ความต้องการของวิตามิน เอ ในสัตว์ไม่เคี้ยวเอื้อง
ในสุกรที่กินอาหารผสมซึ่งประกอบด้วย ข้าวโพดเหลืองบดและกากถั่วเหลืองมักไม่ค่อยขาดวิตามิน เอ ทั้งนี้เพราะในวัตถุดิบทั้ง 2 ชนิดดังกล่าวมี carotene อยู่หากจะเสริมให้อาจเสริมวิตามินในรูปของ carotene หรือ ถ้าเป็นสุกรเล็กควรมีการเสริมให้ในรูปพรีมิกซ์ ในไก่อาจเสริมให้ในรูปของวิตามิน เอ สังเคราะห์ร่วมกับวิตามิน ดี3 (AD3) โดยใช้วิตามินเอ 5 ส่วนผสมกับวิตามินดี3 1 ส่วน การเสริมในอาหารไก่ไข่และไก่พ่อ–แม่พันธุ์จะทำให้ไข่แดงมีวิตามินเอ สะสมมากพอต่อความต้องการของลูกไก่แรกฟักออกใหม่ ๆ
ผลการขาดวิตามิน เอ (Deficiency)
1. ทำให้สัตว์เป็นโรคตาบอดกลางคืน
2. การเจริญเติบโตลดลง ประสิทธิภาพการใช้อาหารต่ำ
3. ภูมิคุ้มกันโรคลดลง ทำให้ติดโรคได้ง่าย
4. ผิวหนังหยาบกร้านเพราะการเจริญเติบโตของเยื่อบุผิวหนังเสียไป
5. แม่สุกรที่ขาดวิตามินเอ จะผสมติดยาก แท้งลูกได้ง่าย
6. ลูกสุกรคลอดออกมาจะมีอาการผิดปกติและน้ำหนักแรกคลอดต่ำ
7. พ่อ – แม่ไก่พันธุ์จะแสดงอาการเปอร์เซ็นต์การไข่ลดลง ไข่มีเปอร์เซ็นต์ฟักออกต่ำ
8. ไก่เนื้อจะแสดงอาการเจริญเติบโตลดลง การเจริญของกระดูกผิดปกติ และเยื่อหุ้มท่อหายใจแข็งตัว ทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่าย
ภาวะเป็นพิษของวิตามิน เอ (Toxicity)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น