บทบาทของพาราไธรอยด์ฮอร์โมน
การหลั่งพาราไธรอยด์ฮอร์โมนออกมาจากต่อมไธรอยด์พบว่าจะถูกตอบสนองเมื่อระดับของแคลเซียมที่ต่ำในเลือดหรือใน intercellular fluid เท่านั้น และยิ่งมีการตอบสนองมากในกรณีที่ระดับของฟอสเฟตในเลือดมีการเปลี่ยนแปลงด้วย กลไกการทำงานของพาราไธรอยอ์ฮอร์โมนต่อการรักษาสมดุลของแคลเซียมนั้น โดยเพิ่มการดึงแคลเซียมออกจากกระดูก ในขณะเดียวกันกระตุ้นการขับออกของฟอสฟอรัสที่ไต การกระตุ้นการดึงแคลเซียมออกจากกระดูกโดยพาราไธรอยด์ฮอร์โมนยังไม่แน่ชัด แต่อาจเกิดขึ้นจากผลของ citrate ion ซึ่งทำให้มีความเป็นกรด-ด่างลดลง นอกจากนี้ยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในกระดูกโดยเพิ่มกิจกรรมของ osteoclasts และลดกิจกรรมของ osteoblasts
นอกจากนี้ยังมีผลทางอ้อมต่อการรักษาสมดุลของระดับแคลเซียมในเลือด โดยมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิตามินดี ที่ไปมีผลต่อการดูดซึมของแคลเซียมที่ลำไส้และการเพิ่มการดูดกลับของแคลเซียมที่ convoluted tubules ในไต
บทบาทของฮอร์โมนแคลซิโตนิน
ฮอร์โมนนี้มีการสังเคราะห์ขึ้นที่ special papafollicular cells ที่อยู่ในต่อไธรอยด์ สำหรับในสัตว์ปีกและปลามีการผลิตขึ้นที่อวัยวะพิเศษคือ ultimobronchial bodies กลไกการทำงานของฮอร์โมนแคลซิโตนินในการรักษาสมดุลแคลเซียมไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่าไปมีผลไปลดกิจกรรมของ osteoblasts ป้องกันการสลายของ hydroxyapatite crytals เนื่องจากการทำงานของพาราไธรอยด์ฮอร์โมน และในขณะเดียวกันไปยับยั้งการสลายของแร่ธาตุและสารอินทรีย์ของกระดูก
สำหรับการหลั่งฮอร์โมนแคลซิโตนินเกี่ยวข้องกับ adenylcyclase system ซึ่งระบบนี้ถูกกระตุ้นโดยกลูคากอน และ adrenalin ในสุกร แกะ และสุนัข การหลั่งฮอร์โมนแคลซิโตนินเกิดจาก B-adrenergic blocking agents ที่มีผลต่ออะดินาลีน แต่ในสัตว์ปีกการหลั่งเกิดจากเพื่อการป้องกันการดึงแคลเซียมออกจากกระดูกจำนวนมากในช่วงที่มีการวางไข่
Free Robux Counter Roblox MOD APK ROBUXBEAST.COM Roblox Mod Apk Unlimited
Robux And Coins
-
*ROBUXBEAST.COM*
*FAST HACK Robux Roblox are made to assisting you when actively playing
conveniently. It is creating resources about and which has a lot...
5 ปีที่ผ่านมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น