You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Deficiency of Choline

IX. การขาดโคลีน (Deficiency) อาการที่ขาดปกติคือทำให้การเจิญเติบโตได้ไม่ดี ทำให้การเจริญเติบโตที่ผิดปกติ (Perosis) เกิดการตกเลือดในไตและข้อต่อ มีไขมันสะสมในตับและมีความดันเลือดสูง ในเป็ดไก่ มีผลต่อการออกไข่และการตายของตัวอ่อนเพิ่มขึ้นอาการและความรุนแรงขึ้นอยู่กับสัตว์แต่ละชนิด ดังแสดงในตารางที่14.3 ผลของการขาด (Effect of Deficiency) 1. สัตว์เคี้ยวเอื้อง ปรากฎการณ์ขาดโคลีนจากการวิเคราะห์ให้อาหารที่มี15%casein ภายใน 6-8 วันพบว่า ฝูงสัตว์มีอาการที่อ่อนแอ หายใจหอบ และไม่สามารถยืนได้ แล้วทำการให้โคลีนเพิ่มโดยให้ 260 มิลลิกรัมต่อน้ำนม 1 ลิตร มีผลทำให้สามารถขัดขวางอาการที่สบายได้มีงานวิจัยในวัวนมพบว่าเมื่อให้โคลีนทำให้ผลผลิตที่สูงขึ้น 2. สุกร สุกรเมื่อขาดโคลีนแล้วทำให้เกิดลักษณะที่ไม่ดี ขาสั้นและท้องป่องยื่นออกมา มีความบกพร่องของการเคลื่อนไหวเกิดจากข้อต่อไม่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะที่สบักและไหล่ การแทรกซึมของไขมันในตับ การอุดตันของท่อไต และทำให้เกิดเนื้อเยื่อผิดปกติ ซึ่งอาการที่เกิดจากการมี methionine ต่ำในอาหาร (0.8%) ปกติควรจะได้รับ 1.6% ส่วนการเกิด “ Spraddled hindleg “ เป็นปัญหาที่พบเห็นบางครั้ง อาจเกิดจากขาดโคลีนหรือพันธุ์กรรมมาเกี่ยวข้องก็ได้ Spraddled hindleg จะเริ่มแสดงอาการโดยกินอาหารลดลง ยิ่งสุกรตัวเมียที่ตั้งครรภ์ปกติจะกินอาหาร 2.7-3.2 ก.ก /วัน ลดลงเหลือ 1.4-2.0 ก.ก /วัน รายงานวิจัยที่แสดงว่าหมูตัวเมียที่ขาดโคลีนมีอัตราการตั้งครรภ์ต่ำหรือเมื่อคลอดแล้วมีอัตราการรอดต่อครอกต่ำ ส่วนหมูที่มีอายุมากจะไม่แสดงอาการเมื่อขาดโคลีน คณะกรรมการ NRC ได้กำหนดการเพิ่มโคลีนในอาหารสุกรแม่พันธุ์อุ้มท้องที่ระดับ 770 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหาร ในระหว่างที่ตั้งครรภ์ และช่วงให้นม และช่วงหย่านมด้วย โดยมีการทดลองใช้หมูเพศเมีย 551 ตัว โดยให้อาหาร 15% โปรตีน ใช้กากถั่วเหลืองเป็นแหล่งวัตถุดิบ และใช้หัวบีทบดละเอียด 7.5% พบว่าหมูที่กินโคลีนเพียงพอจะมีอัตรารอดต่อครอกมากขึ้น 3. เป็ดไก่ การขาดโคลีนทำให้การ เจริญเติบโตช้า และมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติในเป็ดไก่รุ่น มีการตกเลือดที่ข้อเท้า เอ็นที่ข้อเท้าอักเสบแล้วหลุดจากปลายกระดูกข้อต่อ ทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้ มีการศึกษาป้องกันการเจริญที่ผิดปกติซึ่งโคลีนเป็นที่ต้องการสำหรับการสร้าง Phospholipids สำหรับการเริญเติบโตที่ปกติของพวกสารสร้างกระดูกอ่อนของกระดูก ส่วนไก่ที่โตแล้วเชื่อว่าสามารถสังเคราะห์โคลีนได้เพียงพอสำหรับการออกไข่ แม่ไก่ที่ขาดโคลีนจะมีผลต่อการออกไข่ มีรายงานว่าการให้โคลีน 500 ppm ในไก่ไข่พันธุ์เล็กฮอร์น สามารถเพิ่มน้ำหนักไข่ได้ ส่วนนกคุ่มจะมีผลต่อเปลือกหุ้มไข่ ซึ่งความต้องการโคลีนในนกคุ่มจะมีมากกว่าไก่และเป็ด ความต้องการโคลีนในการเจริญเติบโตของไก่ลดลงตามอายุ ดังนั้นระดับของ methionine ไม่สามารถบอกความต้องการโคลีนในไก่ได้เมื่ออายุมากกว่า 8 สัปดาห์ขึ้นไปตรงกันข้ามกับความต้องการโคลีนในการเจริญเติบโตของสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมเช่น หมูและหนู 4. ปลา อาการที่ขาดจะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติและอาจเกิดจากชนิดของสัตว์หรืออาหารที่กินเข้าไป อาการที่พบคือ มีไขมันสะสมในตับ โลหิตจาง มีการตกเลือดในตับ ไต และลำไส้และอาการอื่นๆพบใน ปลา แซลมอน ปลาเทร้าท์ ปลาคาบ ปลาดุก และปลาบรึม ปลาคาบปกติแล้วจะพบการเจริญที่ปกติมากเมื่อขาดโคลีนจะมีแค่เกิดการสะสมไขมันในตับมากกว่า 10 % ส่วนปลาทูน่าที่ญี่ปุ่นเมื่อขาดจะเบื่ออาหารทำให้เจริญเติบโตไม่ดีและเมื่อผ่าซากพบว่าลำไส้มีสีขาวเทา ส่วนการศึกษาในกุ้งฝอยหลัง 4 สัปดาห์ กุ้งฝอยที่ขาดโคลีนจะมีลักษณะตัวเล็กกว่าตัวที่เปรียบเทียบในทางสถิติ 5. สัตว์อื่นๆ a. สัตว์ในห้องทดลอง หนูตะเภาเมื่อขาดการเจริญเติบโตไม่ดี โลหิตจาง กล้ามเนื้ออ่อนแรง หนูและ mice มีการสะสมไขมันในตับ ซึ่งในหนูจะเปลี่ยนไปเป็นโรคตับแข็งหรือเกิดเนื้อเส้นใยที่ผิดปกติในตับ ส่วน mice ทีการตกเลือดในตับ b. กระต่าย จตตช้ากว่าปกติ สะสมไขมันในตับและตับแข็ง ท่อไตอักเสบ c. สุนัขและแมว ในลูกสุนัขถ้าขาดทำให้เกิดการหดตัวของต่อม Thymus ( ต่อมไร้ท่อที่อยู่ด้านหลังกระดูกเต้านมไปถึงบริเวณต่อมไธรอยด์ ส่วนแมวจะมีผลต่อการไหลชึมของไขมันในกลีบตับ และระดับอัลบลูมินในเลือดต่ำและการเจริญเติบโตลดลง d. ลิง จำพวกขีบัส ลิงรัชัส และลิงบาบูนที่กินโคลีนน้อยใน 1-2 ปีจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไขมันในตับและเนื้อเยื่อในตับ e. มนุษย์ ความสัมพันธ์ของโคลีนมีผลต่อความหนาของผนังเส้นเลือดแดงใหญ่จากการศึกษาพบว่าถ้าขาดโคลีนจะทำให้เส้นเลือดเสียหายได้ เกิดโรคเลือดคั่ง เส้นเลือดตีบ จากการศึกษาพบว่าโคลีนยังป้องกันโรคความจำเสื่อมและโรคทางประส่าท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sponser

News in Thailand

.