You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Toxicity and deficiency of Iodine

การขาดธาตุไอโอดีนก็จะแสดงการเกิดโรคคอพอก เกิดขึ้นได้ทั้งในคนและสัตว์ เนื่องจากดินฟ้าอากาศ ภูมิอากาศ ฤดูกาล การเกิดโรคคอพอกส่วนใหญ่เป็นการระบาดแบบ endermic ในคนที่มีการขาดไอโอดีน ส่วนในสัตว์การเกิดโรคคอพอกมักจะมีสาเหตุมาจากการได้รับน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย โดยทั่วไปจะรวมถึง mineral deficiencies ในระบบการจัดการทุ่งหญ้าที่ใช้ในการปล่อยแทะเล็ม (grazing stock) โดยส่วนมากการเกิดการขาดธาตุไอโอดีน (Iodine deficiency disorder ; IDD) ในพื้นที่ติดภูเขาสูง , ใกล้กับพื้นที่ที่มีความลาดชันมาก เช่นเทือกเขาสูง การขาดไอโอดีนในพื้นที่ในเมือง โดยมากจะพบในพื้นที่ที่มีลมแรง ๆ มีฝนตกชุก เพราะการถ่ายเทเอาแร่ธาตุปลีกย่อย เช่น ไอโอดีนจากทะเล มายังดิน หรือพื้นที่ที่มีไอโอดีนหมดลง โดยการชะล้าง หรือพื้นที่มีน้อยอยู่แล้ว หรือมีปริมาณฝนตกน้อย ในสุกร ทำให้ระบบสืบพันธุ์ล้มเหลวหรือไม่ทำหน้าที่ , ลูกเกิดอ่อนแอตาย, การเกิดขนไม่มี ในประเทศที่มีความเสี่ยง ส่วนในสัตว์ที่เกิดมารอดชีวิตจะอ่อนแอและตายในที่สุด แม้กระทั่งต่อมไธรอยด์มีขนาดใหญ่ขึ้น การเกิดจุดเลือดออก ลูกสุกรอ้วนเกินไป ผิวหนังบาง โดยเฉพาะที่หัวและคอ สุกรโตพบอาการ hypothyroidism มีกระดูกขาสั้น dwarred apparence ขนาดต่อมไธรอยด์โตมากกว่าปกติ ในสัตว์ปีก มีการเกิดค่อนข้าต่ำ , ขนาดของต่อมไธรอยด์มีขนาดใหญ่ จะสังเกตเห็นได้ชัดเจนในสภาพพื้นที่ที่มีอาหารไอโอดีนต่ำ (ประมาณ 0.025 ppm) ในแม่ไก่ไข่หากได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอ จะแสดงต่อผลผลิตไข่และขนาดต่ำ, decrease hatchability หรือ thiourea ในแม่ไก่ทำให้เกิดโรคอ้วน การสะสมไขมัน, เป็นต้นเหตุของการไม่โต , การงอกขนไม่สม่ำเสมอ ในเพศผู้การ spermatozoa การสร้างขน การแสดงออกของเพศผู้ไม่แสดง ชนิดของสัตว์มีความรู้สึกไว (Susceptibility) ต่อความเป็นพิษของไอโอดีน แต่สัตว์จะมีความทนต่อระดับของไดโอดีนมากเกินความต้องการ และมีความทนต่อระดับไอโอดีน เช่น สัตว์เคี้ยวเอื้อง ระดับ 50 ppm , สุกร 400 ppm , สัตว์ปีก 300 ppm , ม้า 5 ppm (NRC , 1980) สำหรับในสัตว์เคี้ยวเอื้อง การเแสดงถึงความพิษของไอโอดีน อาจเกิดขึ้นเมื่อ มีอยู่ในอาหาร 50 – 100 ppm ในสัตว์อายุน้อยมีความไวต่อการพิษของไอโอดีนน้อยกว่าสัตว์ที่กำลังให้นม ในลูกสัตว์เคี้ยวเอื้องพบว่าทนต่อความเป็นพิษได้ที่ระดับ 50 ppm ในการเติมลงในอาหารทดแทนนม ได้นาน 5 สัปดาห์ Toxicosis จะรวมถึงลดความอยากอาหาร (depress apatite) , dull (ความไม่คล่องตัว , สมองไม่สั่งงาน) , listless (เซื่องซึมไม่กระตือรือร้น) , excessive tear (น้ำตาไหลมากเกินไป) , การให้อาหารไอโอดีนมากเกินไปทำให้การสูญเสียการทำหน้าที่ระบบการทำงานของฮอร์โมน , ระบบการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน (cell- mediated immune system) โดยลดความสามารถการสร้าง antibodyที่จะตอบสนองต่อการเกิดโรค ซึ่งการเป็นพิษของไอโอดีนเป็นไปอย่างรวดเร็วหลังได้รับไอโอดีนมากเกินไป ความเป็นพิษที่แสดงออกมาในไก่ไข่ เลี้ยงในกรงตับ คือ ลดผลผลิตไข่ ขนาดไข่ลดลง และลด hatchbility ในสุกร หากได้รับไอโอดีนในอาหารระดับ 400 ppm ไม่กดการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหาร แต่หากได้รับ 800 ppm ไปกดการเจริญเติบโต ลดการกินได้ ลดระดับของเม็ดเลือด ลดความเข้มข้นของระดับธาตุเหล็กในตับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sponser

News in Thailand

.