การแสดงการขาด
ในสัตว์ที่ได้รับอาหารที่ขาดแมกนีเซียม ทำให้ความเข้มข้นของแมกนีเซียมลดลง เรียกว่า Hypomagnesaemia ทำให้การเจริญเติบโตและผลผลิตลดลง มีอาการหงุดหงิด เมื่อระดับแมกนีเซียมต่ำลงมาก ๆ อาจนำไปสู่อาการสั่นกระตุก เกิดการชักดิ้นชักงอ และตายในที่สุด
อาการขาดในสุกร
อาการที่ขาดในสุกรจนถึงระดับ hyperirritability จะมีอาการกล้ามเนื้อกระตุก การทรงตัวไม่ดี อ่อนแอ และเสียความสมดุลในร่างกาย ชักและตายในที่สุด พบว่ามีอัตราการตายที่สูงในลูกสุกร จากรายงานพบว่า ถ้าสุกรขาดในระดับ 25 หรือ 75 ppm จะมีผลดังนี้ คือ slow growth, stepping syndrome, และตายในที่สุด ถ้าขาดจนถึงระดับ 125 ppm จะมีอาการ tetany and death
อาการขาดในสัตว์ปีก
สัตว์ที่ได้รับอาหารที่มีแมกนีเซียมต่ำ จะมีผลต่อการเจริญเติบโต ทำให้การเติบช้า เชื่องซึม ชักและตาย ในไก่ไข่พบว่าขนาดของไข่และน้ำหนักลดลง และอัตราการฟักออกน้อยลงด้วย ในเป็ดถ้ามีการขาดมาก ๆ ก็จะตายในระยะเวลา 10-16 วัน
อาการขาดในสัตว์เคี้ยวเอื้อง
สัตว์ที่ขาดอย่างรุนแรง คือมีระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำ (hypomagnesaemai) จะแสดงอาการชักกระตุก ชักดิ้นชักงอ และตายในที่สุด อาจเกิดพร้อมกับการขาดแคลเซียมหรือไข้น้ำนม โดยเฉพาะในโคนมที่ให้ผลผลิตในน้ำนมสูง ซึ่งจะแสดงความสัมพันธ์กับแมกนีเซียมในเลือด คือระดับของแมกนีเซียมต่ำเพียง 0.2 mmol/L ( 5 mg/L)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น