You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Metabolism of Vitamin A

วิตามินเอที่ได้รับจากอาหารอาจอยู่ในรูปเรตินอล, เรตินิลเอสเทอร์หรือ b-แคโรทีน เรตินอลที่เข้าสู่ร่างกาย เมื่อถึงลำไส้เล็กจะรวมตัวกันเป็นไมเซลล์ แล้วถูกดูดซึมเข้าสู้ผนังลำไส้เล็ก ส่วนเรตินิลเอสเทอร์จะต้องเปลี่ยนไปเป็นเรตินิลก่อน โดยเอ็นไซม์พวกไฮโดรเลส (hydrolase) ที่มากับน้ำย่อยจากตับอ่อน สำหรับ b-แคโรทีน ขั้นแรกจะถูกเปลี่ยนไปเป็นเรตินาล (retinal) โดยเอ็นไซม์พวกออกซิเจเนส (oxygenase) ของเยื่อบุผิวลำไส้ หลังจากนั้นเอ็นไซม์อัลดีไฮด์รีดัคเทส (aldehyde reductase) จะช่วยเปลี่ยนเรตินาให้เป็นเรตินอลต่อไป
การย่อยและการดูดซึมเรตินอลต้องอาศัยน้ำดี และน้ำหลั่งจากตับอ่อน แต่ในปัจจุบันได้มีการศึกษาและรายงานว่าการย่อยสลายเรตินิลเอสเทอร์ไม่จำเป็นต้องอาศัยน้ำหลั่งจากตับอ่อน(อีกชื่อเรียกว่า cholesterol ester hydrolse) ซึ่งจะไปย่อยเรตินิลเอสเทอร์ที่มีไขมันโซ่สั้น ส่วนเอนไซม์ที่อยู่ภายใน BBM จะทำหน้าที่ย่อยเรตินิลเอสเทอร์ที่มีกรดไขมันโซ่ยาว เรตินิลเอสเทอร์ในอาหารที่ร่างกายได้รับเข้าสู่ร่างกายพร้อมกับอาหารไขมันและจะเปลี่ยนไปเป็นเรตินอลที่ปนังลำไส้ หลังจากนั้นก็จะ esterified กับกรดปาล์มติกก่อนจะรวมกับไคโลไมครอน
การดูดซึม preform ของวิตามินเอ ในอาหารส่วนใหญ่จะอยู่ในสภาพของเรตินิลเอสเธอร์ของกรดไขมันโซ่ยาว วิตามินเอในร่างกายส่วนใหญ่ได้จากสารตั้งต้นทีมาจาก provitamin A คือพวกแคโรตีนอยด์ เรตินิลเอสเธอร์จะถูกย่อยสลายด้วยไลเพสและเอสเธอเรสจากตับอ่อนที่ลำไส้เล็ก (รูปที่1.6) การย่อยและการดูดซึมเรตินอลต้องอาศัยน้ำดี และน้ำหลั่งจากตับอ่อน ในปัจจุบันได้มีการศึกษาและรายงานว่า การย่อยสลายเรตินิลเอสเธอร์ไม่จำเป็นน้ำหลั่งจากตับอ่อน แต่ใช้เอนไซม์ที่อยู่บน brush border membrane (BBM) ได้แก่ ไลเพสจากตับอ่อน (อีกชื่อเรียกว่า cholesterol ester hydrolase) ซึ่งจะไปย่อยเรตินิลเอสเธอร์ที่มีไขมันโซ่สั้น ส่วนเอนไซม์ที่อยู่ภายใน BBM จะทำหน้าที่ย่อยเรตินิลเอสเธอร์ที่มีกรดไขมันโซ่ยาว เรตินิลเอสเธอร์ในอาหารที่ร่างกายได้รับเข้าไปจะถูกเปลี่ยนไปเป็นเรตินอลในลำไส้ก่อนที่จะถูกดูดซึมต่อไป แคโรทีนจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายพร้อมกับอาหารไขมันและจะเปลี่ยนไปเป็นเรตินอลที่ผนังลำไส้ หลังจากนั้นก็จะ esterified กับกรดปาล์มิติค (palmitic acid) ก่อนจะรวมกับไคโลไมครอน
กลไกในการ esterified เรตินอลต้องอาศัยเอนไซม์ที่มีอยู่ภายในเซลล์ของลำไส้ตรงส่วน เจจูนั่ม 2 ชนิด คือ Acyl CoA:retinol acyltransferase (ARAT) และ lecithin:retinol acyltransferase (LRAT) เอนไซม์ LRAT นี้จะ esterified retinol ที่จับอยู่กับ retinol binding protein II (RBP) ส่วน ARAT จะ esterified แต่เฉพาะ retinol เสรีเท่านั้น เมื่อเรตินอลถูก esterified เป็นเรตินอลเอสเธอร์ แล้วจะเข้ารวมกับไคโลไมครอนเข้าสู่ท่อน้ำเหลือง เข้าระบบไหลเวียน และไปยังตับเพื่อเมตาบอไลส์และเก็บสำรองไว้ Dietary source

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sponser

News in Thailand

.