แหล่งของแมงกานีสในธรรมชาติ (Natural sources)
ความเข้มข้นของแมงกานีสในพืชและพืชอาหารสัตว์จะขึ้นอยู่กับปัจจัยของดิน ชนิดของพืช อายุของพืช ผลผลิตที่ได้ การจัดการปลูกพืช สภาพภูมิอากาศ และ pH ของดิน ได้มีการศึกษาถึงองค์ประกอบของแร่ธาตุในหญ้าเขตร้อนของประเทศ บราซิล พบว่าชนิด และอายุของพืชมีความสัมพันธ์กับปริมาณของแมงกานีสในพืช สภาพที่มีการระบายน้ำไม่ดี มีน้ำขังจะทำให้แมงกานีสในพืชเพิ่มขึ้น แต่ระดับของ pH ของดินที่เพิ่มขึ้นจะทำให้การใช้ประโยชน์ของแมงกานีสต่ำลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของระดับ pH จาก 5.6 เป็น 6.4 ทำให้แมงกานีสในถั่ว red clover และหญ้า ryegrass ถูกจำกัด การเปลี่ยนแปลงระดับ pH ในถั่ว clover ความเข้มข้นของแมงกานีสลดลงมา 58 เป็น 40 ppm. และหญ้าจาก 140 เป็น 130 ppm.
ส่วนแมงกานีสในวัตถุดิบอาหารสัตว์ ที่ได้จากพืชจะเป็นแหล่งของแมงกานีสที่มีมาก โดยมีปริมาณที่แตกต่างกันไปอยู่ระหว่าง 60 ถึงมากกว่า 800 ppm. ของวัตถุแห้ง เมล็ดข้าวโพด มีแมงกานีสอยู่น้อยกว่าข้าวสาลีและข้าวโอ๊ต ส่วนข้าวโพดจะมีอยู่ต่ำมากที่ 5 ppm. สำหรับข้าวบาเลย์มีมากหรือต่ำกว่าได้
แมงกานีสที่มีความเข้มข้นสูงในส่วนของ outer layer ของธัญพืชที่ถูกบดเป็นรำ ที่ทำให้การกินได้เพิ่มขึ้น การเสริมโปรตีนจากแหล่งที่ได้จากสัตว์ เช่น เนื้อป่น เลือดป่น และปลาป่น พบว่ามีปริมาณแมงกานีสต่ำ หรือประมาณ 5 – 15 ppm.
น้ำนมและการผลิตน้ำนม จะมีแมงกานีสต่ำโดยทั่วไปจะมีประมาณ 20-40 ไมโครกรัม/ลิตร ในนมน้ำเหลืองจะมีแมงกานีสมากกว่าการกินได้ และช่วงท้าย ๆ ของการผลิตน้ำนม มีการรายงานว่าการเพิ่มแมงกานีสในน้ำนม 2 – 4 เท่าโดยการให้อาหารที่มีแมงกานีสซัลเฟต (manganese sulfate) จำนวน 10 หรือ 30 กรัม/วัน ส่วนในน้ำนมของแกะและแพะเช่นกันมี 20-50 ไมโครกรัม/ลิตร จึงต้องการให้จัดการเช่นเดียวกับโคที่จะเพิ่มแมงกานีส ส่วนในคนน้ำนมจะมีแมงกานีส 4-15 ไมโครกรัม/ลิตร
สำหรับในไข่จะมีแมงกานีส 0.7 ppm. ในไข่แดงจะมีถึง 5 เท่ามากกว่าไข่ขาว แมงกานีสในไข่จะแตกต่างกันขึ้นกับระดับของแมงกานีสในอาหาร ซึ่งมีการเสริมแมงกานีสจะมีการขนส่งไปยังคัพภะ (Embryo) ที่จะต้องการใช้แมงกานีส ส่วนการรายงานเมื่อเพิ่มแมงกานีสในอาหารของแม่ไก่จาก 13 เป็น 1000 ppm. เป็นผลให้เพิ่มแมงกานีสในไข่แดงจาก 4 เป็น 33 ไมโครกรัม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น