You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พาราไธรอยด์ฮอร์โมนและฮอร์โมนแคลซิโตนิน

บทบาทของพาราไธรอยด์ฮอร์โมน การหลั่งพาราไธรอยด์ฮอร์โมนออกมาจากต่อมไธรอยด์พบว่าจะถูกตอบสนองเมื่อระดับของแคลเซียมที่ต่ำในเลือดหรือใน intercellular fluid เท่านั้น และยิ่งมีการตอบสนองมากในกรณีที่ระดับของฟอสเฟตในเลือดมีการเปลี่ยนแปลงด้วย กลไกการทำงานของพาราไธรอยอ์ฮอร์โมนต่อการรักษาสมดุลของแคลเซียมนั้น โดยเพิ่มการดึงแคลเซียมออกจากกระดูก ในขณะเดียวกันกระตุ้นการขับออกของฟอสฟอรัสที่ไต การกระตุ้นการดึงแคลเซียมออกจากกระดูกโดยพาราไธรอยด์ฮอร์โมนยังไม่แน่ชัด แต่อาจเกิดขึ้นจากผลของ citrate ion ซึ่งทำให้มีความเป็นกรด-ด่างลดลง นอกจากนี้ยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในกระดูกโดยเพิ่มกิจกรรมของ osteoclasts และลดกิจกรรมของ osteoblasts นอกจากนี้ยังมีผลทางอ้อมต่อการรักษาสมดุลของระดับแคลเซียมในเลือด โดยมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิตามินดี ที่ไปมีผลต่อการดูดซึมของแคลเซียมที่ลำไส้และการเพิ่มการดูดกลับของแคลเซียมที่ convoluted tubules ในไต บทบาทของฮอร์โมนแคลซิโตนิน ฮอร์โมนนี้มีการสังเคราะห์ขึ้นที่ special papafollicular cells ที่อยู่ในต่อไธรอยด์ สำหรับในสัตว์ปีกและปลามีการผลิตขึ้นที่อวัยวะพิเศษคือ ultimobronchial bodies กลไกการทำงานของฮอร์โมนแคลซิโตนินในการรักษาสมดุลแคลเซียมไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่าไปมีผลไปลดกิจกรรมของ osteoblasts ป้องกันการสลายของ hydroxyapatite crytals เนื่องจากการทำงานของพาราไธรอยด์ฮอร์โมน และในขณะเดียวกันไปยับยั้งการสลายของแร่ธาตุและสารอินทรีย์ของกระดูก สำหรับการหลั่งฮอร์โมนแคลซิโตนินเกี่ยวข้องกับ adenylcyclase system ซึ่งระบบนี้ถูกกระตุ้นโดยกลูคากอน และ adrenalin ในสุกร แกะ และสุนัข การหลั่งฮอร์โมนแคลซิโตนินเกิดจาก B-adrenergic blocking agents ที่มีผลต่ออะดินาลีน แต่ในสัตว์ปีกการหลั่งเกิดจากเพื่อการป้องกันการดึงแคลเซียมออกจากกระดูกจำนวนมากในช่วงที่มีการวางไข่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sponser

News in Thailand

.