การดูดซึม (absorption)
ในการดูดซึมวิตามินเอนั้นจะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็กโดยจะดูดซึมในรูปของเรตินอลพร้อมกับอาหารไขมัน
-ทั้งเรตินอลและเรตินัลจะแพร่เข้าสู่ไซโตพลาสซึมของเซลล์ดูดซึม จากนั้นเรตินัลจะถูก เปลื่ยนเป็นเรตินอลโดนเอนไซม์รีดักเตส (reductase) เรตินอลภายในเซลล์จะถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูป เรตินิลเอสเธอร์อีกครั้งโดยการทำงานของเอนไซม์แอซิลโคเอนไซม์เอเรตินอลแอซิลทรานส์เฟอ-เรส (acyl-Coa_retinol acytransferase) โดยที่เรตินอลจะรวมตัวกรดไขมันขนาดยาวโดยเฉพาะกับกรดปาลมิติกหรือกรดเสตียริก (Palmitic or Stearic acids) ได้เป็น เรตินิลเอสเธอร์ หรือเรตินอลจะรวมกับแอซิลโคเอนไซม์เอ (acyl-coenzyme A) ได้เป็นเรตินิลเอสเธอร์ก็ได้ จากนั้นเรตินิลเอสเธอร์จะเข้าไปอยู่ในไคโลไมครอน และถูกเคลื่อนเข้าสู่กระแสเลือดต่อไป
-ส่วนเบตาแครอทีนที่อยู่ในอาหารจะไม่เข้าไปอยู่ในไมเซลล์ โดยพบว่าเบตาแครอทีนจะแพร่จากโพรงลำไส้เล็กเข้าไปในไซโทพลาสซึมของเซลล์ดูดซึมโดยตรงจากนั้นจะถูกย่อยโดยเอนไซม์เบตาแคโรทีนไดออกซิจิเนส (b-carotene-15,15-dioxygenase) ได้เป็นเรตินัล 2 โมเลกุล แลเรตินัลจะถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปเรตินอลโดยเอนไซม์รีดักเตส และสุดท้ายจะได้เรตินิลเอสเธอร์เข้าไปอยู่ในไคโลไมครอน
เรตินิลเอสเธอร์จะอยู่ในบริเวณแกนของไคโลไมครอน ไคโลไมครอนในกระแสเลือดจะถูกย่อยโดยเอนไซม์ไลโพโปรตีนไลเพส ได้เป็นส่วนที่เหลือของไคโลไมครอน และจะเคลื่อนสู่เซลล์ตับ เนื่องจากเซลล์ตับมีตัวรับรู้ของส่วนที่เหลือ ในขณะที่ส่วนที่เหลือเคลื่อนผ่านผนังเซลล์ตับพบว่า เรตินิลเอสเธอร์จะถูกย่อยโดยเอนไซม์เรตินิลเอสเธอร์ไฮโดรเลส (retinyl ester hydrolase) ที่อยู่ในบริเวณเยื่อหุ้มเซลล์ตับได้เป็นเรตินอล จากนั้นเรตินอลจะแพร่เข้าสู่เซลล์ตับ และจะแพร่ไปยังบริเวณเอนโดพลาสมิกเรติคิวลัมเพื่อจะไปจับกับโปรตีนจับกับเรตินอล (retinol-binding protein, RBP) ได้เป็นสารประกอบเรตินอล-RBP และสารประกอบนี้จะถูกเคลื่อเข้าสู่กอลจิแอปพาราตัสเพื่อการหลั่งออกจากเซลล์ตับ ในขณะเดียวกันพบว่าเรตินอลภายในเซลล์ตับจะถูกส่งผ่านจากเซลล์ตับไปยังเซลล์สเทลเลต (stellate cells) ที่อยู่บริเวณรอบ ๆ ผนังไซนูซอยด์ของตับในลักษณะการขนส่งแบบพาราไครน์มากกว่าที่จะเป็นการหลั่งเรตินอลจากตับเข้าสู่กระแสเลือดและไปยังเซลล์สเทลเลต เนื่องจากระยะเวลาที่เซลล์ตับส่งเรตินอลไปยังเซลล์สเทลเลตเกิดขึ้นรวดเร็วมาก วิตามินเอประมาณ 90% ภายในตับจะเก็บอยู่ในเซลล์สเทลเลต ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของเรตินิลเอสเธอร์
การขนส่ง (transportation )
ที่เซลล์ผนังของสำไส้เล็ก จะมีปฏิกิริยาเอสเทอร์ริฟิเคชันของเรตินอลกับกรดไขมัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพาล์มมิติก เกิดเป็นเรตินิลเอสเทอร์ซึ่งจะรวมกับไคโลไมครอน(chylomicron) เพื่อนำส่งผ่านระบบน้ำเหลือง(lymphatic system)ไปยังตับ ตับจะเก็บวิตามินเอ ไว้ในรูปเรตินิลเอสเทอร์
ก่อนที่วิตามินเอในรูปเอสเทอร์ จะถูกนำจากตับไปยังอวัยวะต่างๆของร่างกาย มันต้องถูกไฮโดรไลซ์กลับเป็นเรตินอลก่อน เรตินอลจะถูกส่งออกจากตับ โดยเกาะรวมไปกับโปรตีนที่มีชื่อว่า retinol binding protein, RBP ซึ่งสังเคราะห์ขึ้นจากตับและ จะต้องเกาะรวมไปกับโปรตีนอีกชนิดหนึ่งคือ พรีอัลบูมิน(prealbumin) ดังนั้นในกระแสโลหิต เรตินอลจะเกาะไปกับ RBP และพรีอัลบูมินในอัตราส่วน 1:1:1
เมื่อเรตินอลเอสเธอร์เข้ามาสู่ตับแล้วจะถูก hepatocytes ซึ่งเป็น hepatic parenchymal cell เก็บไว้ ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ของวิตามินเอในร่างกายจะเก็บสำรองไว้ที่ตับในรูปเรตินอลเอสเธอร์ที่มีกรดไขมันโซ่ยาว ประมาณ 9 เปอร์เซ็นต์ ที่ไต ปอด ต่อมอะดรีนาล เรตินา และ intraperitoneal fat และอีกประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ อยู่ในเลือด
เมื่อมีความต้องการใช้ วิตามินเอ จะถูกปล่อยออกมาจากตับในรูปของเรตินอล ทั้งนี้เพราะการเคลื่อนย้ายและการขนส่งวิตามินเอ (รูปที่ 1.7) จากที่เก็บสำรองในตับจะตองมีการ hydrolase retinyl ester เสียก่อนด้วย retinol ester hydrolase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีความสำคัญในการควบคุมการปล่อยเรตินอลจากแหล่งเก็บสำรอง จากนั้นเรตินอลเสรีจะคอนจูเกตกับโปรตีนเรียกว่า Retinol-binding protein (RBP) ที่มีมวล 20,000 ซึ่งสังเคราะห์ที่ตับและหลั่งออกมาใช้โดยเซลล์พาเรลไคมา ของตับ RBP เป็น แอลฟา-โกลบูลิน โปลีเป็ปไทด์สายเดี่ยว มีกรดอะมิโน 182 ชนิดมี single binding site กับ เรตินอล เมื่อคอนจูเกตแล้วจะได้ retinol-RBP complex แล้วปล่อยออกมาในกระแสเลือด ในซีรั่ม RBP ที่มีอยู่ในกระแสเลือดจับกับเรตินอลเป็น holo-RBP และรวมกับโปรตีนอีกชนิดหนึ่งมีชื่อว่า transthyretin (TTR) ในสัดส่วน 1:1:1 TTR มี binding site ถึง 4 ตำแหน่ง เมื่อรวมแล้วจึงได้เป็น protein-protein complex (TTR-RBP-retinol complex)
การที่เรตินอลจับกับ RBP เพื่อทำให้มีการละลายได้ง่ายขึ้นและป้องกันการถูกทำลายให้เสียไปโดยขบวนการออกซิเดชั่น การจับกับโปรตีนเป็น protein-protein complex เป็นการทำให้การจับเรตินอล กับ RBP ถาวรขึ้น ประมาณ 95.5% ของพลาสมาเรตินอลจะอยู่ในรูปของ TTR-RBP-retinol complex 4.4 % เป็น RBP-retinol complex และมีส่วนน้อยมาก (0.1%) ทีเป็น unbound retinol
การเปลี่ยนโปรวิตามิน เอ เป็นวิตามิน เอ
พวกแคโรทีนอยด์ที่เป็นโปรวิตามินเอ ประมาณครึ่งหนึ่งจะถูกดูดซึม จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอเสรี ที่ผนังลำไส้และตับโดยเอนไซม์ b-carotene-15-15’dioxygenase ได้เรทินัลอณูเดียว หรือ สองอณู แล้วแต่ชนิดของโปรวิตามิน ต่อไปเรทินัลจะถูกรีดิวส์ได้เป็นเรทินอล โดย nonspecific aldehyde reductase ซึ่งมี NADH2 หรือ NADPH2 เป็นโคเอนไซม์ (รูปที่ 1.5 )ในร่างกาย เบต้า-แคโรทีนที่ได้รับจากอาหารจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ได้เพียง 1/6 เท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น