You're welcome, This is a blog knowledge about the Animals Science

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สูตรอาหาร ความต้องการโภชนะของสุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ การจัดการฟาร์ม ครับผม by suntornka

Google search

Custom Search

Sponser one

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Magnesium 2

การดูดซึม, เมแทบอลิซึม และการขับออก แมกนีเซียมที่อยู่ในอาหารส่วนมากจะรวมอยู่กับโปรตีน กรดอินทรีย์ที่มีประจุเป็นลบ ส่วนประกอบของคลอโรฟิลล์ และไฟติน ในสัตว์ไม่เคี้ยวเอื้องแมกนีเซียมเกิดการละลายในกระเพาะที่มีการหลั่งกรดไฮโดรคลอริค และแมกนีเซียมอิออนเกิดการดูดซึมที่ดูโอดินั่ม และตอนต้นของลำไส้ใหญ่ ซึ่งมีการดูดซึมทั้งแบบ facilitate diffusion และ active transport ผ่านผนังลำไส้ในทางเดินอาหาร แมกนีเซียมสามารถรวมกับสารอื่น ๆ ที่อยู่ในรูปไม่ละลายได้ เช่น carbonate , phosphatase และจับกับกรดไขมันทำให้ไม่ละลาย (magnesium soups) ซึ่งกรดที่หลั่งจากน้ำดีทำปฏิกิริยาช้ากว่า calcium soups จึงทำให้อัตราการดูดซึมแคลเซียมค่อนข้างต่ำนอกจากนี้การดูดซึมของแมกนีเซียมจะลดลง ถ้ามีจำนวนของ ไขมัน, แคลเซียม, sulphate, phosphate ions, phytic และ oxalic acids ส่วนในสัตว์เคี้ยวเอื้องบริเวณที่มีการดูดซึมแมกนีเซียม คือ กระเพาะรูเมน และมีการดูดซึมได้บ้างในลำไส้ติ่งและลำไส้ใหญ่ การดูดซึมในรูเมน จะเป็นแบบ active transport ปัจจัยที่มีผลอย่างมากต่อการดูดซึมของแมกนีเซียมคือ ระดับของโพแตสเซียมในอาหาร จากการทดลองในแกะพบว่า เมื่อระดับของโพแตสเซียมเพิ่มขึ้นจาก 2.4 เป็น 4.8 กรัม/วัน ทำให้การดูดซึมแมกนีเซียมลดลงจาก 41 % เป็น 35 % นอกจากนี้ผลของการได้รับโซเดียมต่ำก็มีผลต่อการดูดซึมของแมกนีเซียมเช่นเดียวกัน ประมาณ 10 – 25 % ของแมกนีเซียมที่ได้รับจะถูกดูดซึม ดังนั้นแมกนีเซียมจะถูกขับมาทางมูลและปัสสาวะ สำหรับแมกนีเซียมที่ขับออกมากับมูลส่วนหนึ่งจะเป็นแมกนีเซียมที่สูญเสียจากภายใน (feacal endogenous loss) แมกนีเซียมที่ถูกดูดซึมจะกระจายไปยังเนื้อเยื่อกระดูกและกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ แต่ในกล้ามเนื้อแมกนีเซียมจะอยู่ในของเหลวภายในเซลล์มากกว่าจะรวมกับโปรตีน ส่วนในกระดูกมีทั้งในรูปถาวรและรูปที่สามารถเปลี่ยนได้ ซึ่งคาดว่ามีประมาณ 12-15 % ของแมกนีเซียมในร่างกาย แต่ปริมาณนี้จะลดลงไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sponser

News in Thailand

.