You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ฟอสฟอรัส (Phosphorus) 5

บทบาทของวิตามินดีกับเมแทบอลิซึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัส วิตามินดีมีอยู่หลายรูป เช่น วิตามินดี2 (ergocalciferol, vitamin D2) และวิตามินดี3 (cholecalciferol, vitamin D3) โดยรูปที่มีบทบาทต่อเมแทบอลิซึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัส คือ vitamin D3 การสังเคราะห์วิตามินดี 3 สัตว์ได้รับวิตามินดี 3 จากอาหารและมีการสังเคราะห์ใต้ผิวหนังโดยการกระตุ้นของแสงโดยแสงอุลตราไวโอเลทที่อยู่ในแสงแดด จะเปลี่ยน 7-dehydrocholesterol เป็น previtamin D3 ส่วนวิตามินดี 2 และ 3 ที่ได้จากอาหารมีการดูดซึมในลำไส้เล็กผ่านระบบน้ำเหลือง เมื่อวิตามินดีมาถึงที่ตับมีการเปลี่ยนให้เป็น 25-hydroxyvitamin D แล้วปลดปล่อยเข้ากระแสเลือด โดยมีการรวมตัวกับโปรตีนเพื่อนำไปยังไต โดยเฉพาะในกรณีที่มีการหลั่งพาราไธรอยด์ฮอร์โมน แคลเซียมในเลือดต่ำหรือฟอสฟอรัสในเลือดต่ำ ที่ไตมีการเปลี่ยนไปเป็น steroid hormone คือ 1,25-(OH)2D3 แล้วถูกพาไปยังอวัยวะเป้าหมาย เช่น ลำไส้ กระดูก ไต ต่อมน้ำนม เป็นต้น หลังจากนั้นจะมีการเมแทบอไลซ์ภายในเซลล์เป้าหมาย ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของ calcium binding protein (Ca-BP), 1,25-(OH)2D-receptor, alkaline phosphatase, osteocalcin และ Ca2+ ATPase เป็นต้น โดยเฉพาะบริเวณลำไส้ 1,25-(OH)2D3 จะช่วยให้การดูดซึมของแคลเซียมผ่านเข้าไปในเซลล์ผนังลำไส้ โดยเพิ่มการผลิต Ca-BP และเกิดการขนย้ายแคลเซียมเข้าสู่กระแสเลือดแบบ active transport หรือเกิด Na+/ Ca2+ exchange ในขณะที่บทบาทของวิตามินดีต่อฟอสฟอรัสคล้ายคลึงกับแคลเซียม แต่การกระตุ้นการสังเคราะห์ 1,25-(OH)2D3 เป็นผลจากการกระตุ้นจาก growth hormone ที่ไปมีผลต่อการเพิ่มการสังเคราะห์ renal 1-hydroylase แล้วไปมีผลต่อการสังเคราะห์ 1,25-(OH)2D3 ที่เพิ่มขึ้น เพิ่มการดูดซึมของฟอสฟอรัสที่ลำไส้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sponser

News in Thailand

.