เมตาบอลิซึม
เมื่อแคลเซียมถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้แล้ว จะถูกส่งไปตากกระแสโลหิต และถูกปล่อยไปสู่ของเหลวที่ให้ความชุ่มชื้นแก่เนื้อเยื่อ ทั่วร่างกาย ซึ่งเซลล์ต่าง ๆ ก็จะดึงเอาแคลเซียมออกมาใช้เพื่อทำหน้าที่ตามปกติ และเพื่อการเจริญเติบโตบางสวนของแคลเซียมจะเป็นส่วนหนึ่งของสารทึ่ขับออกทางเดินอาหารเข้าสู่กระเพาะอาหารและลำไส้ ส่วนใหญ่ของมันจะถูกดูดกลับ แต่แคลเซียมที่มีในอุจจาระประมาณ 130 ม.ก. ถูกขับออกโดยไม่ได้คำนึงถึงแคลเซียมเลย เมื่อ blood plasma ถูกกรองผ่านไตประมาณ 99% ของแคลเซียมจะถูกดูดซึมและอีก 1% จะถูกขับออกทางปัสสาวะ ประมาณ 100 - 175 % ต่อวัน ส่วนใหญ่แคลเซียมทีร่างกายดูดซึมมาจะนำไปใช้เพื่อ calcification ของกระดูกทำให้กระดูกมีความทน การเกาะของแคลเซียมในกระดูกได้รับการส่งเสริมจากวิตามินดี และเอนไซม์ฟอสฟาเทส การควบคุมระดับแคลเซียมในเลือดให้อยู่ระหว่าง 9 - 10 มิลลิกรัมในเลือด 100 มิลลิลิตร เป็นหน้าที่ของพาราทอร์โมน ซึ่งเป็นฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์ แคลเซียมในเลือด จะต้องสมดุลย์กับแคลเซียมในกระดูกประมาณ 1 ใน 3 ของแคลเซียมทั้งหมด
การใช้แคลเซียมในร่างกาย
ผลของการกินน้อย
ในเด็กจะทำแกร็นหรือเติบโตช้า หรือเติบโตไม่เต็มที่ ฟันไม่แข็งแรง ถ้าขาดมากและได้รับวิตามินดีไม่พอหรือได้รับแสงแดดไม่พอ จะเป็นโรคกระดูกอ่อน แคลเซียมในเลือดต่ำ เลือดแข็งตัวช้า และมีอาการชักในหญิงมีครรภ์ และหญิงให้นมบุตร ถ้าได้รับแคลเซียมไม่พอ
ผลของการกินมากเกินไป
จะมีขนาดของโครงกระดูกใหญ่ มีอายุยืนกว่าพวกที่กินแคลเซียมต่ำในคนอาหารที่มีแคลเซียมสูงจำทำให้สูงขึ้น และมีความทึบแน่นของกระดูก มากขึ้นน
ที่มา :
ปาหนัน บุญ - หลง. โภชนาการ. พิมพ์ครั้งที่ 4. เชียงใหม่. ปอง, 2530.
เสาวนีย์ จักรพิทักษ์. หลักโภชนาการปัจจุบัน . พิมพ์ครั้ที่ 4. กรุงเทพ ฯ :
ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, 2532.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น