การขนส่ง (Transport)
สำหรับการขนถ่ายเหล็กจากเยื่อเมือกไปยังอวัยวะส่วนต่างๆนั้น มีอยู่ใน 2 รูปแบบ คือ Fe3+-Ferrintin (ในเนื้อเยื่อ) และ Fe2+-tranferrin (ในเลือด) เหล็กที่สะสมในตับและม้ามอยู่ในรูป ferrintin ซึ่งประกอบด้วย protein apoferritin และ apoferritin และสารประกอบของ iron hydroxide กับ phosphoric acid ซึ่งสารประกอบของเหล็กเหล่านี้มีการเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างเยื่อเมือก เลือด และในตับ ม้าม เพื่อสร้างสมดุลของเหล็กในร่างกาย เหล็กที่อยู่ในพลาสมาจะถูกนำไปสังเคราะห์เป็น haemoglobin, myoglobin และเอนไซม์ซึ่งเป็นผลให้เหล็กมีการสูญเสียจากเลือดและเกิดการเคลื่อนย้ายจากแหล่งสะสมของเหล็กเข้ามาในพลาสมา เมื่อปริมาณของเหล็กในม้ามลดลงจะมีการกระตุ้นให้เกิดการดูดซึมของเหล็กมากยิ่งขึ้น เพื่อให้มีปริมาณของเหล็กในแหล่งสะสมอยู่อย่างเหมาะสมหรืออาจกล่าวได้ว่า ปริมาณของเหล็กในแหล่งสะสมต่างๆสามารถบอกถึงความต้องการเหล็กของสัตว์ได้ แต่กลไกในการควบคุมส่วนนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด ดังนั้น ความเข้มข้นของเหล็กในตับของสัตว์สามารถใช้ในการวินิจฉัยความเพียงพอหรือขาดของเหล็กในสัตว์ได้
การขับออกของเหล็ก
การสูญเสียเหล็กจากภายในส่วนมากมากับการหลั่งของน้ำดี และการหลุดลอกของเนื้อเยื่อในทางเดินอาหาร การสูญเสียเหล็กออกนอกร่างกายจะเกิดเมื่อมีจุดเลือดออกหรือเมื่อฮีโมโกลบินแตกสลาย เหล็กจะถูกปล่อยออกมานำไปยังตับและถูกหลั่งเข้าไปรวมในน้ำดี นอกจากนี้การสูญเสียเหล็กจะเกิดจากภาวะทางโภชนาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการเจริญเติบโตหรือเมื่อสัตว์ตั้งท้อง เหล็กถูกขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระรวมถึงสูญเสียทางเหงื่อ ขนและเล็บ จำนวนเหล็กทั้งหมดที่พบในอุจจจาระเป็นเหล็กจากอาหารที่ไม่สามารถดูดซึมได้ แม้ว่าการขับเหล็กทิ้งทางปัสสาวะและอุจจาระเป็นการสูญเสียหลักยังมีการสูญเสียเหล็กทางอื่นอย่างต่อเนื่อง เช่น เหงื่อ ขน และเล็บ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น