การดูดซึมและการขนส่ง
แอลฟา-โทโคเฟอรอล ถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก โดย non-saturation passive diffusion การดูดซึมนี้ต้องอาศัยน้ำดีและเอนไซม์จากตับอ่อน โทโคเฟอริลเอสเธอร์จะถูก hydrolysed ด้วยเอนไซม์ เอสเธอเรสจากตับอ่อน(6) Gallo-Torres, (1980) พบว่าแอลฟา-โทโคเฟอรอล และ acetate ester จะถูกดูดซึมได้ 21-86% ภายใน 2 ซม. การดูดซึมวิตามินนี้เป็นไปเช่นเดียวกับ การดูดซึมสาร hydrophobic ทั่ว ๆ ไป กล่าวคือ เข้าสู่ท่อน้ำเหลือในสภาพที่รวมมากับ chylomicron แอลฟา-โทโคเฟอรอล และ แกมมา-โทโคเฟอรอลจะมีการดูดซึมคล้ายคลึงกัน แต่แกมมา-โทโคเฟอรอลจะถูกขับออกทางน้ำดีได้ง่ายกว่า จึงพบว่าสารประกอบชนิดนี้มีน้อยในพลาสมา แม้ว่าจะพบปริมาณค่อนข้างมากในอาหาร ส่วนบีตาและเดลตาโทโคเฟอรอลจะถูกดูดซึมได้น้อยมาก(1)
Chylomicron ที่อยู่ในกระแสเลือดจะถูก lipoprotein lipase สลายให้ส่วนของ remnant ส่งไปยังตับ จากนั้นแอลฟา-โทโคเฟอรอลจะถูกปล่อยออกมากับ very low density lipoprotein (VLDL) เมื่อ VLDL สลายจะปล่อยให้แอลฟาโทโคเฟอรอลจับกับ LDL และ HDL จากนั้นจะไปส่งต่อให้กับเนื้อเยื่อที่ต้องการโดยไม่ต้องอาศัย receptor แอลฟา-โทโคเฟอรอลส่วนใหญ่จะเก็บสะสมไว้ที่ adipose tissue ตับ และกล้ามเนื้อ แอลฟา-โทโคเฟอรอลจะเคลื่อนย้ายจาก adipose tissue ได้ช้ามากแม้ร่างกายจะขาดวิตามินอีก็ตาม(7,8)
การขนส่งวิตามินอี ภายในเซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ ต้องอาศัย adipose tissue specific tocopherol-binding protein (TBPs) ของอวัยวะนั้น ๆ เช่น พลาสมาเมมเบรนของเม็ดเลือดแดง ตับ หัวใจ สมอง และเยื่อบุผนังลำไส้ เป็นต้น วิตามินอีใน non-adipose cells จะอยู่บนแมมเบรนและมีแหล่งรวมวิตามินอี 2 แหล่ง คือ “labile” และ “fixed” polls ซึ่งทั้ง 2 แหล่งนี้จะมี rate of trun over แตกต่างกันไป labile pool ส่วนใหญ่อยู่ในพลาสมาและตับ ซึ่งสามารถจะเคลื่อนย้ายวิตามินอีออกมาได้รวดเร็ว ส่วนวิตามินอีที่อยู่ใน adipose tissue เป็น fixed pool ซึ่งจะเคลื่อนย้ายได้ยากเมื่อร่างกายต้องการ ดังนั้นปริมาณของวิตามินอีในอวัยวะต่าง ๆ จึงแตกต่างกันมากดังแสดงในตารางที่ 2(9)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น