ผลการขาด (Effects of defficiency)
ลักษณะที่แสดงถึงอาหารขาดแมงกานีสคือ จะชงักการเจริญเติบโตการเจริญของโครงร่างที่ผิดปกติ ความล้มเหลวของระบบสืบพันธุ์ เกิด ataxin ของลูกสัตว์ที่เกิดใหม่ และกระบวนการเมแทบอลิซึมบกพร่อง ซึ่งความผันแปรมีความแตกต่างกันไประดับและช่วงของการขาดแมงกานีสที่มีการเจริญพัฒนาของสัตว์
สุกร
ในอาหารสุกรที่มีการขาดแมงกานีส เป็นสาเหตุทำให้การเจริญเติบโตลดลง ประสิทธิภาพของอาหาร และระบบสืบพันธุ์เสียไป การเจริญของสุกรที่ปกติจะมีระดับแมงกานีสในอาหาร 1.5 ppm. และที่เพิ่มขึ้นระดับ 6 ppm. เป็นระดับที่เหมาะสมต่อการสืบพันธุ์ ได้มีรายงานว่าการเจริญของโครงร่างที่ลดลง กล้ามเนื้ออ่อนแรง และเพิ่มการสะสมไขมัน วงรอบการเป็นสัด (estrual cycle) ผิดปกติ การดูดซึมกลับของตัวอ่อน น้ำหนักแรกเกิดต่ำและอ่อนแอ เต้านมไม่พัฒนาและไม่หลั่งน้ำนมในสุกรที่ได้รับอาหารที่มีแมงกานีส 0.5 ppm. ในอาหาร semipurified diet ช่วง 3 สัปดาห์ของการเจริญเติบโต การตั้งท้องและการให้นม ลูกสุกรที่เกิดใหม่และรอดตายจะเกิด ataxic และ ความสมดุลการทรงตัวเสียไป ในสุกรที่ขาดแมงกานีสมีลักษณะของความผิดปกติของโครงร่างโดยเฉพาะส่วนของ Lameness และข้อบวมโต (enlarged hock joint) กับ หลังโกร่ง (crooker) และขาสั้นกว่าปกติ
สัตว์ปีก
ที่มีการศึกษาของการขาดแมงกานีสในสัตว์ปีกนั้น จะทำให้เกิดโรค perosis และกระดูกอ่อน (Chondrodystrophy) ในสัตว์ปีกจะไวต่อการขาดแมงกานีสกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เนื่องจากสัตว์ปีกต้องการแมงกานีสมากเพื่อควบคุมหรือป้องกันการขาด การเกิด perosis ในไก่จะเกิดมากกว่าปกติที่มีการขาดแมงกานีส การเกิดโรคที่ทำให้กระดูกสร้างผิดปกติโดยเฉพาะส่วนของการขยายใหญ่และการสร้างผิดรูปของกระดูกแข้งฝ่าเท้าส่วนของข้อต่อ บิดงอของกระดูกแข้งและกระดูกเท้างอ ส่วนกระดูกที่ยาวจะสั้นและหนา และเกิด slippage ของ gastrocnemius หรือ Achilles tendon จาก condyies ส่วนของขาหนึ่งหรือทั้งสองขาที่จะเกิดได้ การขาดโภชนะอื่น ๆ ร่วมด้วย choline, biotin และ ไวตามินบีที่ทำให้เกิด perosis การเกิดโรคจะรุนแรงมากขึ้นเมื่อได้รับแร่ธาตุแคลเซียม และ ฟอสฟอรัส
การขาดแมงกานีสในอาหารของไก่พันธุ์ จะเป็นเหตุให้สภาพในส่วนของคัพภะของำก่เกิด chondrodystrophy ลักษณะนี้จะมีผลต่อการเจริญเติบโตการบวมน้ำ (edema) กระดูกเกิดโรคและมีอัตราการตายสูง เกิดลักษณะปากนกแก้ว ท้องจะขยายใหญ่ (หัวยาวและมีการพัฒนาส่วนต่าง ๆ ต่ำมาก)
ในไก่รุ่น การขาดแมงกานีสจะมีผลต่อลักษณะทางระบบประสาทเรียก ataxia กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ มีลักษณะของอาการท่ามองดูดาว (star-grazing) ลักษณะคล้ายกับขาด thiamine ด้วยกระดูกผิดปกติ อ่อนแอของคัพภะ การเจริญไม่ได้สัดส่วนของ otlithic matrix เป็นผลให้ส่วนของหูชั้นในผิดปกติ และทำให้การสังเคราะห์ mucopolysaccharide เสียไป
ส่วนการขาดแมงกานีสในไข่และไก่พันธุ์ จะลดการผลิตไข่ลง การฟักออกเป็นตัวลดลง เปลือกไข่บาง ลดความหนาและแข็งของไข่
สัตว์เคี้ยวเอื้อง
การขาดแมงกานีสในสัตว์เคี้ยวเอื้อง มักจะพบกับส่วนของการเจริญพัฒนาของระบบโครงร่างและสมรรถนะของการสืบพันธุ์ การขาดแมงกานีสของสัตว์เคี้ยวเอื้องภายใต้สภาพของการแทะเล็ม มักจะได้รับแมงกานีสไม่เพียงพอจะเกิดการเจริญของเนื้อเยื่อและโครงร่าง ความแข็งของกระดูกลดลง รูปร่างของกระดูกผิดปกติ ataxia กล้ามเนื้ออ่อนแรง ร่างกายมีการสะสมไขมันมากขึ้นแมงกานีสในเนื้อเยื่อลดลงในกระดูก ตับ ขน และรังไข่ การผลิตน้ำนมลดลง รวมทั้งแมงกานีสในน้ำนมลดลงด้วย การแสดงการไม่เป็นสัดยืดยาวออกไป ไม่เป็นสัด เกิดการสลายของตัวอ่อน การพัฒนาผิดปกติ น้ำหนักแรกเกิดต่ำ ลูกที่เกิดใหม่จะพิการ
ในระบบสืบพันธุ์ของสัตว์จะไวต่อการขาดแมงกานีส ซึ่งมีรายงานว่า ประมาณ 10 % ของโคที่ได้รับอาหารที่มีแมงกานีสต่ำ (20 ppm.) การเสริมแมงกานีสที่มีผลการผสมติด ได้มีการศึกษาทดลองในโค จำนวน 350 ตัว ที่ได้รับการเสริมแมงกานีส 63 % มีการตั้งท้องหลังจากที่มีการเสริม เปรียบเทียบกับกลุ่มไม่ได้เสริม 51 % เช่นเดียวกับโคที่ได้รับแมงกานีสในอาหารต่ำ จะมีผลต่อการเป็นสัดลดลง และ 3 % ตั้งท้องเทียบกับกลุ่มควบคุม 64 % ยังมีผลต่อการกินได้ต่ำลง ลูกโคที่คลอดใหม่จะพิการ หลังงอโกร่ง
ได้มีการศึกษาและรายงานว่า ในอาหารของโคควรจะมีแมงกานีส 15.8 ppm. และ 25 ppm. ส่วนลูกโคที่เกิดใหม่ที่ขาดแมงกานีสจะพบว่า อ่อนแอ ความผิดปกติที่กระดูกข้อบวม แข้งขาโก่งงอ กระดูกขาสั้น กระดูกหักง่าย
ทั่ว ๆ ไปแล้วแมงกานีสในอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องจะมีการขาดน้อยกว่าแร่ธาตุรองตัวอื่น เช่น Co , Cu , Iodine (I) , Se และ Zn ซึ่งในส่วนของพวกธัญพืช หญ้า ถั่วและ หญ้าหมัก จะมีปริมาณของแมงกานีสที่เพียงพอ แต่สัตว์ที่แทะเล็มจะขาดแมงกานีสโดยเฉพาะในเขตร้อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น