You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ซีลิเนียม (silinium)

เดิมเข้าใจว่าซีลิเนียมเป็นธาตุที่เป็นพิษต่อสัตว์ เพราะสัตว์ที่เลี้ยงในเขตที่มีธาตุซีลีเนียมสูง เมื่อกินพืชที่มีซีลิเนียมสูงจะแสดงอาการขัดข้อ เดินโซเซ (Blind stagger’s disease) ผม ขนร่วง กีบพิการ ปัจจุบันพบว่าซีลิเนียมเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยซีลิเนียมเกี่ยวข้องกับการใช้วิตามินอี และกรดอะมิโนที่มีกำมะถัน ซีลิเนียมเป็นส่วนประกอบของกลูตาไธโอนเปอรอกซิเดส (Glutathione peroxidase) ในเม็ดเลือดแดง วิตามินอีและซีลิเนียมเป็นสารต้านการเติมออกซิเจนในร่างกาย ช่วยป้องกันอันตรายจากการเติมออกซิเจนให้แก่ส่วนต่างๆของเซลล์ นอกจากนี้ซีลีเนียมเกี่ยวข้องกับการทำลายพิษที่เกิดจากปรอทที่เป็นสารปนเปื้อนในอาหาร ในสัตว์เลี้ยงมีซิลิเนียมประมาณ 20 –25 mg/Kg LW แต่ค่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับปริมาณซีลิเนียมในอาหาร นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับอายุสัตว์ด้วย ซีลิเนียมพบอยู่ทั่วไปในเนื้อเยื้อ, เซลล์ และของเหลวในร่างกาย แต่ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ความเข้มข้นของซีลิเนียมในเลือดมีค่าอยู่ระหว่าง 50 ถึง 180 mg/L ซึ่งความเข้มข้นของซีลิเนียมในเม็ดเลือดแดงมีมากกว่าในพลาสม่าสองเท่า หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า 70% ของซีลิเนียมในเลือดอยู่ในเม็ดเลือดแดง การดูดซึม, เมแทบอลิซึม และการขับออก ซีลิเนียม ที่ได้รับจากอาหารที่มีการดูดซึมอย่างรวดเร็ว ทั้งในสัตว์เคี้ยวเอื้องและไม่เคี้ยวเอื้อง ในสุกรและในแกะ บริเวณที่มีการดูดซึมมากที่สุดเกิดในส่วนปลายของลำไส้เล็ก ส่วนการขับออกของซีลิเนียมจากภายในเข้ามาในทางเดินอาหรจากส่วนดูโอดินัม โดยมากับน้ำดี (ในรูป taurine) และน้ำย่อยจากตับ ปริมาณการดูดซึมซีลิเนียมในสัตว์ไม่เคี้ยวเอื้องสูงกว่าสัตว์เคี้ยวเอื้อง (85% กับ 35% ตามลำดับ) และยิ่งมีการดูดซึมมากขึ้นในสัตว์ที่ได้รับอาหารที่มีซิลิเนียมน้อย การดูดซึมซีลิเนียมที่เสริมในอาหารรูป ซีลิเนียม- กรดแอมมิโน สูงกว่าในรูป ซิลิไนท์ (selinite) กลไกการดูดซึมซีลิเนียมเป็นในลักษณะต่อต้านความเข้มข้น ที่ต้องอาศัยพลังงาน หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นการดูดซึมแบบ active mechanism นอกจากนี้ มีรายงานว่า การดูดซึมซีลิเนียม – กรดแอมมิโน มีกลไกการดูดซึมคล้ายกับ ซัลเฟอร์ –กรดแอมมิโน และเกิดในบริเวณเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sponser

News in Thailand

.