ไธอามิน หรือ วิตามินบีหนึ่ง เป็นวิตามินที่ละลายน้ำชนิดแรกในกลุ่มวิตามินบีทั้งหลาย 8 ชนิด แต่เดิมวิตามินนี้มีชื่อว่า antiberiberi factor, antineuritic factor เพราะในคนที่ขาดวิตามินชนิดนี้จะทำให้เกิดโรคเหน็บชา (beriberi) ส่วนในสัตว์ที่ขาดจะทำให้เกิดความผิดปกติ เรียกว่า polyneuritis ในปี ค.ศ. 1884 Takaki เป็นคนแรกที่ได้รายงานถึงการเป็นโรคเหน็บชาของนักเดินเรือชาวญี่ปุ่น ที่ได้รับแต่อาหารประเภทเนื้อสัตว์และนมเท่านั้น ต่อมาในปี ค.ศ. 1897 Eijkman ได้พบว่าเมื่อเลี้ยงไก่ด้วยข้าวที่ขัดผิวออกจนหมดเป็นเวลาไม่นาน ก็จะทำให้เกิดอาการผิดปกติ เรียกว่า polyneuritis ในปี ค.ศ. 1926 Jansen และ Donath แยกไธอามินได้จากรำข้าวเป็นผลึกสีขาว ต่อมา Williams และ Cline รู้สูตรโครงสร้างและสังเคราะห์ขึ้นได้ในปี ค.ศ. 1936 และ ตั้งชื่อว่า “Thiamine” มาจากคำว่า thio และ amine ในปัจจุบันนี้เรียก “Thiamin”
สูตรเคมีและคุณสมบัติ
อณูของ Thiamin ประกอบด้วย 2 heterocyclic rings คือ pyrimidine และ thiazole ring ต่อกันด้วย methylene bridge สารที่มีวงไธอาโซลในธรรมชาติมี 2 อย่าง เท่านั้น คือ ไธอามิน และ เพนนิซิลลิน
ส่วนใหญ่ไธอามินที่ใช้กันทั่วๆ ไปจะอยู่ในรูปของ thiamin hydrocholoride (น.น. อณู 337) ไธอามินเป็นผลึกไม่มีสี ละลายน้ำได้ในอัตราส่วน 1 กรัม/มล. มีกลิ่นคล้ายยีสต์จางๆ และ รสขมน้อยๆ เสียง่ายเมื่อละลายในด่าง หรือ ถูก oxidizing agent เช่น ferricyanide ในภาวะด่างจะได้ thiochrome ให้แสงเรืองสีฟ้าในแสง ultraviolet
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น