การดูดซึม(Absorbtion)
ในอาหารและน้ำ ไอโอดีน จะอยู่ในรูป อนินทรีย์ไอโอไดด์ (inorganic iodide) เมื่อเข้าระบบท่อ ทางเดินอาหาร (Gl tract) จะถูกดูดซึมโดยการจับกันแบบหลวมๆ ของ plasma protien ไอโอดีน ในรูปไอโอไดด์ จะถูกดูดซึมเข้าไปยังปอด ส่วนรูปสารประกอบไอโอดีน เช่น ไอโอโดฟร์อ นำเอาไอโอดีนเข้าผ่านทางผิวหนังได้ การกินอาหารที่มีไอโอดีน การหลั่งน้ำลาย หรือ ของเหลวที่กินในการย่อยและถูกตัดทอน (Breakdown) ไอโอดีน ฮอร์โมน จะถูกดูดซึมกลับมาโดยผ่านทางเดินของระบบย่อยอาหาร ในสัตว์เคี้ยว เอื้องมีประมาณ 70-80% ในส่วนของกระเพาะรูเมนเป็นที่ดูดกลับ และอีก 10% ดูดกลับในส่วนกระเพาะ Abomasum เพราะไอโอดีน มีความสัมพันธ์โดยตรงในของเหลวในกระเพาะรูเมนโดยสารประกอบไอโอดีน รูป lodothyronine และ iodinated amino acid เป็นตัวที่ทำให้มีการดูดกลับ การนำไปใช้ของเนื้อเยื่อและการกระจายตัวไอโอดีนถูกดูดกลับและมีการกระจายเข้าสู่ระบบของเหลวในร่างกายได้อย่างรวดเร็ว เมื่อร่างกายได้รับแหล่งไอโอดีน โดย plasma จะถูกส่งไปยังต่อมไธรอยด์ (Thyroid gland) กว่า 90% ของที่ได้รับต่อมไธรอยด์ จะนำไปใช้ และขับออกทางปัสสาวะ ต่อมไธรอยด์ จะมีการเก็บกัก (Storage) ไว้ได้โดยระบบความเข้มข้น และจะนำถูกไปใช้โดยการ oxidise ได้อย่างรวดเร็ว และจะนำกลับมาในรูปของ Thyrosineซึ่งแสดงอยู่ในรูป Monoiodotyrosine , Diiodotyrosine , triiodotyronine (T3) , Tetraiodothyrosine(Thyroxin ; T4) และมีสารประกอบในรูปอื่นๆ เช่น Thyroglobuline เป็นรูปของไอโอดีนจับกับโปรตีนและ ไขมัน (glycoprotein) ในต่อมไธรอยด์ เป็นแหล่งที่เก็บสะสมไว้ในรูปของฮอร์โมน กว่า 90% จะเป็นรูปของไอโอดีนไธรอยด์
กระบวนการ Metabolism ของไอโอดีน ในต่อมน้ำนม, รังไข่, รก เป็นอวัยวะที่มีการดึงนำไปใช้ ไอโอดีนมาก เช่น ในตัวอ่อน (Fetus), ในสัตว์เกิดใหม่ และในรังไข่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ไอโอดีนในร่างกายช่วยให้เกิดการพัฒนาของกระเปาะไข่ (follicle) มีการดูดใช้ไอโอดีนในรูป I ซึ่งมีการสะสมในเนื้อเยื่อในเลือด ของตับอ่อน แล้วมีการขนย้าย thyroxin ไปยังตัวอ่อน อย่างรวดเร็วในระยะของการตั้งท้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น