You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Copper (Cu) 2

การดูดซึม เมแทบอลิซึม และการขับออกของทองแดง การดูดซึมทองแดงส่วนมากเกิดในลำไส้เล็ก และโดยเฉพาะในลำไส้ใหญ่ ส่วนทองแดงที่ถูกขับออกมาจะอยู่ในมูลเป็นส่วนมาก และส่วนน้อยถูกขับออกมากับปัสสาวะ ซึ่งทองแดงถูกขับออกมากับน้ำดีมากในทางเดินอาหาร มีรายงานว่า การขับออกของทองแดงในน้ำดี ถือได้ว่าเป็นกระบวนหนึ่งในการรักษาสภาวะสมดุลของทองแดง และในสัตว์เคี้ยวเอื้องพบว่ามีการหลั่งทองแดงออกมากับน้ำดีน้อยกว่าในสัตว์ไม่เคี้ยวเอื้อง ในการรักษาสภาวะสมดุลของทองแดงในร่างกายถูกควบคุมโดยการขับอกของทองแดงมากกว่าเพิ่มการดูดซึมที่ลำไส้ซึ่งแตกต่างจากเหล็ก กลไกของการดูดซึมทองแดงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าทองแดงดูดซึมในรูปของ stable soluble compleses ส่วนมากจับกับกรดแอมมิโน แต่ไม่ถูกดูดซึมในรูปไอออน เมื่อถูกดูดซึมทองแดงจะจับกับอัลบูมินและกรดแอมมิโนแบบหลวม ๆ เพื่อจะเกิดการส่งผ่านไปยังตับที่เป็นที่เก็บสะสมของทองแดง การดูดซึมของทองแดงที่ได้รับจากอาหารหรือจากแหล่งเกลืออนินทรีย์สารไม่แตกต่างกัน การดูดซึมทองแดงในสัตว์ที่โตเต็มที่อยู่ระหว่าง 5-10% แต่ในลูกสัตว์ทองแดงถูกดูดซึมระหว่าง 15-30% ปัจจัยที่มีการดูดซึมของทองแดง ที่มีผลกระทบจากแร่ธาตุด้วยกัน คือโมลิบดินัมและซัล-เฟอร์ ระดับของทั้งโมลิบตินัมและซัลเฟอร์ที่มีอยู่ในอาหารมีผลกระทบการดูดซึมของทองแดง โดยโมลิบดินัมและซัลเฟอร์ลดความเป็นประโยชน์ของทองแดงในทางเดินอาหารของสัตว์ โดยการจับกับทองแดงเป็นสารประกอบที่ไม่ละลายในทางเดินอาหาร คือ Cu-thiomolybdates ทำให้การดูดซึมของทองแดงลดลง (Grace, 1983) นอกจากนี้ ปัจจัยเกี่ยวกับสัตว์สามารถมีอิทธิพลต่อการดูดซึมของทองแดง ยกตัวอย่างเช่น การดูดซึมของทองแดงในสัตว์เคี้ยวเอื้องช่วงที่กระเพาะรูเมนยังไม่พัฒนา (pre-ruminant) สูงกว่าสัตว์ที่มีกระเพาะรูเมนที่พัฒนาเต็มที่มาก (0.8 และ 0.06 ในแกะ และ 0.7 และ 0.05 ในโค) และพยาธิในทางเดินอาหารพบว่ามีผลต่อการดูดซึมของทองแดงเช่นเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sponser

News in Thailand

.