You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Metabolism and Function of Potassium

ขบวนการเมทาบอลิซึมโพแทสเซียม Metabolism หลังจากการดูดซึมเข้ากระแสเลือดแล้ว โพแทสเซียมมรการซึมผ่านไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย และการแลกเปลี่ยนของโพแทสเซียมระหว่าง intracellular และ intercellular phases ใช้เวลาภายใน 48 ชั่วโมง กระบวนการเมทาบอลิซึมของโพแทสเซียมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วใน กล้ามเนื้อ, ไต, ตับและสมอง (ในภาพที่ 1) แสดงถึงขบวนการเมทาบอลิซึมของโพแทสเซียมและโซเดียมในสัตว์
หน้าที่ทางชีวเคมีของโพแทสเซียม
โพแทสเซียม เป็นแร่ธาตุประจุบวกที่สำคัญของของเหลวภายในเซลล์ แต่มีน้อยในของเหลวนอกเซลล์ ตรงข้ามกับโซเดียม ทำหน้าที่ในการรักษาสภาวะสมดุลของอิออนของของเหลวภายในและภายนอกเซลล์ รวมทั้งความเป็นกรด – เป็นด่างและความดันออสโมซีส การที่มีโพแทสเซียมสูงภายในเซลล์ ทำหน้าที่เป็น co-factor ของเอมไซม์ที่มีหน้าที่ในการส่งผ่าน phosphate group จาก ATP ไปยัง กรดไพรูเวท (pyruvic acid) และอาจมีส่วนในการกระตุ้นและการทำงานของเอมไซม์หลาย ๆ ตัวภายในเซลล์ (โดยเฉพาะการเมทาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตโดยการกระตุ้นผ่าน ATPase) โพแทสเซียมอิออนที่อยู่ในเซลล์ร่วมกับโซเดียมอิออนที่อยู่นอกเซลล์ ทำหน้าที่ร่วมกันในการทำให้เกิด resting potential และ active potential ในการบีบรัดตัวของกล้ามเนื้อ, การส่งผ่านของกระแสประสาท และหน้าที่อื่น ๆ อีกในระบบประสาท ความเข้มข้นของโพแทสเซียมที่ต่ำทำให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลง และถ้ามีปริมาณมากมีผลทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ในช่วงจังหวะ Diastolic phase โพแทสเซียมในเม็ดเลือดแดงมีบทบาทที่สำคัญในการรักษาความเป็นกรด – ด่าง โดยเกี่ยวข้องกับการส่งผ่านของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ในของเหลวของกระเพาะรูเมนในสัตว์เคี้ยวเอื้อง โพแทสเซียมมีบทบาทรักษาความเป็นกรด – ด่าง และรักษาความชื้นของของเหลวในกระเพาะรูเมน ที่มีผลให้กระบวนการหมักโดยจุลินทรีย์เป็นไปอย่างปกติ และเชื่อว่าโพแทสเซียมมีความจำเป็นในการทำงานของจุลินทรีย์ในกลุ่มที่ย่อยเซลล์ลูโลส (cellulolytic bacteria) นอกจากนี้ โพแทสเซียมยังพบว่ามีส่วนโดยตรงต่อการสังเคราะห์โปรตีน และยังมีบทบาททีสำคัญต่อการทำงานของไตในการรักษาสมดุลความเป็นกรด – ด่าง, อิเลคโตรไลซ์ และน้ำ (ภาพที่ 2) การควบคุมความสมดุลมีส่วนเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน mineral corticoids คือ aldosterone และ deoxycorticosterone แต่ผลของฮอร์โมนเหล่านี้ที่มีต่อโพแทสเซียมถือว่าเป็นอันดับรอง ส่วนโซเดียมถือว่าเป็นอันดับแรกในการควบคุมการดูดซึมกลับของโซเดียม และการขับออกของโพแทสเซียม อย่างไรก็ตาม การเกิดทั้งสองกระบวนการมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด แต่การหลั่งของ aldosterone จะขึ้นอยู่กับระดับความเข็มข้นของโซเดียมในพลาสม่าลดลงและความเข้มข้นของโพแทสเซียมที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเพื่อรักษาสัดส่วนของ Na:K ในของเหลวนอกเซลล์ นอกจากนี้ mineral corticoids เชื่อว่ามีบทบาทต่อการทำงานของผนังเซลล์ในการควบคุมการซึมผ่านและกระบวนการ sodium – potassium pump

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sponser

News in Thailand

.