ทองแดงในร่างกายมีอยู่มากในตับ สมอง ไต หัวใจ pigment ในตา ผมและขน รองลงมามีอยู่ในตับอ่อน กล้ามเนื้อของม้าม ผิวหนัง และกระดูก ส่วนต่อมไทรอยด์ ต่อมใต้สมอง และต่อมไทมัส (thymus) มีทองแดงในปริมาณที่น้อย ในสัตว์เล็กจะมีทองแดงในอวัยวะต่างๆ ดังกล่าว ในปริมาณสูงกว่าในสัตว์ที่โตเต็มที่แล้ว ทองแดงในเลือดประมาณ 90% อยู่ในรูปของ a2-globulin, ceruloplasmin และ 10% อยู่ในเม็ดเลือดแดง
หน้าที่สำคัญของทองแดง
กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับ กระบวนการเมแทบอลิซึมของเหล็ก การสร้างเนื้อเยื่อ elastin , collagen , melanin และการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง จำเป็นต่อการสร้าง hemoglobin ในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดง (hematopoiesis) โดยเกี่ยวข้องกับการ mature ของเม็ดเลือดแดง นอกจากนั้น ยังมีผลทำให้การหมุนเวียนของเลือดเป็นปกติ เกี่ยวข้องกับการสร้างสารสี (pigment) ของสีผม และขนสัตว์ ทองแดงสามารถถูกขับออกนอกร่างกายได้โดยผ่านทางน้ำดี มีส่วนน้อยที่ถูกขับออกทาง สารที่ถูกขับออกทางตับอ่อน น้ำปัสสาวะ และเหงื่อ
แหล่งของทองแดง
ในสภาพปกติอาหารสัตว์ทั่วไปจะมีทองแดงเพียงพอ ซึ่งขึ้นอยู่กับแร่ธาตุในดินที่ปลูกพืชนั่นด้วย ทองแดงมีมากในอาหรพวกเมล็ดพืช ปัจจุบันมีการเสริมทองแดงในอาหารสัตว์ในรูปของคอปเปอร์ซัลเฟต (copper sulfate; CuSO4) หรือคอปเปอร์ออกไซด์ (copper oxide; CuO)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น