You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ฟอสฟอรัส (Phosphorus) 4

ขบวนการเมแทบอลิซึม (Metabolism of phosphorus) กระบวนการเมแทบอลิซึมของฟอสฟอรัสในร่างกายค่อนข้างซับซ้อน แต่ที่มีการเปลี่ยนแปลงมากจะเป็นการแลกเปลี่ยนของฟอสฟอรัสระหว่างแหล่งสำรองที่อยู่ในโครงร่าง และอวัยวะอื่น ๆ กับฟอสฟอรัสที่ถูกดูดซึม อัตราการแลกเปลี่ยนในเนื้อเยื่อมีอัตราที่ลดลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น แต่สามารถเพิ่มขึ้นได้อีกถ้ามีความต้องการในระบบการสืบพันธุ์ เช่น การเจริญพัฒนาของ fetus และช่วงให้น้ำนม (lactation) ในช่วงที่สัตว์ต้องการฟอสฟอรัสในปริมาณที่สูง สัตว์จะมีการดึงฟอสฟอรัสที่สะสมในโครงร่าง (กระดูก) และลดการสูญเสียฟอสฟอรัสจากภายในไปกับมูล และมีการเพิ่มการดูดซึมฟอสฟอรัสที่ลำไส้เล็ก และในกรณีที่สัตว์มี inorganic phosphates มากที่อาจเกิดจากการแลกเปลี่ยนดูดกลับจากกระดูก จะถูกขับออกทางปัสสาวะผ่านทางใด ในสัตว์ปีก กระต่าย ลูกโคมีการขับออกของฟอสฟอรัสทางไตเป็นส่วนใหญ่ ส่วนสุกรมีการขับออกมาผ่านไตและทางเดินอาหารอย่างละเท่า ๆ กัน
กลไกการควบคุมการเมแทบอลิซึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัส ทั้งแคลเซียมและฟอสฟอรัสมีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งมีความสัมพันธ์ทั้งที่อยู่ในทางเดินอาหาร ในของเหลวภายในเซลล์ ในระบบกระดูกและเลือด และยังจำเป็นในกระบวนการทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นในร่างกาย กระบวนการที่เกิดขึ้นนี้ร่างกายของสัตว์ต้องมีกลไกในการควบคุมการดูดซึมและการขับออกของทั้งแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย เพื่อให้มีแร่ธาตุทั้งสองอยู่ในระบบอย่างเหมาะสม ในการควบคุมระดับความเข้มข้นของทั้งแคลเซียมและฟอสฟอรัส จะเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน ได้แก่ พาราไธรอยด์ฮอร์โมน, แคลซิโตนิน และวิตามินดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sponser

News in Thailand

.