You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Molybdenum (Mo)

โมลิบดินัม ถึงแม้จะเพิ่งพบและจัดเป็นพวกแร่ธาตุจำเป็นสำหรับในอาหารพวกพืช แต่ก็มีความสำคัญในอาหารสัตว์ เนื่องจากว่ามีพิษมากกว่าการเป็นแร่ธาตุจำเป็นเสียอีก ซึ่งพิษของโมลิบดีนัมทำให้เกิดอาการ reart คือ ท้องเสียไม่หยุด
หน้าที่สำคัญของโมลิบตินัม เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ xanthine oxidase ซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเมแทบอลิซึมของ purine และยังเป็นองค์ประกอบของเนไซม์ nitrate reductase, bacterial dehydrogenase
กระบวนการเมแทบอลิซึมของโมลิบดินัม เมแทบอลิซึมของโมลิบดินัมค่อนข้างซับซ้อน โมลิบดินัมมีการละลายได้ดีในรูป sodium หรือ ammonium molybdates และสารประกอบที่ไม่ละลายบางตัว เช่น MgMoO3 ที่สามารถดูดซึมได้ แต่การดูดซึมของโมลิบดินัมที่อยู่ในรูปของ disulphide MoS2 ได้ต่ำ การดูดซึมของโมลิบดินัมขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์ , อายุ และระดับของโมลิบดินัมในอาหาร แต่โดยทั่วไปโมลิบดินัมดูดซึมได้ประมาณ 20-30% ของที่ได้รับ โมลิบดินัมที่ถูกดูดซึมจะเก็บไว้ในเนื้อเยื่อ และการขับออกของโมลิบดินัมจะเกี่ยวข้องกับแร่ธาตุ ทองแดง และ inorganic sulphate ความสัมพันธ์ของแร่ธาตุทั้งสามตัวอาจกล่าวได้ดังนี้ โมลิบดินัม โดยเฉพาะในที่อยู่ในรูป molybdenum sulphate จะลดการสะสมของทองแดงในอวัยวะและลดการสังเคราะห์ ceruloplasmin เป็นผลให้มีทองแดงขับออกมาในน้ำดีน้อยและขับออกมากับปัสสาวะมากขึ้น การเพิ่มขึ้นของทองแดงในอาหารมีผลให้ผลการสะสมของโมลิบตินั่มที่ตับลดลง และเมื่อ sulphate ในอาหารเพิ่มขึ้น การขับออกของโมลิบดินัมในปัสสาวะเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ในขณะเดียวกันการสะสมของโมลิบดินัมในเนื้อเยื่อลดลง
ลักษณะอาการและการป้องกันในกรณีที่ได้รับโมลิบดินัมมากเกินไป โดยปกติลักษณะอาการขาดของโมลิบดินัมในสัตว์ไม่ค่อยเกิด แต่โอกาสในการเกิดลักษณะการได้รับโมลิบดินัมมากเกินไปมีมากกว่า การได้รับโมลิบตินั่มมากเกินไปจะทำให้ลักษณะอาการที่คล้ายคลึงกับที่พบในสัตว์ที่มีการขาดทองแดงในสัตว์ หรือที่เรียกว่า “molybdenolis” เป็นลักษณะของการเกิดการลดลงของทองแดงที่สะสมในตับลดลง และอาจทำให้ทองแดงในเลือดลดลงด้วย ในแกะพบว่า มีการแสดงออกเช่น การเจริญเติบโตลดลง, lameness, กระดูกแตกหักง่าย และมีวิการในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ส่วนในโค พบว่า มีปัญหาทางด้านการสืบพันธุ์, การเจริญเติบโตลดลง, ท้องร่วง (debilitating scours) และซูบผอม นอกจากนี้ในโคนมหลังคลอดอาจมีลักษณะอาการเรียกว่า “post parturient haemoglobinuria”
เอกสารอ้างอิง ฉลอง วัชิราภากร. 2543. โภชนศาสตร์แร่ธาตุของสัตว์. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศรีสกุล วรจันทรา และรณชัย สิทธิไกรพงษ์. 2539. โภชนศาสตร์สัตว์. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์. กรุงเทพฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sponser

News in Thailand

.