ในหัวข้อที่ VI และVII ได้มีการวิจัยระดับโคลีนในแม่สุกรที่เป็นโรค Spraddled hindleg คือข่วงแรกของการตั้งครรภ์ระดับโคลีนที่ต้องการคือ 3000 mg/ แม่หมู 1 ตัว ช่วงที่2 ระยะสุดท้ายของการตั้งครรภ์ จะต้องการเพิ่มขึ้นต่อวันถึง 4200 – 4500 mg สำหรับมนุษย์ได้รับโคลีนและ methionine ในอาหารจำพวกพืชและเนื้อสัตว์ การเสริมโคลีนจึงไม่จำเป็นเว้นแต่จะใช้เป็นอาหารบำรุงในทารก เด็กหนุมสาวที่ชอบทานอาหารที่ขาดโปรตีนหรืออาหารที่มีการฟอกสูงและคนไข้ที่ขาดสารอาหารมากๆจึงจะมีการเพิ่มโคลีนในอาหารทารกพวกผลิตภัณฑ์นมมีการบอกระดับปริมาณโคลีนที่ต้องการอย่างเด่นขัด โคลีนที่ใช้ในอาหารส่วนมากคือ 70% โคลีนคลอไรด์ในรูปสารละลาย หรือ 25-60% เป็นผงแห้ง หรืออยู่ในรูปยาเม็ด อาหารเหลว ควรเก็บไว้ในที่มิดชิด
XI. ความเป็นพิษ ( Toxicity ) การทดลองถึงความเป็นพิษในสัตว์ เมื่อได้รับโคลีนมากเกินไปจะมีอาการ น้ำลายออกมามากเกินไป หัวใจเต้นแรง พูดตะกรุตะกระ กล้ามเนื้อกระตุก ผิวหนังมีสีเขียวเนื่องจากขาดออกชิเจน มีอาการชัก และระบบทางเดินหายใจเป็นอัมพาต มีการทดลองให้โคลีนคลอไรด์แบบ LD50 ในหนูโดยให้ในปริมาณ 3.4-6.7 กรัม/1กิโลกรัมน้ำหนักตัวหนู ระดับโคลีนที่มากเกินความต้องการคือ 868-2000 ppm ในไก่จะเห็นว่าเกิดอาการเป็นพิษเมื่อได้รับ 2 เท่าของความต้องการ ในมนุษย์ที่ได้รับโคลีนหรือ lecithin มากเกินไปจะมีผลต่อระบบกระเพาะอาหารและลำไล้ชนิดเฉียบพลัน เหงื่ออออกมาก มีน้ำลายออกมากกว่าปกติและสูญเสียการอยากอาหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sponser

News in Thailand

.