You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Cobal, (Co) 4

1. กระบวนการ Metabolism A. การดูดซึม โคบอลต์สามารถถูกดูดซึมได้อย่างง่ายดาย โดยการทดลองย่อยในสัตว์และมนุษย์มีความ สามารถในการดูดซึมประมาณ 26.2% ของปริมาณสารทั้งหมดของโคบอลต์ที่สามารถดูดซึมได้ (อ้างอิงจาก Toskes และคณะ,1973) ด้วยเหตุที่จากการศึกษาในมนุษย์ปกติสามารถบ่งชี้ได้ว่าภายในลำไส้ของมนุษย์สามารถดูดซึมได้ตั้งแต่ 20 ถึง 97% (อ้างอิงจาก Smith, 1987) การดูดซึมสารละลายโคบอลต์ในสัตว์เคี้ยวเอื้องนั้นจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าสัตว์ที่มีกระเพาะเดียวประมาณ 3% จากการเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของวิตามินบี 12 ในรูเมน (กระเพาะที่ 1 ของสัตว์เคี้ยวเอื้อง) (อ้างอิงจาก Smith และ Marston, 1970) ตามที่กระบวนการดูดซึมที่ผ่านทางช่องปากหรือการเคี้ยวเอื้องภายในสารโคบอลต์ในแกะหรือวัวควายจะเกิดขึ้นประมาณ 84-98% จะปรากฏให้เห็นจากอุจจาระของสัตว์ภายใน 5 ถึง 14 วัน (อ้างอิงจาก Smith, 1987) ประสิทธิภาพของการควบคุมโคบอลต์ให้เปลี่ยนไปอยู่ในรูปของวิตามินบี 12 จะแปรผันกลับกับโคบอลต์ที่ถูกนำเข้าไปในครั้งแรก ดังนั้น Smith และ Marston (1970) ได้รายงานไปในอัตรา 8-18% ของกระบวนการการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ในแกะที่มีการควบคุมโคบอลต์ แต่จะมีเพียงประมาณ 3% เมื่อสารที่ผ่านเข้าไปครั้งแรกเพียงพอแล้ว ในวิตามินบี 12 ที่ถูกผลิตได้จะมีเพียงแค่ 1 ถึง 3% เท่านั้นที่จะถูกดูดซึมเข้าไป ในบรรดาของสายพันธุ์สัตว์ทั้งหมด บริเวณที่มีการดูดซึมของสัตว์เคี้ยวเอื้องจะมีการเกาะอยู่น้อยมากในบริเวณลำไส้ที่มีขนาดเล็ก กระบวนการดูดซึมจะผ่านลงไปยังลำไส้เล็กส่วนต้น และก็จะมีการดูดซึมอีกครั้งที่บริเวณลำไส้เล็กส่วนปลาย การดูดซึมที่ได้ผลไม่ดีนักก็จะส่งผลไปยังจุลินทรีย์ที่อยู่ในกระเพาะอาหารด้วย ประสิทธิภาพของการดูดซึมจะลดลงตั้งแต่สารโคบอนต์ได้เปลี่ยนสภาพไปเป็นสารที่ไม่ใช่วิตามินบี 12 ซึ่งจะไม่สามารถดูดซึมหรือถูกนำไปใช้ได้อีก หรือบางทีในการผลิตสารออกมาระหว่างวิตามินบี 12 กับสารที่ไวต่อการการย่อยสลายก็จะถูกควบคุมโดยกระบวนการทางเคมี
ในส่วนของวิตามินบี 12 จะมีการส่งผ่านไปยังผนังของลำไส้ซึ่งมีความต้องการสารดังกล่าวและจะถูกนำไปใช้ทั้งเนื้อเยื่อที่อยู่ภายในและภายนอกที่สามารถจับตัวกับสารวิตามินนั้นได้ จากการทดลองและศึกษาตามความต้องการนี้ (อ้างอิงจาก McDowell. 1989) (1) การควบคุมปริมาณวิตามินบี 12 ให้ได้รับอย่างเพียงพอ (2) สำหรับกระเพาะอาหารปกติที่ไม่สามารถดูดซึมโปรตีนจากอาหารได้จะได้รับวิตามินบี 12 ที่ถูกปล่อยออกมา (3) กระเพาะอาหารปกติที่ผลิตสารประกอบเพื่อไว้สำหรับดูดซึมวิตามินบี 12 ที่บริเวณลำไส้เล็กส่วนปลาย (4) ตับอ่อนปกติ (ทริปซิน) ต้องการวิตามินบี 12 ที่ถูกปล่อยออกไปก่อนที่จะมีการจับตัวกันระหว่างวิตามินกับสารประกอบภายใน และ (5) บริเวณลำไส้เล็กส่วนปลายจะทำหน้าที่เป็นเสมือนตัวจับสารและใช้ในการดูดซึมด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sponser

News in Thailand

.