X. การเสริมโคลีน
โคลีนเป็นสารประกอบทางเคมีที่มีในอาหารทั่วๆไปและอาหารเสริม โคลีนที่ได้จากสารประกอบจำพวก แก้สธรรมชาติ เช่น methanol และ แอมโมเนียซึ่งให้ผลผลิตเป็น trimethylamine แล้วผลผลิตสุดท้ายเป็นโคลีนสำหรับนำไปใช้ประโยชน์จะอยู่ในรูป โคลีนคลอไรด์ (86.6%) ส่วนใหญ่ที่ใช้ประโยชน์70% ในของเหลว 25-60% เป็นผงแห้ง การตอบสนองการเสริมโคลีนในรูปของอาหารจะขึ้นอยู่กับชนิด อายุของสัตว์เพราะสัตว์แต่ละชนิดจะสามารถสังเคราะห์โคลีนได้แตกต่างกัน แต่อาจไม่เพียงพอก็จะมีการเสริมในรูปของอาหารบำรุงสัตว์ที่อายุน้อยๆจะไม่ต้องการโคลีนเพิ่มถ้ามีระดับของสาร methionine สูงพอสำหรับผลิตโคลีนได้
Methionine สามารถให้ methyl group สำหรับสังเคราะห์โคลีนแต่ถ้ามีโคลีนในระดับที่เพียงพอกับความต้องการ methionine ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ ซึ่งความสัมพันธุ์ของโคลีนกับ methionine ดังแสดงใว้ในหัวข้อที่ VI และVII ได้มีการวิจัยระดับโคลีนในแม่สุกรที่เป็นโรค Spraddled hindleg คือข่วงแรกของการตั้งครรภ์ระดับโคลีนที่ต้องการคือ 3000 mg/ แม่หมู 1 ตัว ช่วงที่2 ระยะสุดท้ายของการตั้งครรภ์ จะต้องการเพิ่มขึ้นต่อวันถึง 4200 – 4500 mg สำหรับมนุษย์ได้รับโคลีนและ methionine ในอาหารจำพวกพืชและเนื้อสัตว์ การเสริมโคลีนจึงไม่จำเป็นเว้นแต่จะใช้เป็นอาหารบำรุงในทารก เด็กหนุมสาวที่ชอบทานอาหารที่ขาดโปรตีนหรืออาหารที่มีการฟอกสูงและคนไข้ที่ขาดสารอาหารมากๆจึงจะมีการเพิ่มโคลีนในอาหารทารกพวกผลิตภัณฑ์นมมีการบอกระดับปริมาณโคลีนที่ต้องการอย่างเด่นขัด โคลีนที่ใช้ในอาหารส่วนมากคือ 70% โคลีนคลอไรด์ในรูปสารละลาย หรือ 25-60% เป็นผงแห้ง หรืออยู่ในรูปยาเม็ด อาหารเหลว ควรเก็บไว้ในที่มิดชิด
XI. ความเป็นพิษ ( Toxicity )
การทดลองถึงความเป็นพิษในสัตว์ เมื่อได้รับโคลีนมากเกินไปจะมีอาการ น้ำลายออกมามากเกินไป หัวใจเต้นแรง พูดตะกรุตะกระ กล้ามเนื้อกระตุก ผิวหนังมีสีเขียวเนื่องจากขาดออกชิเจน มีอาการชัก และระบบทางเดินหายใจเป็นอัมพาต มีการทดลองให้โคลีนคลอไรด์แบบ LD50 ในหนูโดยให้ในปริมาณ 3.4-6.7 กรัม/1กิโลกรัมน้ำหนักตัวหนู ระดับโคลีนที่มากเกินความต้องการคือ 868-2000 ppm ในไก่จะเห็นว่าเกิดอาการเป็นพิษเมื่อได้รับ 2 เท่าของความต้องการ ในมนุษย์ที่ได้รับโคลีนหรือ lecithin มากเกินไปจะมีผลต่อระบบกระเพาะอาหารและลำไล้ชนิดเฉียบพลัน เหงื่ออออกมาก มีน้ำลายออกมากกว่าปกติและสูญเสียการอยากอาหาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น